รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
9 มีนาคม 2566
ข่าวเด่น
ผู้เขียน สุรเดช พันธุ์ลี
คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเปิดให้บริการ “ศูนย์เอ็มเน็ต” (MNET Center) ให้คำปรึกษาด้านโภชนาการและการออกกำลังกายทางการแพทย์ โดยผู้เชี่ยวชาญจาก 4 สหสาขาวิชาในคณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ เปิดให้บริการทุกวันจันทร์ พุธ ศุกร์ เวลา 16.30 – 19.30 น. ที่ชั้น 15 อาคารจุฬาพัฒน์ 14 ด้วยระบบนัดหมายล่วงหน้า
“ศูนย์เอ็มเน็ต” (Medical Nutrition and Exercise Therapy) หรือศูนย์บำบัดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังด้วยโภชนาการและการออกกำลังกายทางการแพทย์ มุ่งเน้นให้คำปรึกษาผู้เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (โรค NCDs) เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน รวมถึงผู้สูงอายุที่ต้องการเตรียมตัวให้เข้าสู่สังคมสูงวัย โดยศูนย์จะให้คำแนะนำแนวทางการรับประทานอาหารเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ออกแบบโปรแกรมการออกกำลังกาย หรือให้คำปรึกษาอื่นๆ ด้านโภชนาการและการออกกำลังกายแบบเฉพาะบุคคล
ผู้สนใจเข้ารับบริการสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมและลงทะเบียนได้ที่ https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSfXUkGT757atiHtD7GMOXke-UY2KD0_NtCDIeqqumaomiYFIA/viewform
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร. 0-2218-1573 ในเวลาทำการ จันทร์ พุธ ศุกร์ เวลา 16.30 -19.00 น. หรือนอกเวลาทำการ โทร.09-8514-7888 วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 – 16.00 น. หรือ Facebook Page: MNET Center ศูนย์บำบัดโรค NCDs ด้วยโภชนาการและการออกกำลังกายทางการแพทย์
รศ.สมนึก กุลสถิตพร หัวหน้าศูนย์บำบัดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังด้วยโภชนาการและการออกกำลังกายทางการแพทย์ (เอ็มเน็ต) คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยถึงวัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง “ศูนย์เอ็มเน็ต” ว่าศูนย์นี้จะให้บริการทางวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับทางด้านสหเวชศาสตร์ ตลอดจนใช้ในการเรียนการสอนนิสิต และการวิจัยของคณาจารย์ เป็นการบูรณาการความรู้ทางสหเวชศาสตร์เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้รับบริการในกลุ่มของโรค NCDs หรือโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งมีเป็นจำนวนมากในปัจจุบัน จำเป็นต้องใช้ศาสตร์ทางด้านสหเวชศาสตร์เข้ามาช่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องอาหาร การออกกำลังกาย การตรวจเลือด
รศ.สมนึกกล่าวย้ำว่า ศูนย์ “เอ็มเน็ต” เน้นที่คุณภาพการให้บริการมากกว่าจำนวนผู้รับบริการ การให้บริการภายในศูนย์เน้นสองส่วนหลักๆ คือการให้คำปรึกษาทางโภชนาการและการออกกำลังกายแก่ผู้รับบริการทั้งในกลุ่มผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ผู้ที่มีความเสี่ยงจะเป็นโรคในกลุ่มนี้ และกลุ่มผู้สูงอายุที่ประสบปัญหาด้านความสมดุลร่างกาย โดยจะมีการทดสอบสมรรถภาพร่างกายและนำผลมาออกแบบโปรแกรมออกกำลังกายที่เหมาะสมกับสภาพร่างกาย “ศูนย์เอ็มเน็ต” ยังเสริมการทำงานกับคลินิกกายภาพบำบัด และคลินิกเทคนิคการแพทย์ที่ให้บริการตรวจเลือดของคณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ อีกด้วย
ผู้ที่ใช้บริการจะต้องมาที่ศูนย์เอ็มเน็ตรวมทั้งสิ้น 6 ครั้ง ครั้งแรกเป็นการทดสอบสมรรถภาพทางร่างกายและศึกษาข้อมูลประวัติต่างๆ ครั้งที่ 2 เป็นการนำผลจากการทดสอบครั้งแรกมาวางแผนและตั้งเป้าหมายการออกกำลังกาย ครั้งที่ 3 – 6 เป็นการติดตามทางด้านโภชนาการ และการฝึกออกกำลังกายจริง
รศ.สมนึก กล่าวเพิ่มเติมว่าทางศูนย์มีแผนในการให้คำปรึกษาทางไกลผ่านระบบออนไลน์สำหรับผู้ที่ติดภารกิจไม่สามารถเดินทางมายังศูนย์ได้ และการให้คำปรึกษาผ่านระบบไลน์ แผนงานในอนาคตจะมีการตรวจเป็น package โดยร่วมมือกับคณาจารย์ทางด้านรังสีเทคนิคและเทคนิคการแพทย์ในการดูแลให้คำปรึกษาผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน ซึ่งต้องมีการตรวจเลือด ตรวจมวลกระดูก วางแผนเรื่องการทานอาหาร การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มมวลกระดูก
“เรื่องของสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในชีวิต ถ้าเราให้ความสำคัญกับสุขภาพน้อยกว่าการหารายได้ เมื่อสุขภาพของเราแย่ เงินมหาศาลก็ไม่สามารถช่วยได้ เราอาจต้องใช้เงินที่เก็บมาทั้งชีวิตไปกับการดูแลรักษาตนเอง ถ้าเรารักษาสุขภาพของเราให้ดีอย่างต่อเนื่องไปจนถึงบั้นปลายชีวิต เราก็อาจไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาอาการเจ็บป่วยในอนาคต” รศ.สมนึก กล่าวในที่สุด
ผศ.ดร.ทิพยเนตร อริยปิติพันธ์ อดีตหัวหน้าภาควิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ ในฐานะผู้ก่อตั้งศูนย์เอ็มเน็ต เปิดเผยว่า ศูนย์นี้เป็นหน่วยงานให้บริการที่แปรจากงานวิจัยมาทำหน้าที่ช่วยเหลือสังคม รวมทั้งมีส่วนสนับสนุนในเรื่องการเรียนการสอนให้นิสิตได้ฝึกปฏิบัติจริง ภายในศูนย์มีคณาจารย์ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญมาให้คำปรึกษาแก่ผู้รับบริการเพื่อปรับพฤติกรรม สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติที่ต่อเนื่องได้อย่างเหมาะสมด้วยตนเอง
“อยากให้ผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) รวมถึงผู้ที่เป็นโรคในกลุ่มนี้เข้ามาใช้บริการที่ศูนย์เอ็มเน็ต ขอให้ตั้งใจปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างจริงจัง ซึ่งจะช่วยชะลอการเกิดโรค ช่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น” ผศ.ดร.ทิพยเนตร แนะนำ
อ.ดร.แพรว จันทรศิลปิน ภาควิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งให้คำปรึกษาทางโภชนาการที่ศูนย์เอ็มเน็ต เผยถึงจุดเด่นของศูนย์เอ็มเน็ตว่าเป็นการบูรณาการของศาสตร์ทั้ง 4 สาขาของคณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ ได้แก่ นักกำหนดอาหาร นักกายภาพบำบัด นักเทคนิคการแพทย์ และนักรังสีเทคนิค รวมทั้งให้ความช่วยเหลือผู้รับบริการอย่างต่อเนื่องโดยการติดตามในเชิงพฤติกรรมในผู้ป่วยที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เพื่อการดูแลตนเองได้ดียิ่งขึ้น
รศ.ดร.อนงค์ ตันติสุวัฒน์ อาจารย์ภาควิชากายภาพบำบัด คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งร่วมให้คำแนะนำเรื่องการออกกำลังกายแก่ผู้รับบริการที่ศูนย์เอ็มเน็ต กล่าวว่า ศูนย์นี้จะช่วยให้ผู้รับบริการได้นำความรู้และคำแนะนำไปปฏิบัติเพื่อปรับพฤติกรรมในการดูแลตนเอง ซึ่งจะช่วยในการป้องกันโรคและสนับสนุนการรักษาของแพทย์ได้ดียิ่งขึ้น ศูนย์เอ็มเน็ตจะเน้นการส่งเสริมสุขภาพให้ผู้รับบริการสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม เลือกรับประทานอาหารได้อย่างถูกต้อง เลือกการออกกำลังกายที่ช่วยให้สุขภาพดีขึ้น เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่ทำให้เกิดโรคร้ายแรง
ผศ.ภูษิตา บริสุทธิกุล ภาควิชากายภาพบำบัด คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งทำงานวิจัยเกี่ยวกับผู้สูงอายุในเรื่องการออกกำลังกายแบบโยคะและได้นำมาใช้ในศูนย์นี้ด้วย กล่าวว่าการออกกำลังกายแบบโยคะจะช่วยให้ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น นอกจากนี้การออกกำลังกายแบบโยคะยังช่วยให้คนที่อยู่ในวัยทำงานที่ต้องนั่งนานๆ โดยไม่ได้ออกกำลังกายมีสมรรถภาพของปอดดีขึ้นอย่างชัดเจน
อัซรีย์ จิตต์ปราณี และกุลปริยา สมคำ นิสิตชั้นปีที่ 3 คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งรับหน้าที่ในการประชาสัมพันธ์ศูนย์เอ็มเน็ต โดยร่วมจัดทำเพจ Facebook: MNET Center ศูนย์บำบัดโรค NCDs ด้วยโภชนาการและการออกกำลังกายทางการแพทย์ เพื่อให้ข้อมูลและแนะนำการให้บริการต่างๆ ของศูนย์ในรูปของ Infographic รวมทั้งจัดทำแบบฟอร์มการลงทะเบียนใช้บริการ ทั้งสองรู้สึกดีใจและภูมิใจที่ได้มีส่วนช่วยงานในศูนย์นี้ อยากให้ศูนย์เอ็มเน็ตเป็นที่รู้จักซึ่งจะเป็นผลดีต่อผู้ใช้บริการในด้านการดูแลสุขภาพ
กิจกรรม CUVIP เดือนเมษายน “Future Science & Technology : วิทยาศาสตร์เพื่อวันข้างหน้า”
1 - 21 เม.ย. 68
เอกอัครราชทูตโรมาเนียและคณะ เยือนวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาฯ ส่งเสริมความร่วมมือไทย-โรมาเนียด้านวิชาการและอุตสาหกรรม
รศ.ดร.เบญจพร สุวรรณศิลป์ จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับมอบเหรียญที่ระลึกและประกาศเกียรติคุณ จาก University of South Florida
สถาปัตย์ จุฬาฯ จัดบรรยายพิเศษ “Digital Craft” เวทีความรู้ด้านออกแบบและสถาปัตยกรรมจากผู้เชี่ยวชาญระดับนานาชาติ
ช่อง 7HD จับมือจุฬาฯ เปิด “4 ซีรีส์ กีฬานักเรียน แชมป์กีฬา 7HD 2025” จุฬาฯ พร้อมสนับสนุนสร้างอนาคตครั้งสำคัญเพื่อเด็กไทย
เสวนา Chula the Impact ครั้งที่ 32 จุฬาฯ ระดมความรู้ข้ามศาสตร์ “ฝ่าวิกฤตแผ่นดินไหว” ชวนคิด ชวนถาม เตรียมพร้อมรับมือและฟื้นตัวจากภัยพิบัติ
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้