ข่าวสารจุฬาฯ

“มิถุนายน” เดือนนี้รักสิ่งแวดล้อม ตอน วันสิ่งแวดล้อมโลก

ในเดือนมิถุนายนของทุกปีจะมีวันที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมถึง 2 วันภายในหนึ่งอาทิตย์ ได้แก่ วันที่ 5 มิถุนายน “วันสิ่งแวดล้อมโลก” (World Environment Day) และวันที่ 8 มิถุนายน “วันมหาสมุทรโลกหรือวันทะเลโลก “ (World Oceans Day)

วันที่ 5 มิถุนายนของทุกปี เป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก จัดขึ้นโดยองค์กรสหประชาชาติ (UN) มีจุดประสงค์เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมที่นับวันยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ เช่น ปัญหาการขาดแคลนอาหาร วิกฤตการณ์ด้านพลังงาน การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ รวมไปถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ

วันสิ่งแวดล้อมโลก ใครว่ามีแต่เรื่องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมนิ่งๆ เรียบๆ ทุกปี หากใครคิดแบบนั้นก็ขอให้รู้ไว้ว่ากำลังจะตกเทรนด์อย่างแรง ตามไม่ทันยุคดิจิตอลเอาเสียเลย เพราะว่าในทุกๆ ปี วันสิ่งแวดล้อมจะมี “ธีม” ประจำเพื่อเจาะลึกและนำเสนอถึงปัญหาที่เป็นประเด็นในปีนั้น ซึ่งในปีนี้ มาในธีมสุดคูลอย่าง “Beat Plastic Pollution: If you can’t reuse, refuse it!” หรือ “การสู้กับปัญหาขยะพลาสติก: ถ้าเอากลับมาใช้ใหม่ไม่ได้ จงปฏิเสธมันซะ!” ถือว่าเป็นคำคมปลุกใจให้ฮึกเหิมต่อการปฏิเสธการใช้ถุงพลาสติก ซึ่งก็เข้ากับประเด็นกระแสโลกที่ในปีนี้ทุกองค์กรพยายามรณรงค์การลดใช้พลาสติก ประเภทใช้แล้วทิ้งหรือใช้ได้เพียงครั้งเดียวได้อย่างชัดเจนตรงประเด็นและเท่สุดๆ ไปเลย!

Chula Zero Waste ขอแนะนำวิธีทำให้ทุกๆ วันกลายเป็นวันรักษาสิ่งแวดล้อม โดยเราจะมาอัพเดททฤษฎี3Rให้ทันสมัยยิ่งขึ้นด้วย “ทฤษฎี 6R” อย่าลืมทำตามและนำเอาไปใช้ในชีวิตประจำวัน รับรองว่าขยะลดอย่างเห็นได้ชัดแน่นอน

1.Reduce : เริ่มที่หลักการง่ายๆ จากทฤษฎี 3R นั่นก็คือการ “ลดใช้” เพราะการใช้ให้น้อยลงเท่ากับเป็นการสร้างขยะให้น้อยลงด้วยเช่นกัน

2.Reuse : หากเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องใช้ ก็อย่าลืมนำกลับมา “ใช้ซ้ำ” เพราะการหยิบสิ่งของรอบตัวกลับมาใช้ซ้ำอาจสร้างคุณประโยชน์มหาศาลโดยที่เราไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเลยก็ได้นะ

3.Recycle: วัสดุบางชิ้นเราไม่สามารถใช้ซ้ำได้อีก แต่เราสามารถ “นำกลับมาใช้ใหม่ได้” โดยการปรับแต่งเปลี่ยนแปลงให้กลายเป็นชิ้นส่วนใหม่ อย่างเช่น การนำขวดเก่ากลับมาหล่อเป็นขวดใหม่ ผลิตภัณฑ์ใหม่ ชิ้นงานใหม่ การคัดแยกขยะรีไซเคิลจะช่วยให้ขยะที่กำลังจะถูกผลิต ขึ้นมาใหม่ ยังคงมีความสะอาด ลดการปนเปื้อนจากขยะประเภทอื่น และลดขั้นตอนในการทำความสะอาดซึ่งช่วยลดพลังงานและทรัพยากรบางชนิดได้ในทางอ้อมอีกด้วย

  1. Repair: “การซ่อมแซม” เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยยืดอายุการเป็นขยะของสิ่งของนั้นๆ เช่น การนำกระถางแตกมาจัดเป็นสวนจิ๋ว นอกจากจะลดขยะแล้วยังอาจเพิ่มมูลค่ากลายเป็นอาชีพเสริมที่ทำกำไรให้โดยไม่รู้ตัว
  2. Rethink: ข้อนี้ถือเป็นโจทก์หินสำหรับใครหลายคนเลยก็ว่าได้ เพราะการปรับเปลี่ยนความคิดหรือเปลี่ยนทัศนคติต้องใช้ความเข้าใจและใช้เวลา แต่เราเชื่อว่าทุกคนทำได้ โดยเริ่มจากการ “มองมุมกลับ” มองอีกด้านหนึ่งที่ไม่ใช่แค่ประโยชน์ที่จะได้รับ แต่เป็นผลเสียที่จะตามมาด้วยจากนั้นจึง “ปรับมุมมอง” ปรับเปลี่ยนความคิดเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาที่จะตามมา ฝึกคิด ฝึกปรับเปลี่ยน ทฤษฎีข้อนี้ก็ไม่ได้ยากอย่างที่คิด

6.Refuse: ตามกระแสวันสิ่งแวดล้อมปี 2018 กันหน่อย อย่างที่บอก…“ถ้าเอากลับมาใช้ใหม่ไม่ได้ก็จงปฏิเสธมันซะ!” ข้อนี้เป็นการขมวดปมทฤษฎี 6R เข้าด้วยกัน คือ ลดใช้ไม่ได้ ใช้ซ้ำไม่ได้ นำกลับมาใช้ใหม่ก็ไม่ได้ หรือจะซ่อมแซมก็ไม่ได้อีก คงต้องขอคิดใหม่แล้วปฏิเสธที่จะใช้ดีกว่า

ถ้าเราช่วยกัน จงมั่นใจว่าทำได้

Together We Can มั่นใจเราทำได้!

ข้อมูลจาก greennewsguru.sanook

 

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า