รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
นักวิจัยสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาฯ พัฒนาแนวทางช่วยปะการังให้ปรับตัวรับมือกับภาวะโลกร้อน โดยการผสมเทียมอาศัยเพศและเพาะเลี้ยงปะการังในสภาพแวดล้อมอุณหภูมิสูงตั้งแต่แรกเกิด เพื่อเพิ่มความอึดให้เป็น “ปะการังสู้โลกร้อน” พร้อมเผยเทคโนโลยีการแช่เยือกแข็งเซลล์สืบพันธุ์ปะการัง หวังคืนชีพปะการังในวันที่สภาพแวดล้อมในทะเลเหมาะสม
วิศวกรนิวเคลียร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬา พัฒนาอุปกรณ์สแกนต้นไม้ด้วยรังสีแกมมาแห่งเดียวในประเทศไทย สแกนลำต้นและรากไม้ ชี้ตำแหน่งโพรงในต้นไม้ที่อาจเสี่ยงโค่นล้ม ตรวจสอบคุณภาพสถาปัตยกรรมที่ทำจากไม้ และมุ่งพัฒนาเครื่องมือเพื่อตรวจสอบได้ละเอียดแม่นยำยิ่งขึ้น
อาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีทางอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ และทีมงานจากสถาบันต่าง ๆ ร่วมกันจัดทำตำราอาหาร “สุขภาพดี วิถีสำรับไทย” นำเสนอสูตรอาหารไทย 4 ภาค จับคู่ “กับข้าว” กินกับข้าวให้ครบคุณค่าโภชนาการในแต่ละมื้อ หวังรักษาเอกลักษณ์รสชาติอาหารไทย พร้อมส่งเสริมให้คนไทยสุขภาพดี
สำนักบริหารกิจการนิสิต จุฬาฯ แนะนำประเภททุนการศึกษาสำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี ทั้งทุนการศึกษาสนับสนุนนิสิตที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ นิสิตเรียนดีสร้างชื่อเสียง และทุนสนับสนุนนิสิตในยามฉุกเฉินหรือเมื่อครอบครัวเผชิญภาวะวิกฤต
คณะสัตวแพทยศาสตร์ และศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้ จุฬาฯ พัฒนา AR จำลองกระเพาะของสัตว์เคี้ยวเอื้อง เทคโนโลยี Interactive เพื่อให้นิสิตเรียนรู้ระบบย่อยอาหารและอวัยวะภายในได้เสมือนจริง เข้าถึงได้แบบ Web-based ลดปัญหาการใช้ซากสัตว์ พร้อมแชร์คอนเทนต์ให้กับสถาบันอื่นเพื่อเรียนรู้ร่วมกัน
อาจารย์ประจำภาควิชาชีวเคมี คณะวิทย์ฯ และศูนย์ความเป็นเลิศด้านพืชผลในระดับโมเลกุล จุฬาฯ คิดค้น Arto Sucrose-reduced Technology เปลี่ยนซูโครสในผลไม้เป็นพรีไบโอติก ชูการขายในรูปแบบ “เพียวเร” เพื่อให้ผู้ผลิตนำไปประกอบอาหารต่อ หนุนเทรนด์อาหารเพื่อสุขภาพในปัจจุบัน
ของเสียอันตรายเป็นเรื่องใกล้ตัวและชุมชน ศสอ. ใช้งานวิจัยดันนโยบาย End of Waste จัดการ E-Waste อย่างต่อเนื่อง พร้อมวิจัย Mega Project ศึกษาแท่นขุดเจาะน้ำมันที่จะไม่ได้ใช้งานในอนาคต วอนทุกภาคส่วนร่วมจัดการปัญหาเพื่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
สถาบันภาษาไทยสิรินธร จุฬาฯ จัดสอบ CU-TFL ทดสอบสมรรถภาพการใช้ภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ ตามเกณฑ์มาตรฐานสากล ดึงหลายมหาวิทยาลัยในประเทศเข้าร่วมเพื่อสร้างมาตรฐานระดับชาติ พร้อมทั้งจัดสอบในต่างประเทศด้วย เช่น ที่ไต้หวัน จีน และญี่ปุ่น
อาจารย์จุฬาฯ เดินทางไปแอนตาร์กติก เพื่อสำรวจสถานการณ์ภาวะโลกร้อนและขยะไมโครพลาสติก คาดอุณหภูมิขั้วโลกสูงขึ้น ทำน้ำแข็งขั้วโลกละลาย ดันน้ำทะเลสูง เกิดโรคอุบัติใหม่ พฤติกรรมปลาเปลี่ยน ความเปลี่ยนแปลงส่งผลสะเทือนไปทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยด้วย
อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ คิดค้นสูตรดูแลผิวจากไมโครไบโอมและเทคโนโลยี 4 P-biotics สร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์เซรั่มและโลชั่นกันแดด แบรนด์ THANARA หนุนสมดุลไมโครไบโอมบนผิวหน้า เพื่อสุขภาพผิวดี อ่อนเยาว์ ใส ไร้สิว
สถาบันไทยศึกษา จุฬาฯ ร่วมกับกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ผลักดันจัดทำฐานข้อมูลลายผ้าขาวม้าไทยจากทุกภาคส่วนให้เป็นระบบ เพื่อประโยชน์ด้านการอนุรักษ์มรดกภูมิปัญญาของชาติ และส่งเสริมการสร้างสรรค์ลายอัตลักษณ์ผ้าขาวม้าขององค์กรและชุมชน รวมถึงการใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลไปสู่การต่อยอดในภาควิสาหกิจชุมชนและภาคการตลาด
อาจารย์คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ พัฒนาหุ่นฝึกการเจาะเลือดและฉีดยาสุนัข ทำจากวัสดุรีไซเคิล ถอดดูโครงสร้างกล้ามเนื้อ หลอดเลือด เส้นประสาท และอวัยวะได้เพื่อการเรียนกายวิภาค หนึ่งในสื่อการสอนเสริมสร้างทักษะหัตถการให้กับนิสิตสัตวแพทย์
รศ.ดร.รณพีร์ ชัยเชาวรัตน์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬา เปิดห้องแล็บ โชว์หุ่นยนต์ต้นแบบ Wheelchair Exoskeleton สำหรับผู้สูงอายุและผู้มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหว ให้สามารถขยับลุกจากการนั่งวีลแชร์ มายืนและเดินได้ในหุ่นยนต์ตัวเดียว
จุฬาฯ เปิดศูนย์ดูแลสุขภาวะผู้สูงอายุที่คณะพยาบาลศาสตร์ เพื่อรองรับสังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ ใช้องค์ความรู้จากงานวิจัยผสานความร่วมมือสหสาขาวิชาชีพ ดูแลผู้สูงอายุอย่างครบวงจร เพิ่มคุณภาพชีวิตผู้สูงวัย ห่างไกลโรค พึ่งพาตัวเองได้
อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ ออกแบบ “ของเล่นของแต่งบ้านสำหรับผู้สูงอายุ” นวัตกรรมสร้างสุขภาวะที่ดีทั้งกายและใจ ช่วยชะลอความจำเสื่อมและลดความเสี่ยงภาวะซึมเศร้า ล่าสุดคว้ารางวัล Creative Excellence Awards 2024 ประเภทพลังสร้างสรรค์เพื่อสังคม ย้ำความสำเร็จด้านการออกแบบเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงวัย
นิสิต ป.เอก จุฬาฯ พัฒนา Virtual StudioLab ห้องเรียนวิทยาศาสตร์เสมือนจริง นวัตกรรมรางวัลเหรียญทองจากประเทศเกาหลีใต้ จุดประกายความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ ฝึกเด็กไทย ให้เรียนรู้แบบไตร่ตรอง และมีส่วนร่วมในโลกแห่งความเป็นจริง
จุฬาฯ ชวนเปิดประสบการณ์การเรียนรู้กับพิพิธภัณฑ์ในจุฬาฯ ยามค่ำคืน“Night Museum at Chula” ตื่นตากับกิจกรรม “Science meets Art – Art meets Science” ผสานความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และศิลปะ พร้อมทั้งการแสดง ดนตรี แสง สี เสียง สร้างการเรียนรู้และแรงบันดาลใจ เข้าชมฟรีระหว่าง 13 – 15 ธันวาคมนี้
ส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยศาสตร์แห่งกายภาพบำบัด ปลอดภัย-ไม่พึ่งยา ศ.ดร.กภ.ประวิตร เจนวรรธนะกุล นายกสภากายภาพบำบัด และอาจารย์ประจำภาควิชากายภาพบำบัด คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ
“โรคไอกรน” เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียของระบบทางเดินหายใจ ทำให้มีภาวะ ไอรุนแรง ไอนานต่อเนื่อง โดยมีความรุนแรงมากในกลุ่มเด็กเล็ก
มิตรเอิร์ธ แพลตฟอร์มออนไลน์โดยอาจารย์จุฬาฯ ให้ความรู้ด้านธรณีวิทยาแบบเข้าใจง่าย พร้อมนวัตกรรมแผนที่ชุดข้อมูลภูมิประเทศแต่ละจังหวัด ชี้จุดเสี่ยง แจ้งเตือนและอัปเดตสถานการณ์ภัยพิบัติ ให้คนในพื้นที่เฝ้าระวังและเตรียมรับมืออย่างทันท่วงที
มุ่งสู่ “ผู้นำนวัตกรรมสร้างสรรค์สังคมสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน”
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้