รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
16 มีนาคม 2566
ข่าวเด่น
ผู้เขียน ธิติรัตน์ สมบูรณ์
สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ร่วมกับศูนย์พหุวัฒนธรรมศึกษาและนวัตกรรมทางสังคม สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลและเผยแพร่เรื่องราวทางวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงกับมิติต่าง ๆ ในสังคมไทย โดยต่อยอดจากงานวิจัยสู่ละครส่งเสริมคุณค่าทางวัฒนธรรม พร้อมสอดแทรกสาระความรู้คู่ความบันเทิง เติมเต็มความสนุกครบทุกอรรถรสให้ได้รับชมทางไทยพีบีเอส
ศูนย์พหุวัฒนธรรมศึกษาและนวัตกรรมทางสังคม สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นศูนย์รวมองค์ความรู้ทางวิจัยและวิชาการด้านพหุวัฒนธรรมศึกษา รวมทั้งประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมต่าง ๆ ในสังคมไทยที่เชื่อมโยงในทุกมิติเพื่อรังสรรค์สร้างอัตลักษณ์งานวิจัยด้านวัฒนธรรมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อมุ่งเน้นในการสร้างมูลค่าให้กับวัฒนธรรมไทย และคุณค่าที่ซ่อนเร้นในสังคมพหุวัฒนธรรม โดยนำเสนอและเผยแพร่ผ่านสื่อและนวัตกรรมในรูปแบบต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับพฤติกรรมในการรับข่าวสารของคนในสังคม ต่อยอดด้วยกระบวนการทางความคิดใหม่ ๆ ให้เกิดผลผลิตที่ทันสมัยและตอบโจทย์สังคมไทยต่อไป
ความร่วมมือในครั้งนี้จึงนำไปสู่การจัดทำ “โครงการนวัตกรรมละครโทรทัศน์เพื่อการส่งเสริมอุตสาหกรรมวัฒนธรรม 4.0” โครงการวิจัยภายใต้ชุดโครงการนววิจัยทางศิลปวัฒนธรรม ที่ได้รับการสนับสนุนจากคลัสเตอร์ศิลปวัฒนธรรม กองทุนรัชดาภิเษกสมโภช จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศูนย์กลางนวัตกรรมทางสังคมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมบูรณาการการทำงานร่วมกับสายวิชาชีพด้านสื่อ ระหว่าง ผู้เขียนบทละคร และผู้ผลิตละคร เพื่อสร้างสรรค์เนื้อหาละครสั้นบนพื้นฐานการทำวิจัย จำนวน 4 เรื่อง ได้แก่ ผัดไทย (วัฒนธรรมอาหาร) มวยไทย (ศิลปะการต่อสู้) ย่านลิเภา (แฟชั่นไทย) และผีตาโขน (เทศกาล) เพื่อผลิตเป็นบทละครโทรทัศน์ที่มีทั้งสาระความรู้ทางวัฒนธรรมและอรรถรสในการรับชม
โดยไทยพีบีเอส ในฐานะที่เป็นสื่อสาธารณะแห่งแรกของประเทศไทย พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดัน Soft Power ในมิติศิลปวัฒนธรรมและความบันเทิง และพร้อมที่จะเผยแพร่ต่อยอดเรื่องราวส่งเสริมคุณค่าทางวัฒนธรรมทั้ง 3 เรื่องให้กับประชาชนและสังคมได้รับชมอย่างต่อเนื่อง ได้แก่
– ผีตาโขน (เทศกาล) ชื่อเรื่อง “หน้ากาก” เรื่องราวของคู่รักคู่หนึ่ง อ้น และ มิ้ม ที่เดินทางมาถึงจุดเปลี่ยนของชีวิต ด้วยโรคมะเร็งที่ไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้ มิ้มจึงขอให้อ้นคนรักของเธอเดินทางไปที่ อ.ด่านซ้าย จ.เลย เพื่อร่วมประกวดทำหน้ากากผีตาโขน และคลี่คลายเรื่องราวบางอย่างที่ติดอยู่ในใจ และต้องการที่จะปลดล็อกมาโดยตลอด การเดินทางไปด่านซ้ายในครั้งนี้ จะช่วยช่วยคลายปมในใจที่ถูกซ่อนไว้ภายใต้หน้ากากของพวกเขาได้อย่างไร ติดตามชม วันเสาร์ที่ 18 และวันอาทิตย์ที่ 19 มีนาคม 2566 เวลา 20.15 น.
– ย่านลิเภา (แฟชั่นไทย) ชื่อเรื่อง “LETTER FROM THE SUN ครั้งนั้น…ไม่เคยลืม” เรื่องราวของ ทาคูมิ หลังจากที่เสียแม่ อายาโกะ ไปอย่างไม่มีวันกลับ วันหนึ่งเขาได้รับกล่องย่านลิเภาพร้อมจดหมายที่จ่าหน้าซองถึง วีระ ทาคูมิจึงนำกล่องลิเภาไปคืนเจ้าของที่ประเทศไทย ทำให้ได้พบและสนิทสนมกับ ลิตา ลูกสาวของวีระมากขึ้น ต่อมาได้รู้ว่าแม่ของเขาเคยขอให้วีระช่วยสอนงานจักรสานย่านลิเภาจนเกิดเป็นความสัมพันธ์ที่ดี แต่สุดท้ายแม่ก็เลือกที่จะกลับประเทศญี่ปุ่น ทำให้วีระเสียใจอย่างมาก เรื่องราวของแม่ทำให้เขาได้ทบทวนความสัมพันธ์ระหว่างลิตาและคู่หมั้นอีกครั้ง อะไรจะเป็นตัวช่วยเพื่อพิสูจน์ความรักที่แท้จริงในครั้งนี้ ติดตามชม วันศุกร์ที่ 24 และวันเสาร์ที่ 25 มีนาคม 2566 เวลา 20.15 น.
– ผัดไทย (วัฒนธรรมอาหาร) ชื่อเรื่อง “ผัดไทย สูตรลับลิขิตฝัน” ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ผลิตละครสั้นและเผยแพร่ผ่านช่องทางโทรทัศน์และออนไลน์ เป็นเรื่องราวของ เส้นจันท์ เชฟมือใหม่ที่ตัดสินใจลงแข่งศึกทำอาหาร จึงงัดจานเด็ดอย่างผัดไทยหวังคว้าแชมป์ แต่แม่กลับไม่ปลื้มเพราะความหลังที่ฝังใจ แต่แล้วปาฏิหาริย์บางอย่างได้พาเธอย้อนเวลาหาอดีต เพื่อค้นพบสูตรลับและความหมายของรสชาติเหนือกาลเวลา หล่อหลอมรสชาติที่เป็นตัวเราในวันนี้ ติดตามชม วันอาทิตย์ที่ 26 มีนาคม 2566 เวลา 20.15 น.
ห้ามพลาด !! ละครส่งเสริมคุณค่าวัฒนธรรม เสน่ห์ความเป็นไทยสู่ละครเพื่อคนไทย ติดตามรับชมผ่านทางไทยพีบีเอส ช่องหมายเลข 3 และรับชมอีกครั้งทางแอปพลิเคชัน VIPA หรือ www.VIPA.me และติดตามความเคลื่อนไหวของละคร ได้ทาง Facebook : ละคร ไทยพีบีเอส
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมสองกิจกรรมโครงการ “เล่นเพลินสำหรับเด็กปฐมวัย” “นิทานฟังเพลิน” และ “Happy Play Day”
อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น “อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ปอมท.” ประจำปี 2567
อธิการบดีจุฬาฯ ได้รับเลือกเป็นประธานสมาคมสถาบันการศึกษาขั้นอุดมแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASAIHL) ปี 2025-2026
นิสิตภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขัน CHOICEISYOURS 2024
จุฬาฯ เชิญชวนร่วมงาน “One Stop Open House 2024” โดยกระทรวง อว. ระหว่างวันที่ 27 พ.ย. – 1 ธ.ค. 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
เชิญผู้สนใจเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมด้านจิตวิทยา “BRIDGING DISCIPLINES: Incorporate Psychology into Your Endeavor”
8 ม.ค. 2568 เวลา 09.00 – 16.00 น.
ชั้น 6 อาคารบรมราชชนนีศรีศตพรรษ คณะจิตวิทยา จุฬาฯ
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้