รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
13 มีนาคม 2566
ข่าวเด่น
ผู้เขียน ขนิษฐา จันทร์เจริญ
อาจารย์ศศินทร์ จุฬาฯ เสนอแนวคิดปรับเปลี่ยนมุมมองต่อผู้สูงวัยเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศ อายุและวัยไม่ใช่อุปสรรคในการทำงาน ผู้สูงวัยสุขภาพดีสามารถใช้ประสบการณ์ที่สั่งสมมาทั้งชีวิต ผันตัวเองเป็นจิตอาสาช่วยเหลือโครงการต่างๆ ได้
ข้อมูลจากองค์การสหประชาชาติคาดการณ์ว่าอีก 20 ปีข้างหน้า จำนวนผู้สูงวัยจะเพิ่มสัดส่วนขึ้นถึง 1 ใน 5 ของประชากรโลก ในส่วนของประเทศไทยในปี 2562 มีอัตราการเกิดลดต่ำลงเหลือเพียง 6.1 แสนคน ขณะที่จำนวนผู้สูงวัยวัยปลาย อายุ 80 ปีขึ้นไป เพิ่มเป็น 1.3 ล้านคนและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยพบว่าในปี 2565 ประเทศไทยจะเข้าสังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ โดยจะมีสัดส่วนประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป ในอัตราร้อยละ 20 ของจำนวนประชากรทั้งหมด และคาดว่าในปี 2576 จะเข้าสู่การเป็น “สังคมสูงวัยระดับสุดยอด” คือมีสัดส่วนประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปในอัตราร้อยละ 28 ของประชากรทั้งหมด ดังนั้นการให้ความสำคัญกับกลุ่มคนสูงวัยจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง
ผศ.ดร.ปิยะชาติ ภิรมย์สวัสดิ์ สาขาวิชาการเงิน สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยว่าอนาคตสังคมสูงวัยในประเทศไทยอาจจะไม่ได้น่าวิตกกังวลอย่างที่คาดการณ์กัน หากมีการเปลี่ยนมุมมองต่อผู้สูงวัยให้เป็นทรัพยากรที่ทรงคุณค่าของสังคม เพื่อที่จะช่วยการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมที่สร้างรายได้ด้วยเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม สนับสนุนให้ผู้สูงวัยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้สามารถก้าวข้ามอุปสรรคในการดูแลและเตรียมความพร้อมทางด้านสุขภาพของตัวเอง
การก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยของประเทศไทยสามารถสดใสได้มากกว่านี้และผู้สูงวัยจะเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศได้ด้วยสองแนวคิดใหม่ได้แก่ แนวคิดที่ 1 การปันผลทางประชากรระยะที่ 3 ซึ่งเป็นแนวคิดใหม่ที่องค์การสหประชาชาตินำเสนอขึ้นมาเพื่อเป็นแนวคิดสำคัญสำหรับการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่สังคมสูงวัย เราต้องมองว่าผู้สูงวัยสามารถเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าให้กับประเทศและอาจเป็นทรัพยากรหลักที่ขับเคลื่อนการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ และแนวคิดที่ 2 คือการสะกิดใจให้คนไทยเป็นผู้สูงวัยที่มีสุขภาพดี ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมาก แต่เป็นเรื่องที่ทำยากเนื่องจากทุกคนยังไม่เห็นความสำคัญในเรื่องนี้อย่างแท้จริง
ผศ.ดร.ปิยะชาติ กล่าวว่าหลายคนเวลามองเรื่องสังคมสูงวัยมักจะมองในเชิงลบ โดยมองว่าผู้สูงวัยเยอะจะทำให้ไม่มีคนทำงาน มีค่าใช้จ่ายทางสุขภาพเพิ่มสูงขึ้น ทางทีมวิจัยจึงได้นำเสนอแนวคิดการปันผลทางประชากรระยะที่ 3 เพื่อทำให้ผู้สูงวัยสามารถกลายเป็นพลังที่สามารถขับเคลื่อนการพัฒนาทางสังคมและเศรษฐกิจได้ซึ่งประกอบด้วย 3 แนวคิด ดังนี้
แนวคิดที่ 1 ต้องเปลี่ยนแนวคิดว่าผู้สูงวัยถึงแม้ร่างกายถดถอยลงตามอายุแต่ก็ไม่ใช่ปัญหาหรืออุปสรรคในการทำงาน จริงอยู่ว่ามีหลายอาชีพที่ต้องใช้ร่างกายในการทำงานแต่ก็มีหลายอาชีพที่อาศัยทักษะอื่นในการทำงาน ซึ่งหลายทักษะนั้นก็ได้พัฒนาเพิ่มขึ้นตามอายุของการทำงาน ไม่ใช่ทุกงานที่จะต้องพึ่งร่างกายอย่างเดียว ยังมีงานอีกหลายงานที่ยังสามารถพึ่งผู้สูงวัยได้อยู่
แนวคิดที่ 2 เทคโนโลยีสามารถจะเป็นตัวช่วยสำคัญที่จะทำให้อุปสรรคหรือขีดจำกัดในการทำงานของผู้สูงวัยหายไป เช่น การใช้ระบบ Zoom ก็จะช่วยลดปัญหาในการเดินทางไปทำงานของผู้สูงวัยได้ นอกจากนี้เทคโนโลยี automation technology ไม่ว่าจะเป็นหุ่นยนต์ AI แม้กระทั่งระบบ 5G 6G ก็สามารถเข้ามาช่วยลดอุปสรรค ความลำบากทางด้านร่างกายและความคิดในการทำงานของผู้สูงวัยได้
แนวคิดที่ 3 ผู้สูงวัยที่มีสุขภาพดีสามารถใช้ประสบการณ์ที่สั่งสมจากการทำงานมาทั้งชีวิตผันตัวเองมาเป็นจิตอาสาช่วยเหลือโครงการต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ได้เป็นอย่างดี
ผศ.ดร.ปิยะชาติกล่าวย้ำว่าการทำให้ประชากรสูงวัยในอนาคตมีสุขภาพดีเป็นสิ่งที่ทุกคนและทุกภาคส่วนจะต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับหนึ่ง ผู้สูงวัยที่มีความรู้มีความสามารถ มีสุขภาพที่ดีจะสามารถช่วยลูกหลานและช่วยประเทศชาติได้ การช่วยเหลือสังคมของผู้สูงวัยอาจไม่จำเป็นต้องเป็นการทำงานแลกด้วยเงิน แต่เป็นการเข้าร่วมโครงการจิตอาสาต่างๆ ซึ่งสามารถสร้างคุณค่าได้อย่างมาก
นอกจากนี้แนวคิดการสะกิดใจให้คนไทยเป็นผู้สูงวัยที่มีสุขภาพดีจะเป็น “วิธีใหม่” ในการช่วยให้ประชากรสูงวัยในอนาคตมีสุขภาพดี สาเหตุสำคัญเป็นเพราะว่าหลายคนมักจะเชื่อว่าการ “บอก” หรือการให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ (ซึ่งเป็น “วิธีเก่า”) น่าจะเพียงพอในการจูงใจให้คนส่วนใหญ่ดูแลสุขภาพ แต่ในความเป็นจริงแล้ว แนวคิดนี้กลับไม่มีประสิทธิภาพในการจูงใจให้คนดูแลสุขภาพ เพราะอุปสรรคที่แท้จริงไม่ใช่ว่าไม่รู้ว่า แต่ “รู้ทั้งรู้” ว่าควรทำอะไร แต่ก็ทำไม่ได้ แนวคิดการสะกิดใจคือการทำความเข้าใจธรรมชาติและอุปสรรค (ทางความคิด) ที่แท้จริงที่ทำให้คนเราไม่สามารถเลือกสิ่งที่ควรเลือกได้ ซึ่งอุปสรรค (ทางความคิด) เหล่านี้อาจฟังดูเป็นเรื่องเล็ก ๆ แต่สิ่งเหล่านี้กลับมีความสำคัญอย่างมากต่อการตัดสินใจของคนเรา เช่น คนเรามักจะลืม หรือคนเรามักจะกลัวการเปลี่ยนแปลง ซึ่งถ้าเราใช้ความเข้าใจในอุปสรรค (ทางความคิด) เหล่านี้ในการออกแบบแนวทางการสะกิดใจ เช่น การมีอุปกรณ์ที่ช่วยเตือนให้เราทำในสิ่งที่เราควรทำ หรือการทำให้สิ่งที่ดี (เช่นอาหารที่ดีต่อสุขภาพ) เป็นทางเลือกตั้งต้น (ซึ่งคนเราก็มักจะกลัวหรือขี้เกียจเปลี่ยน) ก็จะสามารถช่วยสะกิดใจและแก้ปัญหาที่ต้นเหตุได้อย่างแท้จริง
“สังคมสูงวัยมาแน่ อยู่ที่ว่าเราจะทำให้สังคมสูงวัยเป็นพลังขับเคลื่อนประเทศได้ด้วยการสะกิดใจให้ทุกคนช่วยกันเดินไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง ก็อาจเปลี่ยนสังคมสูงวัยให้เป็นพลังของประเทศได้” ผศ.ดร.ปิยะชาติ กล่าวทิ้งท้าย
จุฬาฯ ได้รับเลือกเป็น 1 ใน 12 เครือข่ายพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคมแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ยกระดับขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พันธกิจสัมพันธ์เพื่อสังคมของจุฬาฯ
นิสิตเก่าศศินทร์ พลิกโฉมธุรกิจรับสร้างบ้าน เน้นนวัตกรรมเพื่ออยู่อาศัยอย่างยั่งยืน”
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกาศเจตนารมณ์ “No Gift Policy” มุ่งเสริมธรรมาภิบาล ต่อต้านการทุจริต
จุฬาฯ จับมือ ม.มหิดล “Together for Sustainable Tomorrow” ลงนามความร่วมมือทางวิชาการและจัดกิจกรรมเพื่อความยั่งยืน
สถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน จุฬาฯ ชวนร่วม โครงการ “Interactive Training and Gaming Simulation for Green Transition”
จุฬา และ สสว.ลงนามความร่วมมือทางวิชาการภายใต้โครงการ “One Click”นำ AI ยกระดับ SMEs เข้าถึงสินเชื่อสีเขียวในคลิกเดียว
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้