รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
28 กุมภาพันธ์ 2566
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
ผู้เขียน สมบูรณ์ พัฒนปรีชาเสถียร
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยพะเยา จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการเรื่องความร่วมมือในการสร้างงานวิจัยที่มีผลกระทบสูงต่อสังคม และจัดเสวนาวิชาการ (Creative Tourism Forum) เมื่อวันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 ณ ห้อง 111 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์
ศ.ดร.จักรพันธ์ สุทธิรัตน์ รองอธิการบดีด้านการวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ความร่วมมือนี้เกิดจากทีมนักวิจัยของทั้งสองมหาวิทยาลัยมีความสนใจโจทย์งานวิจัยร่วมกัน โดยมหาวิทยาลัยพะเยาทำงานวิจัยด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดพะเยา และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ทำวิจัยด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดน่าน จึงมองเห็นโอกาสในการสร้างความร่วมมือเพื่อสร้างสรรค์การท่องเที่ยวให้ชุมชนที่อยู่ระหว่างเส้นทางนี้ได้อย่างต่อเนื่องกัน ส่งผลให้เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจใหม่ แหล่งท่องเที่ยวใหม่ และการกระจายรายได้ที่ถึงชุมชนมากขึ้น
ศ.ดร.เสมอ ถาน้อย รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยพะเยา กล่าวถึงศักยภาพของ “โครงการความร่วมมือการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เส้นทาง ยอด-ภูลังกา” การสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางการวิจัยที่จะเปิดประสบการณ์การท่องเที่ยวแห่งใหม่ในเขตพื้นที่ตำบลยอด อำเภอสองแคว จังหวัดน่าน ไปจนถึง ภูลังกา ตำบลผาช้างน้อย อำเภอปง จังหวัดพะเยา ซึ่งเป็นพื้นที่รอยต่อที่สำคัญที่นำมาสู่ความร่วมมือทางการวิจัยเพื่อพัฒนาศักยภาพของชุมชนและกลไกความร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการนำเสนอทรัพยากรและวัฒนธรรมที่โดดเด่นในพื้นที่ให้สืบสานและคงอยู่กับชุมชนต่อไป
“โครงการความร่วมมือการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เส้นทาง ยอด-ภูลังกา” ได้รับการพัฒนาด้วยความร่วมมือทั้งสองมหาวิทยาลัย นำทีมโดย รศ.ดร.พรรณี ชีวินศิริวัฒน์ ผู้ช่วยอธิการบดี ด้านการวิจัย จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ รศ.ดร. ผณินทรา ธีรานนท์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม จากมหาวิทยาลัยพะเยา ภายหลังพิธีลงนามได้มีการจัดงานเสวนา “Creative Tourism Forum”เพื่อเป็นการเปิดเวทีการระดมความคิดเห็นในการสร้างสรรค์โจทย์งานวิจัยด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ “ยอด-ภูลังกา” โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความสามารถมาร่วมให้แนวทางการพัฒนาชุมชนท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ได้แก่ Dr. Chang Tou Chuang อาจารย์ประจำภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนานาชาติแห่งสิงค์โปร์ (NUS National University of Singapore) บรรยายในหัวข้อ “Creative Tourism in Asia: A Critical Perspective” และการบรรยายหัวข้อ“การประยุกต์ใช้การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาพื้นที่ยอดภูลังกา” โดย อ.ดร.นิรมล พรมนิล สาขาวิชาการท่องเที่ยว คณะบริหารธุรกิจและนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ร่วมกับ อ.ดร.ชนิตา ดวงยิหวา Chula Creative Tourism Academy และภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ
(ข้อมูลจากสำนักบริหารวิจัย จุฬาฯ)
นิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ และคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศจากการแข่งขัน Spark the Local 2024 by PTT
บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ เปิดอบรมหลักสูตร “เครื่องมือการจัดการสิ่งแวดล้อม”
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ต้อนรับผู้แทนจาก Indiana University สหรัฐอเมริกา เจรจาแนวทางความร่วมมือทางวิชาการ
ศศินทร์จัด Open House แนะนำหลักสูตรต่างๆ วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2567
30 พ.ย. 67 เวลา 10.00 น.
ศศินทร์ จุฬาฯ
เชิญฟังการบรรยาย Chula Lunch Talk หัวข้อ “Smart VET-Learning: นวัตกรรม AR สู่การศึกษาสัตวแพทย์ยุคดิจิทัล”
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมสองกิจกรรมโครงการ “เล่นเพลินสำหรับเด็กปฐมวัย” “นิทานฟังเพลิน” และ “Happy Play Day”
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้