งานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์

อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประเทศในกลุ่มอาเซียนที่มีโอกาสและแนวโน้มส่งผลกระทบต่อประเทศไทย

ร่วมมือกับ: กระทรวงสาธารณสุขห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

เกี่ยวกับโครงการ: โครงการศึกษาวิจัยเรื่อง อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประเทศในกลุ่มอาเซียนที่มีโอกาสและแนวโน้มส่งผลกระทบต่อประเทศไทย เป็นการศึกษาโดยมีวัตถุประสงค์หลัก 2 ประการ คือ
1) เพื่อศึกษานโยบายและกฎระเบียบของภูมิภาคที่อาจเป็นโอกาสหรือส่งผลต่อการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทย
2) เพื่อศึกษานโยบายและทิศทางนโยบายของอุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในภูมิภาคและประเทศในกลุ่มอาเซียนจานวนหนึ่งที่มีแนวโน้มเป็นฐานการผลิตและขยายการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่มีโอกาสและแนวโน้มส่งผลกระทบต่อตลาดและการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทยหลังการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยเลือกทำการศึกษาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประเภท เบียร์ (Beer) เป็นหลัก เนื่องจากมีปริมาณมากและเป็นที่นิยมและสะดวกในการบริโภค ซึ่งประเทศที่ทาการศึกษาในครั้งนี้ ประกอบด้วย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ เมียนมา กัมพูชา และสปป.ลาว

การดำเนินการศึกษาได้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยหลากอย่างประกอบกัน ประกอบด้วย 1) การศึกษาจากข้อมูลระดับทุติยภูมิ ได้แก่ การศึกษาเอกสารต่างๆ เช่น สถิติตัวเลขการนำเข้าและการส่งออกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของ WHO สถิติการเสียภาษีและประเภทภาษีต่างๆ ข้อกฎหมาย ระเบียบและข้อกำหนดจากภาครัฐของประเทศที่ศึกษานโยบายที่เกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประเทศที่ศึกษา รายงานวิจัยเรื่องอุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั้งจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ เป็นต้น 2) การศึกษาจากข้อมูลระดับปฐมภูมิ ได้แก่ การสัมภาษณ์ (interview) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (key informant) จากภาคส่วนต่างๆ ทั้งฝ่ายรัฐและเอกชน และการลงภาคสนาม (field work) ในประเทศที่ศึกษา รวมถึงการลงพื้นที่เพื่อสังเกตการณ์สถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั้งในประเทศไทยและประเทศที่ศึกษา

ผลการศึกษาพบว่า ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นพื้นที่การลงทุนในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยเฉพาะเครื่องดื่มประเภทเบียร์ของบรรษัทข้ามชาติมานานแล้ว ปัจจุบันบรรษัทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ข้ามชาติยิ่งให้ความสาคัญในการเข้ามาลงทุนผลิตเบียร์ในภูมิภาคนี้มากขึ้น เนื่องจากพบว่าตลาดผู้บริโภคเบียร์ในประเทศต่างๆมีแนวโน้มการบริโภคเบียร์โดยรวมเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะประเทศกัมพูชา สปป.ลาว และเมียนมา เพราะเศรษฐกิจกำลังเริ่มขยายตัวเพิ่มขึ้น อีกทั้งบรรษัทผลิตเบียร์ข้ามชาติเหล่านี้มีเป้าประสงค์ที่จะใช้สิทธิประโยชน์จากเขตการค้าเสรีอาเซียนในการขยายตลาดผู้บริโภคไปทั่วทั้งภูมิภาค รวมถึงนโยบายของรัฐที่ให้การสนับสนุนการลงทุนในอุตสาหกรรมเบียร์ในประเทศ เช่น กัมพูชา เป็นต้น เพราะมองว่าเป็นอุตสาหกรรมที่สามารถสร้างรายได้ให้กับรัฐเป็นจานวนมาก ในส่วนของประเทศไทยนั้น เราเป็นฐานการส่งออกเบียร์ที่สาคัญของสิงคโปร์ในภูมิภาคนี้มานานแล้ว และยังเป็นตลาดที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะเบียร์ระดับพรีเมี่ยม ขณะเดียวกัน ประเทศไทยก็เป็นฐานการส่งออกเบียร์ไปยังประเทศกัมพูชา สปป.ลาว และเมียนมาด้วย เนื่องจากความใกล้ชิดในด้านภูมิศาสตร์ ปัจจุบันประเทศเพื่อนบ้านของไทยเหล่านี้ต่างก็ให้การสนับสนุนการลงทุนผลิตเบียร์และการบริโภคเบียร์ที่เป็นแบรนด์ภายในประเทศตนมากขึ้น และมีการส่งออกเบียร์ของประเทศตนมาทาตลาดในประเทศไทยบ้างแล้ว แต่ก็ยังมีปริมาณไม่มากนัก

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า