รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
17 กุมภาพันธ์ 2566
ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ, งานวิจัยและนวัตกรรม
ผู้เขียน ขนิษฐา จันทร์เจริญ
“การบุกเบิกองค์ความรู้ด้วยงานวิจัยข้ามศาสตร์ทางการออกแบบผลิตภัณฑ์แฟชั่นและสิ่งทอไลฟ์สไตล์ มุ่งส่งเสริมการเชื่อมโยงสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์และสร้างมูลค่าเพิ่มในระดับสากล ด้วยการพัฒนาทุนวัฒนธรรมสู่ความร่วมสมัยอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ชุมชนสามารถยกระดับ สร้างอาชีพและมีรายได้อย่างยั่งยืน” เป็นแนวคิดและจุดมุ่งหมายหลักในการทำงานวิจัยของ ศ.ดร.พัดชา อุทิศวรรณกุล หัวหน้าหน่วยวิจัยแฟชั่นและนฤมิตศิลป์ ภาควิชานฤมิตศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาปรัชญา ประจำปี 2566 จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
ศ.ดร.พัดชา อุทิศวรรณกุล หัวหน้าหน่วยวิจัยแฟชั่นและนฤมิตศิลป์ ภาควิชานฤมิตศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยนวัตกรรมข้ามศาสตร์ทางการออกแบบผลิตภัณฑ์แฟชั่น และสิ่งทอไลฟ์สไตล์เพื่อความยั่งยืน โดยใช้แนวคิดข้ามศาสตร์สู่การสร้างอัตลักษณ์จำเพาะของผลิตภัณฑ์แฟชั่นสิ่งทอจากมรดกวัฒนธรรมสู่รากฐานการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ งานวิจัยของ ศ.ดร.พัดชามุ่งบุกเบิกนวัตกรรมแฟชั่นด้านความยั่งยืน โดยเน้นเรื่องการสร้างวัตถุดิบใหม่ๆ ที่ไร้มูลค่าทางการเกษตรนำกลับมาใช้ด้วยการพัฒนาเป็นสิ่งทอสร้างสรรค์ใหม่ที่สามารถตอบโจทย์กระแสนิยม ต่อยอดให้ชุมชนพัฒนาอาชีพและมีรายได้อย่างยั่งยืน ซึ่งจะช่วยเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ คุณค่าที่โดดเด่นของงานวิจัยสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อยอดมูลค่าในเศรษฐกิจสร้างสรรค์และตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับชาติและนานาชาติ ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์เชิงวิชาการ สังคม และเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เป็นการสร้างกระบวนทัศน์ใหม่ของการกำหนดทิศทางงานวิจัย
ศ.ดร.พัดชากล่าวถึงรูปแบบนวัตกรรมข้ามศาสตร์ว่า เป็นต้นแบบแนวคิดในการนำทุนวัฒนธรรมและมรดกธรรมชาติของประเทศสู่ความร่วมสมัย นำมาพัฒนาต่อยอดในเชิงเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดประโยชน์ในวงกว้างแก่นักวิชาการ นักออกแบบ และผู้ประกอบการรุ่นใหม่ของประเทศ ด้วยการถ่ายทอดองค์ความรู้ผ่านการทดลองและอบรมเชิงปฏิบัติการ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการขยายผลต่อชุมชนในภูมิภาคทั้งในและต่างประเทศ การวิจัยยังสามารถส่งเสริมการยกระดับอาชีพ เพิ่มรายได้และลดต้นทุนทางการผลิต โดยสามารถขยายเส้นทางเศรษฐกิจ เปิดประตูการค้าระหว่างประเทศได้ สอดคล้องกับนโยบายที่ผลักดันผลงานวิจัยสู่หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนให้สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ต่อยอดให้เกิดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ ผ่านการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์แฟชั่น
ศ.ดร.พัดชากล่าวว่าหน่วยวิจัยแฟชั่นและนฤมิตศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เป็นหน่วยวิจัยที่รวบรวมนักวิจัย อาจารย์ประจำในสาขาวิชา นักออกแบบที่เป็นนิสิตเก่าของหลักสูตรปริญญามหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิตเข้ามาร่วมกันสร้างและพัฒนาแนวทางให้เกิดความยั่งยืนในอุตสาหกรรมแฟชั่นของประเทศ โดยยึดหลัก “บุกเบิก กล้าคิดและทดลองในสิ่งที่แตกต่าง เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างยั่งยืน” สำหรับแผนการทำงานวิจัยในอนาคต จะมุ่งศึกษาวิจัยเชิงนวัตกรรมและนำมาต่อยอดสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ผ่านการสร้างสรรค์นวัตกรรมผลิตภัณฑ์แฟชั่นอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่การพัฒนาสร้างสรรค์สิ่งทอ รวมถึงการออกแบบสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์แฟชั่น เพื่อเป็นต้นแบบสำหรับแนวทางของการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจในเชิงพาณิชย์ สร้างรายได้และอาชีพให้กับคนในชุมชน ตลอดจนนำความรู้จากการวิจัยต่อยอดรับใช้สังคมตามแนวนโยบายของจุฬาฯ และยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศ เพื่อเป็นรากฐานการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
“นักวิจัยที่อยากประสบความสำเร็จในการทำวิจัยต้องคิดเสมอว่าความสำเร็จไม่ใช่จุดจบ อุปสรรคไม่ใช่ปัญหา ความผิดพลาดคือบทเรียนที่ต้องศึกษาและพัฒนาต่อไป ทำอย่างไรให้สิ่งที่เรากำลังสร้างและพัฒนาเป็นที่ยอมรับและมีผู้สนับสนุนจากภาครัฐและเอกชน เราต้องสร้างพลังและอยากเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง อยากให้คิดและร่วมมือกันเพื่อมุ่งสร้างงานวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อวงกว้างในสังคม ชุมชน และประเทศชาติ ต่อยอดเศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน รวมทั้งมีกระบวนการทำงานที่เป็นต้นแบบชัดเจนในศาสตร์เพื่อส่งต่อนักวิจัยรุ่นหลังให้มีความแข็งแรง” ศ.ดร.พัดชา ฝากข้อคิด ทิ้งท้าย
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ จัดกิจกรรม “ใส่บาตรหนังสือ ครั้งที่ 16 : อ่านเพื่อสติ” สานต่อศรัทธาผ่านการอ่าน สร้างปัญญา เสริมสิริมงคลรับปีใหม่
นิสิต BBA จุฬาฯ เยี่ยม! ทำคะแนนสอบ TCAS Inter 2024 ได้ที่ 1 ของประเทศ
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ เชิญร่วมงานเสวนา “โปรตุเกส…เหตุที่รัก”
นิสิตสาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการประกวดสีน้ำระดับอุดมศึกษา
คณะทันตแพทย์ จุฬาฯ ชวนช็อป ดีมีคืน กับ Chula Dent ในโครงการ Easy E-Receipt 2.0
ขอเชิญชาวจุฬาฯ ประกวดคลิปวิดีโอสร้างสรรค์ “Chula Ethics: Our Code, Our Way: วิถีเรา ตัวตนเรา”
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้