รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
17 กุมภาพันธ์ 2566
ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ, งานวิจัยและนวัตกรรม
ผู้เขียน ธิติรัตน์ สมบูรณ์
ศ.ดร.จินตวีร์ คล้ายสังข์ ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2566 จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ด้วยผลงานการวิจัยอันโดดเด่นจากการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมทางด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มีความเชี่ยวชาญพิเศษในเรื่องของการพัฒนาเทคโนโลยีอัจฉริยะ และระบบเสริมในการเรียนออนไลน์ การเรียนแบบผสมผสาน (Blended Learning) ห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) สภาพแวดล้อมการเรียนรู้เสมือน (Virtual Learning Environment) การพัฒนาแอปพลิเคชันช่วยสอนด้วยแชทบอท (Chatbot-Based Application) ร่วมกับอุปกรณ์เทคโนโลยีสวมใส่ (Wearable Devices) เพื่อเป็นตัวช่วยในการเรียนรู้ในบริบทต่างๆ สามารถสรุปผลงานความสำเร็จที่เป็นที่ประจักษ์ในวงการวิชาการได้แก่ ทุนวิจัยจากหน่วยงานภาครัฐทั้งสิ้น 26 ทุน รางวัลนักวิจัยดีเด่นและงานวิจัยดีเด่น 3 รางวัล รางวัลสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมในเวทีระดับนานาชาติ 14 รางวัล ได้รับรางวัลสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมในเวทีระดับชาติ 12 รางวัล และผลงานตีพิมพ์ในฐาน Scopus กว่า 30 ฉบับ มีการอ้างอิงกว่า 200 รายการ รวมถึงจำนวนการอ้างอิงจาก Google และ Web of science มากกว่า 1,000 รายการ
“EmpowerMe” ถือเป็นตัวอย่างงานวิจัยที่ได้รับการยอมรับทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสังคมแห่งการเรียนรู้และนวัตกรรมได้อย่างดี โดย EmpowerMe ที่ ศ.ดร.จินตวีร์พัฒนาขึ้นเพื่อส่งเสริมการรู้ดิจิทัลของผู้เรียนในบริบทพลเมืองดิจิทัล แอปพลิเคชันนี้เป็นเสมือนโค้ช (Chatbot coach) ที่แนะนำเรื่องการเรียนรู้และการฝึกฝนทักษะในอนาคต เพื่อเตรียมผู้เรียนให้พร้อมกับอาชีพในฝัน ช่วยให้ผู้เรียนยุคดิจิทัลสามารถเลือกงานที่เหมาะสม แชทบอทนี้สามารถตอบโต้ผู้เรียนได้ตลอด 24 ชม. รูปแบบการเรียนรู้และฝึกฝนทักษะจะทำผ่านรูปแบบเกมที่ผู้เรียนต้องพิชิต 4 ด่านภารกิจ
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.chula.ac.th/highlight/82286/
นอกจากนี้ ศ.ดร.จินตวีร์ ยังได้มีการดำเนินการโครงการวิจัยที่เป็นการต่อยอดจากนวัตกรรมที่ได้รับรางวัลระดับนานาชาติและระดับชาติ เน้นการดำเนินการในรูปแบบของการเสริมพลังและความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน เพื่อให้เกิดนวัตกรรมที่สามารถก้าวไปสู่เชิงพาณิชย์ได้จริง
หลักในการทำงานวิจัยของ ศ.ดร.จินตวีร์มี 4 มิติ ได้แก่
มิติที่ 1 Acadamic contribution งานวิจัยนวัตกรรมจะต้องเน้นให้ผู็เรียนเกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ ทั้งในเรื่องทักษะสมรรถนะทางวิชาชีพ soft skill ทักษะการคิดต่างๆ โดยให้ความสำคัญกับ User Experience คือประสบการณ์ของผู้ใช้งาน และ User Interface Design ให้เหมาะสมกับบริบทและตรงกับความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด การบูรณาการการเรียนการสอนเพื่อมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุด
มิติที่ 2 Co-creation การทำงานร่วมกับศาสตร์สาขาวิชาอื่นๆ เช่น การทำงานร่วมกับอาจารย์คณะแพทยศาสตร์ในการพัฒนาสมรรถนะทางวิชาชีพของนักศึกษาแพทย์และการดูดิจิทัล โดยการพัฒนานวัตกรรมแอปพลิเคชั่นที่ใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ไมโครคอนโทรลเลอร์และหุ่นจำลองในการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพของนักศึกษาแพทย์
มิติที่ 3 International collaboration การสร้างเครือข่ายในระดับสากล โดยร่วมมือกับอาจารย์นักวิจัยในต่างประเทศ เพื่อเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งในเรื่องของเทคโนโลยีและการจัดการเรียนรู้ เพื่อเตรียมพร้อมให้คนไทยสามารถที่จะเป็นพลเมืองโลกหรือ Global citizen ได้อย่างเหมาะสม
มิติที่ 4 Scalability การร่วมมือเป็นเครือข่ายการทำวิจัยและนวัตกรรมกับภาคเอกชน ทั้งนี้เพื่อยกระดับงานวิจัยให้เกิดการใช้ในวงกว้างในระดับ Enterprise และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องมือวิจัยและวัตกรรม
ศ.ดร.จินตวีร์ มีผลงานวิจัยอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2550 จนถึงปัจจุบัน โดยมุ่งพัฒนาผลงานวิจัยที่สร้างองค์ความรู้ใหม่และมีประโยชน์ต่อการเรียนการสอนด้านเทคโนโลยีการศึกษาและสื่อสารการศึกษาในวงกว้าง ตลอดจนการต่อยอดเป็นนวัตกรรมทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาให้สามารถนำผลวิจัยไปใช้งานได้จริง
ศ.ดร.จินตวีร์ ฝากคำแนะนำถึงนักวิจัยรุ่นใหม่ว่า “การเป็นนักวิจัยที่ดีนั้น เราจะต้องมองภาพงานวิจัยในระยะยาว มองให้เห็นภาพใหญ่ว่าความเชี่ยวชาญของเราจะสามารถส่งเสริม สนับสนุน และช่วยขับเคลื่อน พัฒนาสังคมและประเทศชาติได้อย่างไร โดยยึดหลักในการทำงาน 3 Ps ได้แก่ Purpose: ทุกความสำเร็จ เริ่มต้นจากการที่มีเป้าหมายที่ชัดเจนPassion: ระหว่างทางสู่เป้าหมาย ต้องมีความสุข สิ่งที่ทำเกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น และ Pertinacious: ความมุ่งมั่น เพียรพยายามเพื่อไปให้ถึงความสำเร็จที่ตั้งไว้”
รพ.จุฬาลงกรณ์จับมือสภากาชาดไทย เปิดตัว “Check PD” แอปพลิเคชันตรวจหาความเสี่ยงเป็นพาร์กินสัน แม่นยำถึง 90%
จุฬาฯ จัดงาน Chula the Impact ครั้งที่ 29 “Chula-KBTG: AI for the Future” พร้อมลงนาม MOU ร่วมกับ KBTG เปิดตัวระบบ AI LUCA และ Virtual Patient
อธิการบดีจุฬาฯ ประธาน ทปอ. ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งกรรมการอำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.)
พิธีเปิดหลักสูตร TOP Green รุ่นที่ 1 จุฬาฯ ร่วมกับองค์กรพันธมิตรจัดหลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านความยั่งยืน
“Barter System Fair ตลาดนัด-แลก-พบ” ครั้งที่ 2 Chula Zero Waste ชวนแลกเปลี่ยนแบ่งปันสิ่งของที่ไม่ใช้แล้ว
จุฬาฯ จัดงานขอบคุณผู้มีส่วนร่วมจัด “พิธีทูลเกล้าฯ ถวายฉลองพระองค์ครุยพระบรมราชูปถัมภก” และการแสดงดนตรีเฉลิมพระเกียรติ “รวมใจภักดิ์ เฉลิมทศมจักรีนฤบดินทร์ : มหาดุริยางค์ไทย-สากล”
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้