รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
26 มิถุนายน 2561
ข่าวเด่น, งานวิจัยและนวัตกรรม
“ใบกะเพรา – สวิมมิงแคร์” เจลป้องกันผิวฟันจากกรดคลอรีน ลดการเสียวฟันและการทำลายเคลือบฟันขณะว่ายน้ำ ผลิตภัณฑ์จากผลงานวิจัยของคณาจารย์จุฬาฯ 8 ท่าน จาก 4 คณะที่ทำงานวิจัยร่วมกันภายใต้ชื่อ 4Ds projects ช่วยบรรเทาปัญหาอาการเสียวฟันที่เกิดจากคลอรีนสำหรับผู้ที่ว่ายน้ำในสระว่ายน้ำได้ผลเป็นอย่างดี ผลงานวิจัยนี้ได้รับรางวัลชนะเลิศ Life Science Startup Showcase Pitch & Partner 2018 ในงาน Startup Thailand 2018 เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
ศ.ทพ.ดร.พสุธา ธัญญะกิจไพศาล ผู้อำนวยการหลักสูตรสหสาขาวิชาทันต ชีววัสดุศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ และอาจารย์คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัย “ใบกะเพรา – สวิมมิงแคร์” เผยถึงที่มาของผลิตภัณฑ์ดังกล่าวว่าได้รับแรงบันดาลใจจากลูกสาวของตนที่ชื่อ “ใบกะเพรา” ซึ่งฝันอยากเป็นนักกีฬาว่ายน้ำทีมชาติ จึงได้ไปเรียนว่ายน้ำแทบทุกวันที่สระว่ายน้ำซึ่งมีปริมาณคลอรีนค่อนข้างสูงเพื่อใช้ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ผลที่ตามมาคือมีอาการเสียวฟันหลังการว่ายน้ำ ซึ่งปัญหานี้เกิดกับนักกีฬาว่ายน้ำทั่วไป ที่ผ่านมาการรักษาอาการเสียวฟันจะรักษาตามอาการด้วยการอุดฟัน เมื่อเป็นมากๆ ฟันจะเกิดเป็นจุดขาวๆ ด่างๆ บางคนมีฟันเป็นสีเหลืองไม่สวยงาม การป้องกันไม่ให้เกิดอาการเสียวฟันน่าจะดีกว่าการรักษา เพราะฟันที่สูญเสียไปแล้วโอกาสจะกลับคืนมาได้ยาก “ใบกะเพรา – สวิมมิงแคร์” จึงเป็นคำตอบที่ช่วยแก้ปัญหานี้ได้ โดยนำชื่อของลูกสาวซึ่งทำให้เกิดงานวิจัยเรื่องนี้มาตั้งเป็นชื่อผลิตภัณฑ์
“การทำงานวิจัยเริ่มจากการอ่านผลงานวิชาการทั้งของไทยและต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับอาการเสียวฟันหลังจากการว่ายน้ำ และมีการวัดระดับคลอรีนในสระว่ายน้ำต่างๆ จากนั้นจึงพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ในรูปของเจลเพื่อป้องกันไม่ให้ฟันถูกทำลายจากคลอรีน โดยทีมวิจัยมีทั้งทันตแพทย์ นักเคมี นักวัสดุศาสตร์ สัตวแพทย์ มาทำงานร่วมกันในลักษณะสหสาขาวิชา โดยอาศัยความรู้ความเชี่ยวชาญของอาจารย์ในสาขาต่างๆ ใช้เวลาในการทำวิจัยกว่า 2 ปี ในการทำงานมีการลองผิดลองถูก ค่อยๆ แก้เหมือนจิ๊กซอว์ จนได้ผลิตภัณฑ์นี้ขึ้นมา” ศ.ทพ.ดร.พสุธา กล่าว
ศ.ทพ.ดร.พสุธา เผยถึงวิธีใช้เจลดังกล่าวว่าสามารถใช้ง่าย เพียงใส่เจลเข้าไปทั้งด้านบนบนและด้านล่างของ Mouthguard ที่ทำเฉพาะบุคคลก่อนลงสระว่ายน้ำ จากการทดลองในกลุ่มเด็กที่ว่ายน้ำในสระว่ายน้ำพบว่าได้ผลเป็นอย่างดี ทำให้ฟันไม่กร่อนและไม่สูญเสียแคลเซียม ระยะเวลาในการใช้ผลิตภัณฑ์นี้เพียง 1 สัปดาห์ก็เห็นผล ทำให้เสียวฟันน้อยลง สามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ ส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการทางร่างกายที่สมบูรณ์
ทญ.นงลักษณ์ ธัญญะกิจไพศาล นักวิจัยในหลักสูตรสหสาขาวิชาทันตชีววัสดุศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ กล่าวเสริมว่า องค์ประกอบสำคัญของเจลป้องกันผิวฟันจากกรดคลอรีน ได้แก่ CPA complex (Calcium Phosphate Acemannan complex) เนื่องจากฟันที่สูญเสียแคลเซียม จึงต้องใส่แคลเซียมเข้าไปเพื่อให้เกิดความสมดุล ปัจจุบันเจล ”ใบกะเพรา – สวิมมิงแคร์” อยู่ในรูปกระปุกขนาด 50 กรัม สามารถใช้ได้ 40 – 50 ครั้ง ในอนาคตจะพัฒนาผลิตภัณฑ์ดังกล่าวโดยจัดทำบรรจุภัณฑ์ใหม่ในลักษณะเป็นหลอด เพื่อความสะดวกในการใช้งาน และมีโครงการจะจดสิทธิบัตรต่อไป
ทีมนักวิจัย 4Ds projects ประกอบด้วย ศ.ทพ.ดร.พสุธา ธัญญะกิจไพศาล คณะทันตแพทยศาสตร์ หัวหน้าโครงการฯ ศ.ดร.พลกฤษณ์ แสงวณิช ผศ.ดร.ศิริธันว์ เจียมศิริเลิศ ผศ.ดร.ดุจฤทัย พงษ์เก่า คะชิมา รศ.อรอุษา สรวารี คณะวิทยาศาสตร์ รศ.ภญ.ดร.ร.ต.อ.หญิง สุชาดา สุขหร่อง ผศ.ภก.ดร.วรสิทธิ์ วงศ์สุทธิเลิศ คณะเภสัชศาสตร์ รศ.น.สพ.ดร.วิจิตร บรรลุนารา คณะสัตวแพทยศาสตร์
ก่อนหน้านี้ทีมนักวิจัย 4Ds projects ประสบความสำเร็จในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เคลือบหลุมร่องฟันและวัสดุรองพื้นฟัน โดยได้รับสองรางวัลชนะเลิศจากงาน SCG Exclusive Pitching Night และงาน Sprint Thailand First Specialized Accelerator for Science and Technology จัดโดยสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ฯ นอกจากนี้ยังมีการนำผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไปใช้ในคลินิกและโรงพยาบาลต่างๆ
จุฬาฯ จัดปฐมนิเทศอาจารย์ใหม่และนักวิจัยใหม่ หลักสูตร “พัฒนาศักยภาพอาจารย์ใหม่และนักวิจัยใหม่” รุ่นที่ 30
คณะศิลปกรรมศาสตร์จุฬาฯ กับงาน Night Museum at Chula
อาจารย์ นักวิจัยจุฬาฯ ได้รับรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2568 : นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ผลงานวิจัย วิทยานิพนธ์ ผลงานประดิษฐ์คิดค้น
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ จัดเทศกาล “มอบหนังสือเป็นสื่อแทนใจ”ชวนมอบหนังสือเป็นของขวัญปีใหม่
อธิการบดีจุฬาฯ มอบพระบรมรูปจำลองสองรัชกาล แก่ผู้บริจาคเงิน “จุฬาฯ ช่วยกาชาด บรรเทาทุกข์ 1,000 บาท 1 ถุงยังชีพ”
หน่วยบริการแบบเบ็ดเสร็จจุดเดียว (One-Stop Service) สำหรับนิสิตและบุคลากรชาวต่างชาติ จุฬาฯ
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้