รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
1 กุมภาพันธ์ 2566
ข่าวเด่น
ผู้เขียน ธิติรัตน์ สมบูรณ์
สำนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ และสำนักบริหารวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดกิจกรรม “เครือข่ายอาจารย์ใหม่เพื่อพัฒนาการวิจัยและนวัตกรรม” เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม 2566 ณ ศูนย์กลางนวัตกรรมทางสังคมแห่งจุฬาฯ อาคารวิศิษฐ์ ประจวบเหมาะ โดยมี ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ ร่วมกับ ศ.ดร.จักรพันธ์ สุทธิรัตน์ รองอธิการบดีด้านการวิจัย กล่าวเปิดงานและกล่าวต้อนรับกลุ่มเครือข่ายอาจารย์ใหม่และผู้เข้าร่วมงาน มีการนำเสนอผลงานจากแนวคิดของ 4 กลุ่มอาจารย์ใหม่ ได้แก่ GinMe Immune Booster ปาเต๊ะปะใจ ส่งเสริมเศรษฐกิจและสุขภาวะของผู้สูงอายุใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ Jinno Mask และกุ้งเดินขบวน
ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี กล่าวว่า “วันนี้โลกเปลี่ยนแปลงค่อนข้างเร็ว มหาวิทยาลัยเป็นสังคมของภาครัฐ เราทำงานตามหลักเกณฑ์และกติกา ข้างนอกหมุนเร็วแต่ข้างในหมุนช้า เราจะตามโลกไม่ทัน การที่เราเปิดช่องทางให้อาจารย์ได้แสดงศักยภาพ ทำให้เราสามารถตามการเปลี่ยนแปลงได้ใกล้เคียงมากที่สุด บทบาทของอาจารย์ไม่ได้มีเพียงแค่การสอนอีกแล้วเพราะคุณค่าจะถูกลดทอนลง สิ่งที่อาจารย์ในมหาวิทยาลัยต้องปรับตัวคือการสร้างทักษะให้นิสิตของเรานำความรู้ออกไปใช้งานได้จริง และเพื่อการก้าวไปอีกขั้น อาจารย์ต้องสร้างองค์ความรู้ใหม่ สร้างประสบการณ์ใหม่ นอกเหนือความรู้เดิมที่เรามี การที่อาจารย์ออกไปทำงานกับชุมชนหรือบุคคลภายนอกทำให้งานของเรามีความเฉพาะตัวมากขึ้น ซึ่งการที่อาจารย์ใหม่มารวมตัวกันนั่นหมายถึงการมองหาความรู้ใหม่ๆ โดยใช้ความรู้พื้นฐาน และเชื่อมโยงศาสตร์การเรียนรู้ที่ทำให้เราแก้ไขปัญหาของสังคมได้มากขึ้น มหาวิทยาลัยพยายามสร้างแพลตฟอร์มเข้ามารองรับเพื่อให้อาจารย์ช่วยกันระดมความคิดสร้างสรรค์ออกไปสู่สังคมและพัฒนานิสิตให้ได้มากที่สุด”
ศ.ดร.จักรพันธ์ สุทธิรัตน์ กล่าวถึงการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ว่า “เราสนับสนุนให้อาจารย์ใหม่ได้จับกลุ่มกันเพื่อดึงประเด็นที่น่าสนใจของสังคมออกมาแก้ไข มีการทำงานข้ามศาสตร์และสร้างเครือข่ายภายในมหาวิทยาลัยกันเอง รวมถึงสร้างบรรยากาศในการทำงานวิจัยให้ท้าทายและไม่โดดเดี่ยวอีกต่อไป”
สำนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ และสำนักบริหารวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีการสร้างความร่วมมือในการพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษาและการผลิตกำลังคนขั้นสูงด้าน ววน. เพื่อการขับเคลื่อนการพลิกโฉมสถาบันอุดมศึกษาตามกลุ่มยุทธศาสตร์ภายใต้โปรแกรม 16 ปฏิรูประบบการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (Reinventing University) ทั้งนี้ เพื่อให้กิจกรรมเกิดความต่อเนื่องในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือการวิจัยของกลุ่มอาจารย์ใหม่ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้เป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์และความรู้ความสามารถด้านการวิจัย ขับเคลื่อนไปสู่การพัฒนาเป็นนวัตกรรมและการบูรณาการข้ามศาสตร์ เพื่อยกระดับการวิจัยให้ตอบโจทย์สังคม ชุมชน และประเทศได้อย่างยั่งยืน
นิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศจากการแข่งขัน Spark the Local 2024 by PTT
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ต้อนรับผู้แทนจาก Indiana University สหรัฐอเมริกา เจรจาแนวทางความร่วมมือทางวิชาการ
ศศินทร์จัด Open House แนะนำหลักสูตรต่างๆ วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2567
30 พ.ย. 67 เวลา 10.00 น.
ศศินทร์ จุฬาฯ
เชิญฟังการบรรยาย Chula Lunch Talk หัวข้อ “Smart VET-Learning: นวัตกรรม AR สู่การศึกษาสัตวแพทย์ยุคดิจิทัล”
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมสองกิจกรรมโครงการ “เล่นเพลินสำหรับเด็กปฐมวัย” “นิทานฟังเพลิน” และ “Happy Play Day”
อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น “อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ปอมท.” ประจำปี 2567
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้