รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
17 กุมภาพันธ์ 2566
ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ, งานวิจัยและนวัตกรรม
ผู้เขียน เมธาพร ไตรกิจวัฒนกุล
รศ.ดร.วิโรจน์ อรุณมานะกุล ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ และผู้อำนวยการสถาบันภาษาไทยสิรินธร จุฬาฯ คว้ารางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2566 สาขาปรัชญา จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในฐานะผู้เชี่ยวชาญงานวิจัยด้านคลังข้อมูลภาษาและงานประมวลผลภาษาไทย โดยเริ่มต้นจากการเก็บข้อมูลภาษาไทยให้ได้ปริมาณมากพอสำหรับค้นหาตัวอย่างการใช้ภาษาไทยและได้เปิดให้บริการค้นผ่านทางเว็บไซต์ Thai Concordance รวมทั้งได้เข้าร่วมในโครงการพัฒนาครั้งข้อมูลภาษาไทยแห่งชาติ โดยออกแบบคลังข้อมูลและพัฒนาเครื่องมือเพื่อใช้ในการตัดคำกำกับข้อมูลตัวบทและจัดเก็บคลังข้อมูล
นอกจากคลังข้อมูลภาษาไทยแล้ว รศ.ดร.วิโรจน์ ยังได้ร่วมกับอาจารย์สาขาภาษาอังกฤษในการพัฒนาและสร้างคลังข้อมูลเทียบบทภาษาอังกฤษ-ไทย เพื่อให้ผู้สนใจศึกษาการแปลสามารถเข้าถึงและค้นหาตัวอย่างการแปลได้ คลังข้อมูลภาษาเหล่านี้ได้เปิดให้บริการแก่สาธารณะเพื่อให้มีแหล่งข้อมูลกลางสำหรับนักวิจัยและนักศึกษาได้ใช้สำหรับการศึกษาวิจัย นอกจากจะเผยแพร่ในรูปของการตีพิมพ์บทความและหนังสือแล้ว ยังเผยแพร่เป็นเครื่องมือสาธารณะ เช่น โปรแกรมถอดอักษรไทยเป็นโรมันโปรแกรมตัดคำภาษาไทย โปรแกรมถ่ายเสียงภาษาไทยเป็นสัทอักษร (Thai to IPA)โปรแกรมกำกับหมวดคำโปรแกรมแบ่งหน่วยปริจเฉทพื้นฐานและโปรแกรมเว็กเตอร์คำไทย (Thai word2vec) ปัจจุบันโปรแกรมต่างๆได้พัฒนาเป็นส่วนหนึ่งของ Python Package TLTK (Thai Language Toolkit) ที่คนทั่วไปสามารถติดตั้งและเลือกใช้งานโมดูลที่ต้องการได้ และยังมีการพัฒนาเพิ่มเติมโมดูลการประมวลผลภาษาไทยต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
รศ.ดร.วิโรจน์เผยถึงคลังข้อมูลภาษาต่างๆ ที่สร้างขึ้นว่าจะเป็นประโยชน์ในเชิงวิชาการเป็นแหล่งข้อมูลกลางที่นักวิจัยและนักศึกษาสามารถใช้สืบค้นข้อมูลที่ต้องการในงานวิจัยของตนเองได้ เครื่องมือหรือโปรแกรมที่เผยแพร่มีบริษัทเอกชนและหน่วยงานต่างๆ ตลอดจนนักพัฒนาระบบได้ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรและเครื่องมือเหล่านี้มานานกว่า 10 ปี
“ความสำเร็จในการทำงานวิจัยเกิดจากการอาศัยทีมงานที่ดี ทุกฝ่ายต้องทำหน้าที่ร่วมกันเป็นทีมเวิร์ค การทำงานวิจัยให้ประสบความสำเร็จควรทำวิจัยในสิ่งที่เราสนใจจริงๆ จะทำให้เราอยู่กับงานวิจัยนั้นๆ ไปได้ตลอด เมื่อลงมือทำแล้วจะมองเห็นปัญหาให้เราได้ศึกษาต่อเนื่อง การทำวิจัยเป็นเหมือนการตอบโจทย์ความต้องการของตนเองว่าเราสนใจอยากจะรู้อะไร ทำให้เรามีความสุขที่จะค้นคว้าเรื่องนั้นๆ มากกว่าเป็นการทำแล้วหวังที่ผลลัพธ์” รศ.ดร.วิโรจน์ ฝากข้อคิดทิ้งท้ายแก่นักวิจัยรุ่นใหม่
ผู้สนใจสามารถเข้าสืบค้นคลังข้อมูลภาษาและงานประมวลผลภาษาไทยได้ที่ https://www.arts.chula.ac.th/ling/tnc3/
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จฯ ในพิธีทูลเกล้าฯ ถวายฉลองพระองค์ครุยพระบรมราชูปถัมภก และทอดพระเนตรการแสดงดนตรีเฉลิมพระเกียรติ “รวมใจภักดิ์ เฉลิมทศมจักรีนฤบดินทร์ : มหาดุริยางค์ไทย-สากล”
เทศกาลความสนุกส่งท้ายปี “Siam Street BIG RETURN 2024” 20-22 ธันวาคมนี้ที่สยามสแควร์ ชมฟรีตลอดงาน
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ จัดงานประกาศผลมูลค่าแบรนด์องค์กร ASEAN and Thailand’s Top Corporate Brands 2024 มอบรางวัลสุดยอดแบรนด์องค์กรและรางวัลหอเกียรติยศ
ผศ.ทพ.ดร.ศุภชัย ชื่นจิตรวงษา ผู้ช่วยอธิการบดี จุฬาฯ ได้รับยกย่องเป็นทันตแพทย์ดีเด่น ด้านพัฒนาวิชาชีพ
จุฬาฯ จัดงาน “Chula Townhall” เปิดวิสัยทัศน์พัฒนามหาวิทยาลัยรอบทิศโดยมีนิสิตเป็นศูนย์กลาง พร้อมส่งความสุขปีใหม่ให้ชาวจุฬาฯ
จุฬาฯ เสริมสร้างศักยภาพด้านการบริหารจัดการแก่ผู้บริหาร หลักสูตร The Leader Prospects รุ่นที่ 14
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้