จุฬาฯ นำเสนอผลงานวิจัยเชิงลึกเกี่ยวกับเยาวชนที่ไม่ได้อยู่ในการทำงาน การศึกษา หรือการฝึกอบรมในประเทศไทย
วิทยาลัยประชากรศาสตร์ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ UNICEF และกระทรวงแรงงาน จัดงานนำเสนอ “งานวิจัยเชิงลึกเกี่ยวกับเยาวชนที่ไม่ได้อยู่ในการทำงาน การศึกษา หรือการฝึกอบรม (Youth Not in Employment, Education, or Training: NEET) ในประเทศไทย” เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2566 ณ ห้องประชุมสุรศักดิ์ 1 โรงแรมอีสติน แกรนด์ สาทร โดยมี รศ.ดร.รัตติยา ภูละออ รองคณบดี และ อ.ดร.ชฏาธาร โอษธีศ อาจารย์และนักวิจัยจากวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้นำเสนอผลการวิจัยเรื่องนี้
“งานวิจัยเชิงลึกเกี่ยวกับเยาวชนที่ไม่ได้อยู่ในการทำงาน การศึกษา หรือการฝึกอบรม (Youth Not in Employment, Education, or Training: NEET) ในประเทศไทย” ได้รับการสนับสนุนโดยองค์การ ยูนิเซฟประเทศไทย โดยมีตัวแทนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม นักวิชาการและสื่อมวลชนหลายหน่วยงานเข้าร่วมจากหลายภาคส่วน อาทิ กรมการจัดหางาน กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงาน จากกระทรวงแรงงาน กองการต่างประเทศ สำนักงานปลัดมหาดไทย กองวิจัยและพัฒนา สำนักงานประกันสังคม สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (NESDC) กรมกิจการเด็กและเยาวชน และกองการต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ จากกระทรวงพัฒนาสังคมและมนุษย์ กรมการส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น สำนักงานปลัดกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กรมพินิจคุ้มครองเด็กและเยาวชน จากกระทรวงยุติธรรม กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (EEF) องค์การเฟรนด์อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) มูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย บจก.Edvisory หน่วยงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศสหรัฐฯ (USAID/RDMA) มูลนิธิรักษ์เด็ก (TLSDF) สมาคมเครือข่ายโกลบอลอิมแพค (GCNT) ธนาคารพัฒนาเอเซีย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ สมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ สถานีโทรทัศน์ช่อง 3 มติชน บางกอกโพสต์ หนังสือพิมพ์เฟสไลน์นิวส์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ อ.ส.ม.ท. เดอะไทเกอร์ Today.line.me และ RYT9 มีผู้เข้าร่วมงานประมาณ 100 คน
โครงการวิจัยเรื่องนี้เป็นงานวิจัยเชิงลึกชิ้นแรกที่นำเสนอภาพรวมเกี่ยวกับกลุ่มเยาวชน NEET ที่ไม่ได้อยู่ในการทำงาน การศึกษา หรือการฝึกอบรมในประเทศไทย โดยผลจากการศึกษาชี้ให้เห็นถึงปัจจัยที่ทำให้เยาวชนหลุดออกจากระบบการศึกษาและตลาดแรงงาน รวมทั้งชี้ให้เห็นช่องว่างของนโยบายและบริการที่มีอยู่ในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีข้อค้นพบที่น่าสนใจคือ เกือบ 7 ใน 10 ของเยาวชน NEET ในประเทศไทยออกจากโรงเรียนและตกงานเพราะขาดแรงจูงใจในการพัฒนาทักษะหรือหางานทำ เยาวชนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบัน และเยาวชนอายุระหว่าง 15-24 ปี ประมาณ 1.4 ล้านคน (หรือร้อยละ 15 ของเยาวชนทั้งหมด)
ส่วนสาเหตุสำคัญ พบว่าเยาวชนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ขาดแรงจูงใจในการพัฒนาทักษะหรือหางานทำ เพราะรู้สึกว่าตนเองขาดโอกาสทำให้เยาวชนหลุดออกจากระบบการศึกษาและตลาดแรงงาน
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย