ข่าวสารและความเคลื่อนไหว

Highlights

ยาน้ำเชื่อมฟาวิพิราเวียร์สำหรับเด็ก ตำรับแรกของไทย นวัตกรรมจากคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ พัฒนาเพื่อผู้ป่วยโควิด-19

อาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมมือกับราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และภาคเอกชน พัฒนายาน้ำเชื่อมฟาวิพิราเวียร์ สำหรับเด็กและผู้ป่วยโรคโควิด-19 ตำรับแรกในประเทศไทย ซึ่งคว้ารางวัล Prime Minister Award ประเภท Innovation for Crisis ประเภทหน่วยงานภาครัฐ ในงานสตาร์ตอัพและอินโนเวชัน ไทยแลนด์ เอ็กซ์โป 2021 (SITE 2021) จัดโดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA)

สัตวแพทย์ จุฬาฯ ไขทุกข้อควรรู้ “พิษสุนัขบ้า” รณรงค์กลุ่มเสี่ยงฉีดวัคซีน ป้องกันโรคติดต่อถึงตาย

สัตวแพทย์ จุฬาฯ ร่วมรณรงค์วันป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าโลก 28 กันยายนนี้ ให้ความรู้ สร้างความตระหนักพิษภัยโรคพิษสุนัขบ้า จัดกิจกรรมฉีดวัคซีนให้นิสิตสัตวแพทย์จิตอาสา ที่ลงชุมชน ย้ำคนกลุ่มเสี่ยงควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเป็นประจำ

ถอดรหัสยีนก่อนรักษา เยียวยาถูกจุด จุฬาฯ นำการแพทย์จีโนมิกส์วินิจฉัยโรคพันธุกรรมหายากในประเทศไทย

ทีมวิจัยจีโนมิกส์ จุฬาฯ ถอดรหัสพันธุกรรมเพื่อการรักษาโรคหายาก โรคเรื้อรังและโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ วินิจฉัยโรคแม่นยำ รักษาตรงจุด ลดค่าใช้จ่ายระบบสาธารณสุข ล่าสุดวิจัยพบปัจจัยพันธุกรรมส่งผลต่ออาการรุนแรงของโรคโควิด-19 ในคนไทย และยีนก่อโรคพันธุกรรมหายากอีกหลายตัว

“ครัวต้นแบบ” เพื่อสงฆ์ไทยห่างไกลโรค

คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เสนอแนวทางสร้าง “ครัวต้นแบบ” พร้อมสื่อหลากหลาย ให้ความรู้ด้านโภชนาการและความปลอดภัยของอาหารสำหรับถวายพระสงฆ์ แนะศาสนิกชนทำบุญด้วยการสร้างโรงครัวที่ถูกสุขลักษณะเพื่อสงฆ์สุขภาพดี ห่างไกลโรค

หัวลำโพงศตวรรษใหม่ แหล่งเศรษฐกิจสร้างสรรค์เชื่อมวัฒนธรรมกับการค้า จุฬาฯ นำวิจัยแบบมีส่วนร่วม

อาจารย์ครุศาสตร์ จุฬาฯร่วมมือนักวิชาการจาก 4 สถาบันการศึกษา วิจัยอนาคต “หัวลำโพง”พลิกโฉมสู่พื้นที่สร้างสรรค์ อนุรักษ์ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเชื่อมโยงย่าน  เมืองเก่าและย่านการค้าใหม่ หลังย้ายศูนย์กลางการคมนาคมทางรถไฟไปที่สถานีกลางบางซื่อภายในปีนี้

“แนวทางและเครื่องมือชีวิตสำหรับคนยุคใหม่” หลักสูตรล่าสุดจากจุฬาฯ เตรียมนิสิตพร้อมรับโลกพลิกผัน

ครั้งแรกในประเทศไทย “แนวทางและเครื่องมือชีวิตสำหรับคนยุคใหม่” หลักสูตรระดับโลกที่มหาวิทยาลัย Stanford รับรอง จุฬาฯ พร้อมเปิดสอนให้นิสิตพัฒนาทักษะการออกแบบชีวิต กรอบคิดการทำงานกับผู้อื่น สร้างอนาคตและสังคม

สมุนไพรนาโนเทคโนโลยี ผลงานสัตวแพทย์ จุฬาฯ เพื่อไก่ชนขนงาม สุขภาพดี

อาจารย์สัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ พัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรนาโนเทคโนโลยีบำรุงผิวและส่งเสริมสุขภาพไก่ชน รักษาโรคเชื้อรา กำจัดไรไก่และปรสิตต่างๆ เล็งต่อยอดใช้กับไก่ในปศุสัตว์ รวมถึงอุตสาหกรรมเครื่องสำอางและกลุ่มยาโรคผิวหนังในคน

Quick MBA for SMEs จุฬาฯ แนะทางรอดธุรกิจฝ่าวิกฤตโควิด-19 รวบรัดและได้ผลจริง

สำเร็จด้วยดีกับ Quick MBA for SMEs โครงการสร้างสรรค์เพื่อสังคมจากจุฬาฯ เสิร์ฟความรู้ถึงบ้านให้ผู้ประกอบการSMEs 4 ประเภทธุรกิจอาหาร โรงแรมและที่พัก สุขภาพ และแฟชั่น ปรับตัวและอยู่รอดในวิกฤตโรคโควิด-19 รับชมรับฟังย้อนหลังเพื่อเสริมพลังธุรกิจได้แล้ววันนี้

ดนตรีบำบัดคลายเครียด บรรเทาปวดได้ผล จุฬาฯ ต่อยอดงานวิจัย เพิ่มนักเยียวยาในสังคม

ผลทางการแพทย์ชี้ ดนตรีบำบัดลดความดันเลือด บรรเทาความเจ็บปวดระหว่างรับการรักษาด้วยคีโม ฟอกไต กระตุ้นสมองผู้สูงวัย ศิลปกรรมฯ จุฬาฯ เปิดหลักสูตรผลิตนักดนตรีบำบัด หวังเยียวยาผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่างๆ ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในสังคม

“น้องไฟฉาย รุ่น 3” โคม UV-C ฆ่าเชื้อ COVID-19 ปฏิบัติการแล้วเพื่อบุคลากรด่านหน้าปลอดภัยมั่นใจ 100 %

คณะแพทยศาสตร์และคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ Smile Robotics และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ร่วมพัฒนานวัตกรรมโคม UV-C “น้องไฟฉาย รุ่นที่ 3” ฆ่าและทำลายเชื้อไวรัส COVID-19 และเชื้อโรคอื่นๆ ได้ 99.99% ภายใน 3 นาที พร้อมสร้างความมั่นใจให้เจ้าหน้าที่ด่านหน้าแล้ว

สานฝันสู่โอลิมปิก โครงการพัฒนากีฬาชาติ จุฬาฯ หนุนเยาวชนไทยสู่ระดับโลก

ศิษย์เก่าจากโครงการพัฒนากีฬาชาติ จุฬาฯ ทำผลงานน่าภาคภูมิใจให้ประเทศในการแข่งขันกีฬาโตเกียวโอลิมปิก 2020 และอีกหลายรายการการแข่งขันในช่วงกว่าสามทศวรรษที่ผ่านมา บทพิสูจน์ความมุ่งมั่นในการส่งเสริมเยาวชนให้พัฒนาความเป็นเลิศด้านการกีฬาและวิชาการคณะต่างๆ ในรั้วจามจุรี เปิดรับเยาวชนที่มีความทักษะการกีฬากว่า 30 ชนิดกีฬา เข้าร่วมโครงการทุกปี

“ผมจะกลับมา” แพทย์จุฬาฯ วิจัยใช้เลเซอร์ความเข้มข้นต่ำ เคลียร์ปัญหาผมร่วงจากพันธุกรรมได้ผลใน 6 เดือน

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเส้นผมระดับโลกของจุฬาฯ วิจัยพบเลเซอร์ความเข้มข้นต่ำสามารถกระตุ้นรากผมให้เกิดใหม่บนหนังศีรษะได้ รางวัลระดับโลกการันตีความสำเร็จ รักษาและแก้ปัญหาผมบาง ผมร่วง หนังศีรษะล้านจากพันธุกรรมเห็นผลใน 24 สัปดาห์

The Research of low calories egg noodles

เส้นก๋วยเตี๋ยวจากไข่ขาว โปรตีนสูง พลังงานต่ำ ผลงานอร่อยเพื่อสุขภาพ จากนักวิจัยจุฬาฯ

นักวิจัยจากคณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ เอาใจคนกินเส้น ด้วยผลิตภัณฑเส้นอูด้งและเส้นหมี่ทำจากโปรตีนไข่ขาว 100 % โปรตีนสูง ไขมันต่ำ ปราศจากกลูเตน เหมาะกับคนรักสุขภาพ ควบคุมน้ำหนัก ผู้สูงวัย ผู้ป่วยไต ผู้ป่วยโรคมะเร็ง หวังขยายตลาดในเอเซียเพื่อตอบโจทย์ปัญหาสุขภาพและโภชนาการของคนยุคนี้

แปลงเวลาว่างเป็นรายได้กับ “Wang” แพลตฟอร์มเพื่อการพัฒนา AI โดยนิสิตวิศวฯ จุฬาฯ

จะดีสักแค่ไหนหากเราสามารถใช้เวลาว่างสร้างรายได้ และยังช่วยนักวิจัยพัฒนา AI ให้มีประสิทธิภาพไปด้วยในเวลาเดียวกัน นี่เป็นแนวคิดของสองหนุ่มนิสิตวิศวฯ จุฬาฯ ผู้พัฒนา ‘Wang’ (ว่าง) แพลตฟอร์มที่แมทชิ่งเวลาว่างกับโอกาสทางธุรกิจและสร้างประโยชน์ให้สังคม รางวัลนวัตกรรมดีเด่นมากมายการันตีความเป็นสุดยอดสตาร์ทอัพ  

ประเมินทุเรียนสุกจากน้ำตาลในก้านทุเรียน องค์ความรู้ทางเคมีคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ เพื่อเกษตรกร

อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ วิเคราะห์ปริมาณน้ำตาลและกรดอะมิโนในก้านทุเรียน ซึ่งช่วย บ่งชี้อายุของผลทุเรียนก่อนตัดออกจากต้น ช่วยเกษตรกรให้ตัดทุเรียนที่เหมาะสมสำหรับการจำหน่ายและส่งออก เล็งพัฒนาเซ็นเซอร์ตรวจวัดทุเรียนสุกได้ทุกสายพันธุ์

อาจารย์จุฬาฯ และนักวิชาการกรมควบคุมโรค แนะมาตรการ 4 เร่ง ลดการระบาดโควิด-19 ในไทย

ผศ.ดร.ชนวีร์ สุภัทรเกียรติ  อาจารย์ประจำสาขาวิชาการเงิน สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาฯ และนายพงษ์สุธีร์ ทองเกลี้ยง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ ศูนย์สารสนเทศ กรมควบคุมโรคนำเสนอบทความ ‘มาตรการ 4 เร่ง เพื่อลดการระบาดวิกฤติการณ์โควิด 19 ประเทศไทย’ ชี้การบังคับใช้มาตรการล็อคดาวน์อย่างจริงจังและเข้มข้นสามารถที่จะควบคุมการระบาดลงได้จริง ย้ำหากไม่เข้มงวดในมาตรการ ประชาชนจะเสียชีวิตในปริมาณที่สูงภายในเวลาอันรวดเร็ว พร้อมเสนอ ‘มาตรการ 4 เร่ง’ เพื่อช่วยลดการระบาดของวิกฤติการณ์โควิด 19 ประเทศไทย ประกอบด้วย 4 มาตรการดังนี้

สูงวัย กาย-ใจต้องฟิต อาจารย์จุฬาฯ แนะวิธีออกกำลังกายที่บ้านอย่างปลอดภัย ไกลโรค (โควิด-19)

ผู้เชี่ยวชาญด้านกายภาพบำบัด จุฬาฯ ชวนผู้สูงวัยออกกำลังกายเพิ่มภูมิคุ้มกัน ต้านไวรัสโควิด-19 แม้ต้องเก็บตัวที่บ้านก็แข็งแรงได้ พร้อมแนะวิธีออกกำลังกายที่บ้านง่ายๆ ในช่วงล็อกดาวน์

“3P อย่าทำ” พาธุรกิจรอดวิกฤตโควิดระลอก 4 กูรูการตลาด จุฬาฯ เตือน

อาจารย์ด้านการตลาดจากกคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ เตือนผู้ประกอบการธุรกิจ “อย่าทำ” 3 สิ่งและอย่าเพิ่งถอดใจ วิกฤตโรคโควิด-19 ระลอกสี่จะผ่านไปอีกไม่นาน

ครั้งแรก! เครื่องมือตรวจเชื้อโควิด-19 จากกลิ่นเหงื่อ รู้ผลเร็ว หนุนตรวจคัดกรองเชิงรุกในชุมชน

อาจารย์และนิสิตภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ พัฒนาเครื่องมือตรวจเชื้อโควิด-19 จากกลิ่นสารเคมี ที่จำเพาะของแบคทีเรียที่อยู่ในเหงื่อได้สำเร็จเป็นครั้งแรก ใช้ง่าย เก็บตัวอย่าง 15 นาที รู้ผลใน 30 วินาที เริ่มทดลองตรวจคัดกรองผู้ติดเชื้อตามชุมชนแล้ว

“เครื่องแบ่งบรรจุวัคซีนอัตโนมัติ”  นวัตกรรมจากวิศวฯ จุฬาฯ เพิ่มจำนวนผู้รับวัคซีนได้ 20% ลดภาระงานบุคลากรการแพทย์

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ พัฒนาเครื่องแบ่งและบรรจุวัคซีนอัตโนมัติ (Automated Vaccine) ดูดและบรรจุวัคซีนแอสตราเซเนกาลงเข็มฉีดยาได้อย่างแม่นยำ รวดเร็ว ปลอดภัย ช่วยเพิ่มจำนวนผู้ได้รับวัคซีนอีก 20 % นำร่องใช้เครื่องต้นแบบแล้วที่ศูนย์บริการวัคซีนจุฬาฯ วางแผนผลิตเครื่องเพิ่มเพื่อเสริมทัพเจ้าหน้าที่ด่านหน้าในหลายจุดฉีดวัคซีน เร็วๆ นี้

จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด

คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า