ข่าวสารและความเคลื่อนไหว

Highlights

“ครัวต้นแบบ” เพื่อสงฆ์ไทยห่างไกลโรค

คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เสนอแนวทางสร้าง “ครัวต้นแบบ” พร้อมสื่อหลากหลาย ให้ความรู้ด้านโภชนาการและความปลอดภัยของอาหารสำหรับถวายพระสงฆ์ แนะศาสนิกชนทำบุญด้วยการสร้างโรงครัวที่ถูกสุขลักษณะเพื่อสงฆ์สุขภาพดี ห่างไกลโรค

หัวลำโพงศตวรรษใหม่ แหล่งเศรษฐกิจสร้างสรรค์เชื่อมวัฒนธรรมกับการค้า จุฬาฯ นำวิจัยแบบมีส่วนร่วม

อาจารย์ครุศาสตร์ จุฬาฯร่วมมือนักวิชาการจาก 4 สถาบันการศึกษา วิจัยอนาคต “หัวลำโพง”พลิกโฉมสู่พื้นที่สร้างสรรค์ อนุรักษ์ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเชื่อมโยงย่าน  เมืองเก่าและย่านการค้าใหม่ หลังย้ายศูนย์กลางการคมนาคมทางรถไฟไปที่สถานีกลางบางซื่อภายในปีนี้

“แนวทางและเครื่องมือชีวิตสำหรับคนยุคใหม่” หลักสูตรล่าสุดจากจุฬาฯ เตรียมนิสิตพร้อมรับโลกพลิกผัน

ครั้งแรกในประเทศไทย “แนวทางและเครื่องมือชีวิตสำหรับคนยุคใหม่” หลักสูตรระดับโลกที่มหาวิทยาลัย Stanford รับรอง จุฬาฯ พร้อมเปิดสอนให้นิสิตพัฒนาทักษะการออกแบบชีวิต กรอบคิดการทำงานกับผู้อื่น สร้างอนาคตและสังคม

สมุนไพรนาโนเทคโนโลยี ผลงานสัตวแพทย์ จุฬาฯ เพื่อไก่ชนขนงาม สุขภาพดี

อาจารย์สัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ พัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรนาโนเทคโนโลยีบำรุงผิวและส่งเสริมสุขภาพไก่ชน รักษาโรคเชื้อรา กำจัดไรไก่และปรสิตต่างๆ เล็งต่อยอดใช้กับไก่ในปศุสัตว์ รวมถึงอุตสาหกรรมเครื่องสำอางและกลุ่มยาโรคผิวหนังในคน

Quick MBA for SMEs จุฬาฯ แนะทางรอดธุรกิจฝ่าวิกฤตโควิด-19 รวบรัดและได้ผลจริง

สำเร็จด้วยดีกับ Quick MBA for SMEs โครงการสร้างสรรค์เพื่อสังคมจากจุฬาฯ เสิร์ฟความรู้ถึงบ้านให้ผู้ประกอบการSMEs 4 ประเภทธุรกิจอาหาร โรงแรมและที่พัก สุขภาพ และแฟชั่น ปรับตัวและอยู่รอดในวิกฤตโรคโควิด-19 รับชมรับฟังย้อนหลังเพื่อเสริมพลังธุรกิจได้แล้ววันนี้

ดนตรีบำบัดคลายเครียด บรรเทาปวดได้ผล จุฬาฯ ต่อยอดงานวิจัย เพิ่มนักเยียวยาในสังคม

ผลทางการแพทย์ชี้ ดนตรีบำบัดลดความดันเลือด บรรเทาความเจ็บปวดระหว่างรับการรักษาด้วยคีโม ฟอกไต กระตุ้นสมองผู้สูงวัย ศิลปกรรมฯ จุฬาฯ เปิดหลักสูตรผลิตนักดนตรีบำบัด หวังเยียวยาผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่างๆ ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในสังคม

“น้องไฟฉาย รุ่น 3” โคม UV-C ฆ่าเชื้อ COVID-19 ปฏิบัติการแล้วเพื่อบุคลากรด่านหน้าปลอดภัยมั่นใจ 100 %

คณะแพทยศาสตร์และคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ Smile Robotics และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ร่วมพัฒนานวัตกรรมโคม UV-C “น้องไฟฉาย รุ่นที่ 3” ฆ่าและทำลายเชื้อไวรัส COVID-19 และเชื้อโรคอื่นๆ ได้ 99.99% ภายใน 3 นาที พร้อมสร้างความมั่นใจให้เจ้าหน้าที่ด่านหน้าแล้ว

สานฝันสู่โอลิมปิก โครงการพัฒนากีฬาชาติ จุฬาฯ หนุนเยาวชนไทยสู่ระดับโลก

ศิษย์เก่าจากโครงการพัฒนากีฬาชาติ จุฬาฯ ทำผลงานน่าภาคภูมิใจให้ประเทศในการแข่งขันกีฬาโตเกียวโอลิมปิก 2020 และอีกหลายรายการการแข่งขันในช่วงกว่าสามทศวรรษที่ผ่านมา บทพิสูจน์ความมุ่งมั่นในการส่งเสริมเยาวชนให้พัฒนาความเป็นเลิศด้านการกีฬาและวิชาการคณะต่างๆ ในรั้วจามจุรี เปิดรับเยาวชนที่มีความทักษะการกีฬากว่า 30 ชนิดกีฬา เข้าร่วมโครงการทุกปี

“ผมจะกลับมา” แพทย์จุฬาฯ วิจัยใช้เลเซอร์ความเข้มข้นต่ำ เคลียร์ปัญหาผมร่วงจากพันธุกรรมได้ผลใน 6 เดือน

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเส้นผมระดับโลกของจุฬาฯ วิจัยพบเลเซอร์ความเข้มข้นต่ำสามารถกระตุ้นรากผมให้เกิดใหม่บนหนังศีรษะได้ รางวัลระดับโลกการันตีความสำเร็จ รักษาและแก้ปัญหาผมบาง ผมร่วง หนังศีรษะล้านจากพันธุกรรมเห็นผลใน 24 สัปดาห์

The Research of low calories egg noodles

เส้นก๋วยเตี๋ยวจากไข่ขาว โปรตีนสูง พลังงานต่ำ ผลงานอร่อยเพื่อสุขภาพ จากนักวิจัยจุฬาฯ

นักวิจัยจากคณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ เอาใจคนกินเส้น ด้วยผลิตภัณฑเส้นอูด้งและเส้นหมี่ทำจากโปรตีนไข่ขาว 100 % โปรตีนสูง ไขมันต่ำ ปราศจากกลูเตน เหมาะกับคนรักสุขภาพ ควบคุมน้ำหนัก ผู้สูงวัย ผู้ป่วยไต ผู้ป่วยโรคมะเร็ง หวังขยายตลาดในเอเซียเพื่อตอบโจทย์ปัญหาสุขภาพและโภชนาการของคนยุคนี้

แปลงเวลาว่างเป็นรายได้กับ “Wang” แพลตฟอร์มเพื่อการพัฒนา AI โดยนิสิตวิศวฯ จุฬาฯ

จะดีสักแค่ไหนหากเราสามารถใช้เวลาว่างสร้างรายได้ และยังช่วยนักวิจัยพัฒนา AI ให้มีประสิทธิภาพไปด้วยในเวลาเดียวกัน นี่เป็นแนวคิดของสองหนุ่มนิสิตวิศวฯ จุฬาฯ ผู้พัฒนา ‘Wang’ (ว่าง) แพลตฟอร์มที่แมทชิ่งเวลาว่างกับโอกาสทางธุรกิจและสร้างประโยชน์ให้สังคม รางวัลนวัตกรรมดีเด่นมากมายการันตีความเป็นสุดยอดสตาร์ทอัพ  

ประเมินทุเรียนสุกจากน้ำตาลในก้านทุเรียน องค์ความรู้ทางเคมีคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ เพื่อเกษตรกร

อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ วิเคราะห์ปริมาณน้ำตาลและกรดอะมิโนในก้านทุเรียน ซึ่งช่วย บ่งชี้อายุของผลทุเรียนก่อนตัดออกจากต้น ช่วยเกษตรกรให้ตัดทุเรียนที่เหมาะสมสำหรับการจำหน่ายและส่งออก เล็งพัฒนาเซ็นเซอร์ตรวจวัดทุเรียนสุกได้ทุกสายพันธุ์

อาจารย์จุฬาฯ และนักวิชาการกรมควบคุมโรค แนะมาตรการ 4 เร่ง ลดการระบาดโควิด-19 ในไทย

ผศ.ดร.ชนวีร์ สุภัทรเกียรติ  อาจารย์ประจำสาขาวิชาการเงิน สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาฯ และนายพงษ์สุธีร์ ทองเกลี้ยง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ ศูนย์สารสนเทศ กรมควบคุมโรคนำเสนอบทความ ‘มาตรการ 4 เร่ง เพื่อลดการระบาดวิกฤติการณ์โควิด 19 ประเทศไทย’ ชี้การบังคับใช้มาตรการล็อคดาวน์อย่างจริงจังและเข้มข้นสามารถที่จะควบคุมการระบาดลงได้จริง ย้ำหากไม่เข้มงวดในมาตรการ ประชาชนจะเสียชีวิตในปริมาณที่สูงภายในเวลาอันรวดเร็ว พร้อมเสนอ ‘มาตรการ 4 เร่ง’ เพื่อช่วยลดการระบาดของวิกฤติการณ์โควิด 19 ประเทศไทย ประกอบด้วย 4 มาตรการดังนี้

สูงวัย กาย-ใจต้องฟิต อาจารย์จุฬาฯ แนะวิธีออกกำลังกายที่บ้านอย่างปลอดภัย ไกลโรค (โควิด-19)

ผู้เชี่ยวชาญด้านกายภาพบำบัด จุฬาฯ ชวนผู้สูงวัยออกกำลังกายเพิ่มภูมิคุ้มกัน ต้านไวรัสโควิด-19 แม้ต้องเก็บตัวที่บ้านก็แข็งแรงได้ พร้อมแนะวิธีออกกำลังกายที่บ้านง่ายๆ ในช่วงล็อกดาวน์

“3P อย่าทำ” พาธุรกิจรอดวิกฤตโควิดระลอก 4 กูรูการตลาด จุฬาฯ เตือน

อาจารย์ด้านการตลาดจากกคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ เตือนผู้ประกอบการธุรกิจ “อย่าทำ” 3 สิ่งและอย่าเพิ่งถอดใจ วิกฤตโรคโควิด-19 ระลอกสี่จะผ่านไปอีกไม่นาน

ครั้งแรก! เครื่องมือตรวจเชื้อโควิด-19 จากกลิ่นเหงื่อ รู้ผลเร็ว หนุนตรวจคัดกรองเชิงรุกในชุมชน

อาจารย์และนิสิตภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ พัฒนาเครื่องมือตรวจเชื้อโควิด-19 จากกลิ่นสารเคมี ที่จำเพาะของแบคทีเรียที่อยู่ในเหงื่อได้สำเร็จเป็นครั้งแรก ใช้ง่าย เก็บตัวอย่าง 15 นาที รู้ผลใน 30 วินาที เริ่มทดลองตรวจคัดกรองผู้ติดเชื้อตามชุมชนแล้ว

“เครื่องแบ่งบรรจุวัคซีนอัตโนมัติ”  นวัตกรรมจากวิศวฯ จุฬาฯ เพิ่มจำนวนผู้รับวัคซีนได้ 20% ลดภาระงานบุคลากรการแพทย์

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ พัฒนาเครื่องแบ่งและบรรจุวัคซีนอัตโนมัติ (Automated Vaccine) ดูดและบรรจุวัคซีนแอสตราเซเนกาลงเข็มฉีดยาได้อย่างแม่นยำ รวดเร็ว ปลอดภัย ช่วยเพิ่มจำนวนผู้ได้รับวัคซีนอีก 20 % นำร่องใช้เครื่องต้นแบบแล้วที่ศูนย์บริการวัคซีนจุฬาฯ วางแผนผลิตเครื่องเพิ่มเพื่อเสริมทัพเจ้าหน้าที่ด่านหน้าในหลายจุดฉีดวัคซีน เร็วๆ นี้

เผยเคล็ดลับปั้น “นวัตกรรุ่นเยาว์” บทพิสูจน์หลังคว้า “9 รางวัลนวัตกรรมระดับโลก”

วัตกรสาธิตจุฬาฯ คว้า 6 เหรียญทอง และ 3 เหรียญเงิน จากงานประกวดนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์นานาชาติ ณ สาธารณรัฐโปแลนด์ เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา บทพิสูจน์ทิศทางการพัฒนาคนแห่งอนาคต

เนื้อวากิวเทียมจากพืช โปรตีนจากพืชสูง เพิ่มภูมิคุ้มกัน สุดยอดนวัตกรรมอาหารแห่งอาเซียน โดยนิสิตจุฬาฯ

ทีมนิสิตวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ชนะเลิศการแข่งขัน “Asean Food Innovation Challenge 2021” ด้วยนวัตกรรมเนื้อเทียม The Marble Booster เนื้อวากิวทำจากพืช 100 % โปรตีนสูง คอเลสเตอรอลต่ำ พร้อมสมุนไพรเสริมสร้างภูมิคุ้มกันร่างกาย

ชุดตรวจโรคฉี่หนู รู้ผลไว ลดเสี่ยงตาย

แพทยศาสตร์ จุฬาฯ เปิดตัวชุดแถบตรวจโรคฉี่หนูแบบรวดเร็ว ราคาประหยัด ใช้งานง่าย ลดปัญหาผลตรวจล่าช้า เสี่ยงพิการจากอวัยวะภายในล้มเหลวและอาจถึงแก่ชีวิต หวังกระจายสู่โรงพยาบาลชุมชนทั่วประเทศ

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า