รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
2 กุมภาพันธ์ 2566
ข่าวเด่น, ความเป็นนานาชาติ, ภาพข่าว
ผู้เขียน นิธิกานต์ ปภรภัฒ
คณะผู้ร่วมประชุมการประชุมวิชาการนานาชาติรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล (Delegation of Prince Mahidol Award Conference – PMAC) ประจำปี 2023 เข้าศึกษาดูงานโครงการ Chula Zero Waste เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม 2566 โดยมี ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดี ด้านการติดตามและประเมินผลยุทธศาสตร์ แผน การงบประมาณ และสุขภาวะ กล่าวเปิดงานและต้อนรับคณะผู้ร่วมประชุมฯ คุณกอปร ลิ้มสุวรรณ หัวหน้ากลุ่มภารกิจการจัดการสิ่งแวดล้อม สำนักบริหารระบบกายภาพ จุฬาฯ เป็นวิทยากรบรรยายที่มา นโยบาย และความสำคัญของโครงการ Chula Zero Waste ในงานมีการจัดกิจกรรมรำมวยไทย การเดินทางด้วยรถ CU POP BUS เยี่ยมชมเส้นทางจัดการคัดแยกขยะ จุดเครื่องบีบอัดขยะ พร้อมชมทัศนียภาพภายในรั้วจามจุรีและอุทยาน 100 ปี จุฬาฯ ป่ากลางเมืองที่สร้างภูมิสถาปัตยกรรมด้วยการใส่ใจแหล่งน้ำและชุมชน
Chula Zero Waste เป็นหน่วยงานที่ริเริ่มก่อตั้งขึ้นด้วยความร่วมมือระหว่างสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาฯ และสำนักบริหารระบบกายภาพ จุฬาฯ เพื่อสร้างพันธกิจในการเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลกด้านความยั่งยืนที่มุ่งเน้นในการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อม ตามเป้าประสงค์ในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Greenhouse Gas Emission) ภายในปี 2050 โดยส่งเสริมการตระหนักรู้ในวิถีชีวิตที่มีผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อมของคณาจารย์ บุคลากร นิสิต นักเรียนโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ รวมถึงชุมชนข้างเคียงมหาวิทยาลัย
โครงการ Chula Zero Waste ได้สร้างความร่วมมือจากหลายภาคส่วนในการพัฒนาระบบการจัดการขยะให้มีประสิทธิภาพภายในมหาวิทยาลัยและชุมชนโดยรอบ ทั้งขยะที่เป็นอันตรายและไม่เป็นอันตรายที่เกิดจากปฏิบัติงานและกิจกรรมต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัย การนำแนวคิดเรื่องการบริหารจัดการลดขยะให้เป็นศูนย์โดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และกฎ 3R ได้แก่ การลดการใช้ (Reduce) การใช้ซ้ำ (Reuse) นำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) การลงมือปฏิบัติอย่างจริงจังในช่วงแผน 5 ปีแรกของโครงการ ทำให้ปริมาณขยะลดลงประมาณ 40% มากกว่าเป้าหมายเดิมที่ตั้งไว้ที่ 30% แสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการบริหารจัดการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางความคิดและพฤติกรรมในการลงมือจัดการปัญหาด้านขยะตั้งแต่ต้นทางสู่ปลายทาง สร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อม ก่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกันของประชาคมจุฬาฯ และสาธารณะอย่างต่อเนื่อง ด้วยกลยุทธ์การแบ่งปันพร้อมสาธิตเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และสร้างความร่วมมือส่งต่ออนาคตที่ยั่งยืนร่วมกัน สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ
ติดตามภารกิจและกิจกรรมของโครงการ Chula Zero Waste ได้ที่ chulazerowaste.chula.ac.th
หรือทาง Facebook : chulazerowaste และ Twitter : chulazerowaste
สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายด้านการบริหารจัดการขยะและขยะอันตราย ขับเคลื่อนความยั่งยืนในจุฬาฯ
ภาพ : ณัฐริณีย์ พร้อมวงศ์ และ สมบูรณ์ พัฒนปรีชาเสถียร ศูนย์สื่อสารองค์กร จุฬาฯ ปวิตรา ชำนาญโรจน์ Chula Zero Waste
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ เชิญร่วมงานเสวนา “โปรตุเกส…เหตุที่รัก”
นิสิตสาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการประกวดสีน้ำระดับอุดมศึกษา
คณะทันตแพทย์ จุฬาฯ ชวนช็อป ดีมีคืน กับ Chula Dent ในโครงการ Easy E-Receipt 2.0
ขอเชิญชาวจุฬาฯ ประกวดคลิปวิดีโอสร้างสรรค์ “Chula Ethics: Our Code, Our Way: วิถีเรา ตัวตนเรา”
เชิญชวนชาวจุฬาฯ ประกวดออกแบบมาสคอต “Chula Mascot challenge ตัวแทนแห่งความโปร่งใส: CU Good gift mascot”
จุฬาฯ หัวเว่ย และ BUPT ร่วมพัฒนาบุคลากร ICT ในงาน Asia Pacific Cloud AI Forum & Huawei Developer Competition
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้