ข่าวสารจุฬาฯ

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมจากจุฬาฯ เพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

ปัจจุบันเกษตรกรไทยยังคงพึ่งพาการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช โดยเฉพาะอย่างยิ่งพาราควอตและอาทราซีน เพื่อควบคุมวัชพืชในพื้นที่ทำการเกษตร จากรายงานของสำนักงานเศรษฐกิจทางการเกษตรพบว่าเมื่อปี 2562  ประเทศไทยมีการนำเข้าพาราควอตเกือบ 10 ล้านกิโลกรัม และนำเข้าอาทราซีนเกือบ 3.5 ล้านกิโลกรัม การตกค้างของสารกำจัดวัชพืชเหล่านี้ก่อให้เกิดอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม สิ่งมีชีวิตและสุขภาพ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าวิตกกังวลอย่างยิ่ง

รศ.ดร.ธัญญลักษณ์ ฉายสุวรรณ์
รองคณบดีฝ่ายวิจัย วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี  จุฬาฯ

รศ.ดร.ธัญญลักษณ์ ฉายสุวรรณ์ รองคณบดีฝ่ายวิจัย วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี  จุฬาฯ ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัยชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ เพื่อการเกษตรที่ยั่งยืนและปลอดภัย ได้ร่วมมือกับ ผศ.ดร.ลักษณา ดูบาส ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ  ในการพัฒนาชุดตรวจวัดสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ โดยใช้วัสดุคาร์บอนรูพรุนในระดับนาโนเมตรที่สังเคราะห์ได้ ควบคู่กับเทคนิคการวิเคราะห์ด้วยสี เพื่อให้เกิดความแม่นยำในการตรวจวัด ช่วยลดปัญหาจากการตกค้างของสารกำจัดวัชพืช ซึ่งเป็นงานวิจัยของนิสิตปริญญาเอกภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ เป็นการบูรณาการงานวิจัยในสองสาขาเพื่อตอบโจทย์การแก้ปัญหายาฆ่าแมลงที่ปนเปื้อนในน้ำ  ซึ่งทดสอบได้ยาก

รศ.ดร.ธัญญลักษณ์ กล่าวว่าประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรรม จึงมีการใช้ยาฆ่าแมลงและสารเคมีในการผลิตวัตถุดิบทางการเกษตรเป็นจำนวนมาก สถานการณ์การใช้ยาฆ่าแมลงของเกษตรกรไทย เมื่อปี 2564 ประเทศไทยมีการใช้ยาฆ่าแมลงและสารเคมีต่างๆ ในการทำเกษตรกรรมสูงเป็นอันดับ 7 ของโลก โดยมีการใช้ยาฆ่าแมลงและสารเคมีต่างๆ 0.65 กิโลกรัมต่อไร่ จากงานวิจัยพบว่าสารเคมีประเภทพาราควอตและอาทราซีนเมื่อสะสมในร่างกายมีผลทำให้เป็นโรคพาร์คินสันและโรคมะเร็ง จึงเป็นจุดเริ่มต้นในการคิดค้นชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ โดยใช้วัสดุดูดซับและเปรียบเทียบสีซึ่งมีความไวในการดักจับสารพาราควอตและอาทราซีนในปริมาณน้อยได้  วัสดุดูดซับและเปรียบเทียบสีดังกล่าวได้จากการสังเคราะห์โพลิเมอร์เฉพาะตัว สามารถเปลี่ยนจากวัสดุอินทรีย์เคมี โดยนำมาเผาในภาวะอากาศเฉื่อยให้มีลักษณะคล้ายถ่าน ได้เป็นคาร์บอนรูพรุนซึ่งรูมีขนาดเล็กมาก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น เส้นผ่าศูนย์กลางของรูพรุนอยู่ในระดับนาโนเมตร และมีความเบามาก  การทดลองที่ผ่านมาได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ในอนาคตจะมีการต่อยอดงานวิจัยโดยนำพื้นผิววัสดุดูดซับไปประยุกต์ใช้กับในการดักจับสารชนิดอื่นได้

รศ.ดร.ธัญญลักษณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่าประเทศไทยมีพื้นที่เพาะปลูกกว่า 150 ล้านไร่ มีรายได้จากการเกษตรคิดเป็น 10% ของ GDP การที่รัฐบาลได้ผลักดันให้ประเทศไทยก้าวข้ามความเหลื่อมล้ำ การมีรายได้ต่อหัวต่ำ รวมถึงการสนับสนุนเรื่อง Smart Farming หรือเกษตรอัจฉริยะ จึงจำเป็นต้องมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย การพัฒนานวัตกรรมชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ เพื่อการเกษตรที่ยั่งยืนและปลอดภัย จะเป็นประโยชน์อย่างมาก

ปัจจุบันชุดทดสอบนี้อยู่ในรูปแบบของโมเดลซึ่งสามารถนำไปทดสอบเพื่อการใช้งานได้จริง ผู้สนใจสามารถติดต่อได้ที่ รศ.ดร.ธัญญลักษณ์ ฉายสุวรรณ์ วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาฯ โทร.0-2218-4124  อีเมล: thanyalak.c@chula.ac.th

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า