รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
20 กุมภาพันธ์ 2566
ข่าวเด่น
ผู้เขียน สุรเดช พันธุ์ลี
สถานการณ์โลกร้อน ภัยแล้ง ฝุ่น PM2.5 เป็นปัญหาที่เราทุกคนเผชิญและได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้น พร้อมมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาเหล่านี้ ทั้งนี้ ในงาน “Chula Sustainability Fest 2022” เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2565 อธิการบดีจุฬาฯ ได้ประกาศเจตนารมณ์ลดก๊าซเรือนกระจกในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยตั้งเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนของมหาวิทยาลัยภายในปี ค.ศ. 2040 และเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ. 2050 โดยมุ่งหวังให้ประชาคมจุฬาฯ ร่วมรับผิดชอบต่อปัญหาสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนในฐานะพลเมืองโลก
จังหวัดน่าน เป็นหนึ่งในพื้นที่ยุทธศาสตร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เนื่องจากเป็นที่ตั้งของศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นจังหวัดที่ประสบปัญหาพื้นที่ป่าถูกทำลาย การบุกรุกป่าเพื่อปลูกข้าวโพด เกิดปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อม PM 2.5 รวมถึงมลพิษทางอากาศ ซึ่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้แก้ปัญหาดังกล่าวร่วมกับชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง
สำนักบริหารกิจการนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งมีบทบาทหน้าที่ในการพัฒนานิสิตผ่านการเรียนรู้นอกห้องเรียน ได้จัดโครงการลงสู่พื้นที่จังหวัดน่านผ่านโครงการจุฬาฯ สามัคคี ฟื้นฟูระบบนิเวศและเพิ่มพื้นที่สีเขียวอย่างยั่งยืน จังหวัดน่าน โดยมีพื้นที่เป้าหมายที่บ้านเชตวัน ตำบลสันทะ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่นิสิตในค่ายวิศวพัฒน์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้ดำเนินการสร้างฝายจำนวน 2 ฝาย หลังจากนี้จะเป็นการปลูกป่าในพื้นที่ได้รับประโยชน์จากน้ำที่ทำฝายประมาณ 200 ไร่
โครงการจุฬาฯ สามัคคี ฟื้นฟูระบบนิเวศและเพิ่มพื้นที่สีเขียวอย่างยั่งยืน จังหวัดน่าน เป็นการปลูกต้นไม้โดยใช้ไม้วงศ์ยาง (Dipterocarpus) และ 3 นวัตกรรมคือ 1. ไมคอร์ไรซา (การใส่เชื้อราไมคอร์ไรซาให้กับกล้าไม้ เพื่อสนับสนุนการเจริญเติบโตและความแข็งแรงของกล้าไม้ และสร้างรายได้ให้กับชุมชนคือ “เห็ดป่า”) 2. โพลิเมอร์ (ใส่รองก้นหลุมก่อนปลูกกล้าไม้ช่วยดูดเก็บน้ำในดินได้มากกว่าปกติ 200-300 เท่า ช่วยให้ดินที่แห้งแล้งกลับมีความชุ่มชื้น อยู่ในดินได้นาน 1-2 ปี แล้วจะสลายเป็นปุ๋ยให้โพแทสเซียมตามธรรมชาติ) 3. การปลูกป่าไม้ 5 ระดับ (ไม้สูง : มีความสูงจากพื้นดินตั้งแต่ 240 ซม. ขึ้นไป ไม้กลาง : มีความสูงจากพื้นดินไม่เกิน 180 ซม. ไม้เตี้ย : มีความสูงจากพื้นดินไม่เกิน 45 ซม. ไม้เรี่ยดิน ไม้เลื้อย : มีความสูงจากพื้นดินไม่เกิน 30 ซม. ไม้หัวใต้ดิน : เป็นไม้ที่มีหัวอยู่ใต้ดิน) ในการปลูกป่าดังกล่าวใช้วิธีการปลูกป่าแบบ มิยาวากิ ซึ่งเป็นวิธีที่ทำให้สภาพป่าฟื้นตัวได้เร็วกว่าการปลูกแบบดั้งเดิม
ทั้งนี้ จากข้อมูลจากเว็บไซค์มูลนิธิสืบนาคะเสถียร การปลูกต้นไม้ยืนต้น 1 ต้น สามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้เฉลี่ย 9-15 กิโลกรัม CO2 ต่อปี ช่วยผลิตออกซิเจนได้เพียงพอสำหรับ 2 คนต่อปี และช่วยลดอุณหภูมิรอบพื้นที่ปลูกได้ 2-4 องศาเซลเซียส ยิ่งเราปลูกต้นไม้ถูกวิธี ทำให้ต้นไม้เติบโตได้อย่างยั่งยืนมากแค่ไหน วิกฤตโลกร้อนก็จะบรรเทาลงได้มากเช่นกัน
โครงการปลูกป่า “จุฬาฯ สามัคคี ฟื้นฟูระบบนิเวศและพื้นที่สีเขียวอย่างยั่งยืน” ที่จังหวัดน่าน 5 ครั้งที่ผ่านมามีดังนี้
– ครั้งที่ 1 วันที่ 26 – 29 กรกฎาคม 2565 ณ พื้นที่บ้านนาขาว ต.นาขาว อ.เมืองน่าน จ.น่าน โดยมีนิสิตคณะครุศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี คณะเภสัชศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ คณะสหเวชศาสตร์ และคณะอักษรศาสตร์ เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 37 คน
– ครั้งที่ 2 วันที่ 13 – 16 ตุลาคม 2565 ณ พื้นที่บ้านเชตวัน ต.สันทะ อ.นาน้อย จ.น่าน โดยมีนิสิตคณะวิทยาศาสตร์ เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 41 คน
– ครั้งที่ 3 วันที่ 27 – 30 พฤศจิกายน 2565 ณ พื้นที่บ้านเชตวัน ต.สันทะ อ.นาน้อย จ.น่าน โดยมีนิสิตคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 30 คน
– ครั้งที่ 4 วันที่ 23 – 26 ธันวาคม 2565 ณ พื้นที่บ้านเชตวัน ต.สันทะ อ.นาน้อย จ.น่าน โดยมีนิสิตคณะวิทยาศาสตร์ คณะครุศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ สำนักวิชาทรัพยากรเกษตร และนิสิตโครงการจุฬาฯ-ชนบท เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 54 คน
– ครั้งที่ 5 วันที่ 6 – 9 มกราคม 2566 ณ พื้นที่สถานีวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีไหล่น่าน จุฬาฯ ต.ไหล่น่าน อ.เวียงสา จ.น่าน โดยมีนิสิตคณะศิลปกรรมศาสตร์เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 34 คน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จฯ ในพิธีทูลเกล้าฯ ถวายฉลองพระองค์ครุยพระบรมราชูปถัมภก และทอดพระเนตรการแสดงดนตรีเฉลิมพระเกียรติ “รวมใจภักดิ์ เฉลิมทศมจักรีนฤบดินทร์ : มหาดุริยางค์ไทย-สากล”
เทศกาลความสนุกส่งท้ายปี “Siam Street BIG RETURN 2024” 20-22 ธันวาคมนี้ที่สยามสแควร์ ชมฟรีตลอดงาน
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ จัดงานประกาศผลมูลค่าแบรนด์องค์กร ASEAN and Thailand’s Top Corporate Brands 2024 มอบรางวัลสุดยอดแบรนด์องค์กรและรางวัลหอเกียรติยศ
ผศ.ทพ.ดร.ศุภชัย ชื่นจิตรวงษา ผู้ช่วยอธิการบดี จุฬาฯ ได้รับยกย่องเป็นทันตแพทย์ดีเด่น ด้านพัฒนาวิชาชีพ
จุฬาฯ จัดงาน “Chula Townhall” เปิดวิสัยทัศน์พัฒนามหาวิทยาลัยรอบทิศโดยมีนิสิตเป็นศูนย์กลาง พร้อมส่งความสุขปีใหม่ให้ชาวจุฬาฯ
จุฬาฯ เสริมสร้างศักยภาพด้านการบริหารจัดการแก่ผู้บริหาร หลักสูตร The Leader Prospects รุ่นที่ 14
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้