รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
2 มีนาคม 2566
ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ, งานวิจัยและนวัตกรรม
ผู้เขียน สุรเดช พันธุ์ลี
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เยี่ยมชมความก้าวหน้าของงานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมฮาลาล ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ศวฮ.) หน่วยงานที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นสถาบันด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาลแห่งแรกในโลก ซึ่งเป็นต้นแบบให้เกิดการพัฒนางานด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาลในหลายประเทศมุสลิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคอาเซียนซึ่งมีการแข่งขันสูงด้านการส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารและการเกษตรสู่กลุ่มประเทศมุสลิมที่เป็นสมาชิกองค์การความร่วมมืออิสลามหรือโอไอซี เนื่องจากประเทศไทยมิใช่ประเทศมุสลิม สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จึงเสนอแนวทางลดความเสียเปรียบต่อประเทศสมาชิกอาเซียนที่เป็นมุสลิมด้วยการสร้างความเชื่อมั่นด้านการรับรองฮาลาลของประเทศไทยโดยใช้ศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาลที่พัฒนาขึ้นก่อนหน้านั้นในคณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อันเป็นที่มาของการสนับสนุนงบประมาณจัดตั้ง “ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” ในปี 2546
ตลอดระยะเวลาร่วม 20 ปีที่ผ่านมา ศวฮ. ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลทุกชุดในการพัฒนางานสาขาต่างๆ ทางวิทยาศาสตร์ฮาลาล กระทั่งได้รับรางวัลระดับชาติและระดับนานาชาติมากมาย พัฒนาผลงานวิจัยและนวัตกรรมขึ้นมากกว่า 150 ชิ้น พร้อมนำเสนอ “วิทยาศาสตร์ฮาลาล พลังละมุนแห่งผลิตภัณฑ์และบริการฮาลาลประเทศไทย”
ในการนี้ ผู้แทนอธิการบดี ศ.ดร.จักรพันธ์ สุทธิรัตน์ รองอธิการบดี ด้านการวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ พล.ต.ต.สุรินทร์ ปาลาเร่ เลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย กล่าวต้อนรับและรายงานการสนับสนุนวิทยาศาสตร์ฮาลาลประเทศไทย จากนั้น รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการ ศวฮ. กล่าวรายงานต่อนายกรัฐมนตรี สรุปได้ว่า ในปี 2558 และ ปี 2562 รัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้ ศวฮ.พัฒนางานด้านดิจิทัลเทคโนโลยี ได้แก่ งานพัฒนา Thailand Diamond Halal และ Halal Blockchain เพื่อความสะดวกของผู้บริโภคมุสลิมในประเทศและต่างประเทศในการทวนสอบย้อนกลับผลิตภัณฑ์ฮาลาลที่ผลิตจากประเทศไทย โดยขณะนี้ ศวฮ. อยู่ในขั้นตอนการพัฒนาแพลตฟอร์มภายใต้ชื่อ Thailand Diamond Halal Blockchain 4.0 นำเสนอต่อทีมงานนายกรัฐมนตรี นอกจากนี้ยังพัฒนานวัตกรรมด้าน Halal Plant-Based Products, Halal Herbal Metabolomic Bioactives, Halal Molecular Sensory Substances รวมถึงการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพรมูลค่าสูงสำหรับตลาดมุสลิม ซึ่งจะเป็นโอกาสในการส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาลมูลค่าสูงจากประเทศไทยที่มีอนาคตสดใส ซาอุดีอาระเบียที่เริ่มพัฒนาความสัมพันธ์อันเป็นปกติกับประเทศไทยภายใต้การดำเนินการของรัฐบาลชุดนี้ ให้ความเชื่อมั่นด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์ฮาลาลจากประเทศไทย ซึ่งเป็นผลจากความมั่นใจในความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาลที่พัฒนาขึ้นโดย ศวฮ.
นอกเหนือจากผลงานพัฒนานวัตกรรมใหม่ และพัฒนาระบบการมาตรฐานฮาลาล HAL-Q (Halal Assurance Liability-Quality System) ซึ่งได้นำไปวางระบบในสถานประกอบการ 1,112 แห่งทั่วประเทศ (ระดับโรงงานอุตสาหกรรม 453 แห่ง ร้านอาหาร/ภัตตาคาร 659 แห่ง) ครอบคลุมคนงาน 158,823 คน แล้ว ศวฮ. ยังพัฒนาระบบฐานข้อมูลสารเคมีฮาลาลที่เรียกว่า H number เพื่อความสะดวกของภาคอุตสาหกรรม ช่วยให้เกิดความได้เปรียบด้านการแข่งขันในตลาดอาหารฮาลาลที่มีอยู่สูง นอกจากนี้ ศวฮ. ได้พัฒนาห้องปฏิบัติการนิติวิทยาศาสตร์ฮาลาล (Halal Forensic Science Laboratory, HAFOLAB) ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 17025:2017 และ ISO 9001:2015 ในทุกงานบริการ เพื่อประกันคุณภาพของงานวิเคราะห์ความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์และคุ้มครองผู้บริโภค โดยพัฒนาเทคนิควิธีการตรวจสอบสิ่งหะรอมและตรวจวิเคราะห์วัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมอาหารได้มากถึง 188,731 การวิเคราะห์ ทำหน้าที่เผยแพร่องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาล โดยทำการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการแก่นักวิทยาศาสตร์นานาชาติจาก 24 ประเทศจำนวน 118 คน และอบรมเชิงปฏิบัติการแก่นิสิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศไทยจำนวน 271 คน
รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการ ศวฮ. กล่าวเสริมว่าหากแพลตฟอร์มด้าน Thailand Diamond Halal Blockchain 4.0 ประสบผลสำเร็จ ผู้บริโภคจะมีความสะดวกในการทวนสอบย้อนกลับสภาพฮาลาล ของแต่ละผลิตภัณฑ์ที่เข้าร่วมโครงการ ภารกิจที่ ศวฮ. ได้ดำเนินการมีวัตถุประสงค์ให้ประเทศไทยได้รับประโยชน์ภายใต้สโลแกน “วิทยาศาสตร์ฮาลาล พลังละมุนแห่งผลิตภัณฑ์และบริการฮาลาลประเทศไทย”
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวแสดงความชื่นชมและยินดีในโอกาสมาเยี่ยมชมศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมกล่าวว่ารัฐบาลเล็งเห็นถึงความตั้งใจในการพัฒนาศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ ให้เป็นแหล่งศึกษาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมฮาลาลซึ่งเป็นที่น่าภาคภูมิใจสำหรับคนไทยและประเทศไทย ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ มีบทบาทสำคัญในการสร้างประโยชน์ต่อภาคเศรษฐกิจของประเทศ ส่งผลให้สินค้าฮาลาลของไทยมีมาตรฐานในระดับสากล สามารถแข่งขันกับนานาประเทศได้ แม้ประเทศไทยจะโดดเด่นด้านเกษตรกรรม ในขณะเดียวกันก็จำเป็นต้องเพิ่มรายได้ทางอุตสาหกรรมควบคู่ไปด้วย ต้องพัฒนางานการสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ผลิตภัณฑ์อาหารและสามารถขยายตลาดอาหารฮาลาลสู่ตลาดโลกได้ เพราะอาหารเป็นหนึ่งใน soft power ที่ต้องร่วมมือกันขับเคลื่อนไปให้ได้ แม้จะมีอุปสรรคก็ต้องแสวงหาแนวทางในการแก้ปัญหา นอกจากนี้ รัฐบาลยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้านการเกษตรทั้งพืชและปศุสัตว์ เชื่อมโยงการพัฒนาด้านฮาลาล และพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและเศรษฐกิจระดับบนให้มีความเข้มแข็ง
พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรียังได้ชื่นชมผลการดำเนินงานของศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ ขอให้มุ่งมั่นร่วมมือกันพัฒนาคิดค้นและวิจัยงานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมฮาลาลต่อไป ด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม ร่วมพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ๆ รวมทั้งการสร้างเครือข่ายภาคประชาสังคม ให้ความรู้ สร้างความเข้าใจแก่ผู้ประกอบการเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มกับผลผลิตและประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ฮาลาลสู่กระบวนการรับรองผลิตภัณฑ์ฮาลาลที่ได้มาตรฐานตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค ช่วยส่งเสริมมูลค่าทางเศรษฐกิจ เพิ่มโอกาสและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในตลาดฮาลาลโลก และร่วมกันพลิกบทบาทนวัตกรรมวิทยาศาสตร์ฮาลาลไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติต่อไป
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรียังได้เยี่ยมชมห้องปฏิบัติการวิจัยต่างๆ ของ ศวฮ. อาทิ ห้องปฏิบัติการวิจัยชีววิทยาโมเลกุล ห้องปฏิบัติการวิจัยและนวัตกรรมวิทยาศาสตร์ฮาลาล ตันสรี ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ และห้องปฏิบัติการวิจัยชีวเคมีโภชนาการ ซึ่งเป็นห้องวิจัยทดสอบนวัตกรรมใหม่ๆ ด้านอาหาร โภชนาการ และคอสเมติก รวมถึงเยี่ยมชมนิทรรศการงานวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ฮาลาลต่างๆ เช่น นวัตกรรมไข่จากพืช ผลิตภัณฑ์เส้นปลาจากปลาทับทิมเสริมคุณค่าทางอาหารด้วยสมุนไพรไทย การพัฒนาคัสตาร์ดมันหวานญี่ปุ่นเสริมสารห่อหุ้มจากน้ำมันสมุนไพร พร้อมเยี่ยมชมระบบการมาตรฐานฮาลาล HAL-Q และผลงานวิจัยนวัตกรรมภายใต้การดำเนินงานของ ศวฮ. ที่นำไปสู่การพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์และทรัพย์สินทางปัญญา เช่น ครีมกันแดด อาหารเสริม สบู่เหลว เป็นต้น
สามารถติดตามข่าวสารได้ทาง https://halalscience.org/ และทางฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ โทร 0-2218-1054 ต่อ 401, 403 โทรสาร 0-2218-1105
เทศกาลความสนุกส่งท้ายปี “Siam Street BIG RETURN 2024” 20-22 ธันวาคมนี้ที่สยามสแควร์ ชมฟรีตลอดงาน
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ จัดงานประกาศผลมูลค่าแบรนด์องค์กร ASEAN and Thailand’s Top Corporate Brands 2024 มอบรางวัลสุดยอดแบรนด์องค์กรและรางวัลหอเกียรติยศ
ผศ.ทพ.ดร.ศุภชัย ชื่นจิตรวงษา ผู้ช่วยอธิการบดี จุฬาฯ ได้รับยกย่องเป็นทันตแพทย์ดีเด่น ด้านพัฒนาวิชาชีพ
จุฬาฯ จัดงาน “Chula Townhall” เปิดวิสัยทัศน์พัฒนามหาวิทยาลัยรอบทิศโดยมีนิสิตเป็นศูนย์กลาง พร้อมส่งความสุขปีใหม่ให้ชาวจุฬาฯ
จุฬาฯ เสริมสร้างศักยภาพด้านการบริหารจัดการแก่ผู้บริหาร หลักสูตร The Leader Prospects รุ่นที่ 14
เชิญชวนชาวจุฬาฯ เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาภายในของบุคลากรจุฬาฯ ครั้งที่ 45 ประจำปี 2568
27 มกราคม – 7 มีนาคม 2568
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้