ข่าวสารจุฬาฯ

นิสิตจุฬาฯ ปลูกป่าที่น่าน ครั้งที่ 6 โครงการจุฬาฯ สามัคคี ฟื้นฟูระบบนิเวศและพื้นที่สีเขียวอย่างยั่งยืน

นิสิตจุฬาฯ ร่วมใจปลูกป่าที่ จ.น่าน ครั้งที่ 6 ภายใต้โครงการจุฬาฯ สามัคคี ฟื้นฟูระบบนิเวศและพื้นที่สีเขียวอย่างยั่งยืน จ.น่าน เมื่อวันที่  17 – 20 กุมภาพันธ์ 2566 ณ พื้นที่สถานีวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีไหล่น่าน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต.ไหล่น่าน อ.เวียงสา จ.น่าน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดต่อเนื่องจากโครงการจุฬาฯ สามัคคี ฟื้นฟูระบบนิเวศและพื้นที่สีเขียวอย่างยั่งยืน จ.น่านทั้ง 5 ครั้งที่ผ่านมา

ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.chula.ac.th/news/105696/

โครงการจุฬาฯ สามัคคี ฟื้นฟูระบบนิเวศและพื้นที่สีเขียวอย่างยั่งยืน จ.น่าน ครั้งที่ 6 มีนิสิตเข้าร่วมโครงการจำนวน 74 คน ประกอบด้วยนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาจากคณะพยาบาลศาสตร์ 28 คน (เป็นนิสิตต่างชาติปริญญาเอก 8 คน นิสิตแลกเปลี่ยนจากญี่ปุ่น 1 คน) นิสิตสำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร 8 คน และเครือข่ายกิจการนิสิต 38 คน มีการปลูกต้นยางนา ยางเหียน เต็ง รวมทั้งสิ้น 300 ต้น

การปลูกป่าเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศและพื้นที่สีเขียวอย่างยั่งยืนที่ จ.น่านในครั้งนี้ เป็นการปลูกป่าโดยใช้ 3 วิธีการคือ 1.การใช้กล้าไม้ที่มีราเอคโตไมคอร์ไรซา ซึ่งส่งเสริมการเจริญเติบโตและเพิ่มอัตราการรอดของต้นไม้ โดยราเอคโตไมคอร์ไรซาจะสร้างดอกเห็ด สามารถนำไปบริโภคและเป็นแหล่งรายได้ของชาวบ้าน 2.ใช้ไบโอพอลิเมอร์ชีวภาพ (Biopolymer) ช่วยในการอุ้มน้ำ ชะลอการระเหยของน้ำพอลิเมอร์ชีวภาพที่ผสมกับดินที่ใช้ปลูก จะช่วยอุ้มน้ำเพื่อชะลอการไหลและช่วยเก็บรักษาน้ำ แร่ธาตุและสารอาหารไว้ในบริเวณที่มีการปลูกต้นไม้ 3.การปลูกป่าไล่ระดับ และการปลูกป่าแบบมิยาวากิ (Miyawaki Method) ซึ่งคิดค้นโดย Prof.Dr.Akira Miyawaki ทำให้สภาพป่าฟื้นตัวได้เร็วกว่าการปลูกแบบดั้งเดิม

การปลูกต้นไม้ให้อะไรมากกว่าที่คิด เป็นที่ทราบกันดีว่าต้นไม้ช่วยผลิตออกซิเจน ประโยชน์ของต้นไม้ยังช่วยดักจับฝุ่นและมลพิษในอากาศ ช่วยดูดซับความร้อนจากบรรยากาศและช่วยให้อุณหภูมิลดลง นอกจากนี้ต้นไม้ยังมีศักยภาพในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อีกด้วย

โครงการปลูกป่าโดยนิสิตจุฬาฯ ณ พื้นที่สถานีวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีไหล่น่าน จุฬาฯ ต.ไหล่น่าน อ.เวียงสา จ.น่าน ในครั้งนี้จึงเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ปลูกจิตสำนึกของนิสิตจุฬาฯ ในการบำเพ็ญประโยชน์ เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศของป่าในจังหวัดน่านซึ่งประสบปัญหาป่าเสื่อมโทรม ซึ่งจะมีส่วนช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้ป่าน่านอุดมสมบูรณ์และสร้างความยั่งยืนสืบไป

จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด

คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า