รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
27 มีนาคม 2566
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
ผู้เขียน สมบูรณ์ พัฒนปรีชาเสถียร
วันอาทิตย์ที่ 26 มีนาคม 2566 เวลา 07.00 น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ทรงร่วมงาน 106 ปีแห่งการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยทรงวางพุ่มดอกไม้ และทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยถวายราชสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า จากนั้นเสด็จฯ ทรงบาตรร่วมกับผู้บริหารมหาวิทยาลัย คณาจารย์ บุคลากร นิสิตเก่า นิสิตปัจจุบัน ณ บริเวณเสาธง หน้าหอประชุมจุฬาฯ
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จฯ ไปยังหน้ามุขหอประชุมจุฬาฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้บริหารมหาวิทยาลัย ผู้แทนคณาจารย์ บุคลากร นิสิตเก่าและนิสิตปัจจุบันเข้าเฝ้าฯ ถวายชัยมงคลเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ ในการนี้ ศ. (กิตติคุณ) นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล นายกสภามหาวิทยาลัย กราบบังคมทูลถวายพระพรชัยมงคลเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ จากนั้นทรงมีพระราชดำรัส
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จฯ ไปยังห้องรับรอง หอประชุมจุฬาฯ นายกสภามหาวิทยาลัย และผู้บริหารมหาวิทยาลัยทูลเกล้าฯ ถวายของขวัญเป็น “พระธำมรงค์” เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ วันที่ 2 เมษายน 2566 จากนั้นเสด็จไปยังโถงกระจกด้านข้างหอประชุมจุฬาฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้แทนผู้บริหาร ผู้แทนประชาคมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยภาคส่วนต่างๆ เข้าเฝ้าฯ ทูลเกล้าฯ ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย ในโอกาสนี้ได้พระราชทานของที่ระลึกแก่ผู้มีอุปการคุณ
เวลา 09.00 น. เสด็จฯ ทอดพระเนตรการแสดงดนตรีไทยปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ ณ หอประชุมจุฬาฯ โดยมี รศ.ดร.สันติ ฉันทวิลาสวงศ์ ที่ปรึกษาอธิการบดี และประธานจัดการแสดงดนตรีไทยปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ กราบบังคมทูลรายงาน
การแสดงดนตรีไทย “ปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์” ในโอกาสครบรอบ 106 ปีแห่งการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกอบด้วย การบรรเลงบทเพลงโหมโรงมหาจุฬาลงกรณ์ การบรรเลงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์เพลงแขกต่อยหม้อ เถา และการจับระบำชุมนุมเผ่าไทย ในการนี้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีทรงซอด้วงในการขับร้องและบรรเลงดนตรีไทย เรื่อง “สมเด็จกรมหลวงนราธิวาส” บทพระราชนิพนธ์และการแสดงพระราชทานในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติครบ 100 ปี บรรเลงโดยวงสายใยจามจุรี และวงดนตรีสากล สโมสรนิสิตจุฬาฯ ร่วมกับการแสดงประกอบโดยภาควิชานาฏยศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
ในการนี้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จฯ ทอดพระเนตรนิทรรศการ “สารพัดเรื่องของ ศาสตร์จารย์พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ กระดาษ เส้นเสียงและอักษร” และนิทรรศการ “Hidden Gems” ผลงานการออกแบบและตกแต่งเซรามิก : นวัตกรรมสร้างสรรค์ลวดลายจากน้ำปลา โดยศิลปิน รศ.สุขุมาล สาระเกษตริน สาขาเอกหัตถศิลป์ เซรามิก ภาควิชานฤมิตศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จากนั้น เสด็จฯ ไปยังอาคารสรรพศาสตร์วิจัย ทรงกดปุ่มไฟฟ้าเปิดแพรคลุมป้ายชื่อ “อาคารสรรพศาสตร์วิจัย” ทรงพระสุหร่าย ทรงเจิมแผ่นจารึกอาคารสรรพศาสตร์วิจัย โดยมี ศ.ดร.จักรพันธ์ สุทธิรัตน์ รองอธิการบดี ด้านการวิจัย จุฬาฯ กราบบังคมทูลรายงาน
“อาคารสรรพศาสตร์วิจัย” เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กสูง 15 ชั้น มีพื้นที่ประมาณ 36,360 ตารางเมตร เป็นอาคารปฏิบัติการวิจัยและการเรียนการสอน รองรับหน่วยงานของมหาวิทยาลัยที่เป็นหน่วยงานสนับสนุนการวิจัย สถาบันเฉพาะทาง วิทยาลัยที่ผลิตบัณฑิตระดับบัณฑิตศึกษา รวมถึงเป็นที่ตั้งห้องปฏิบัติการของส่วนงานต่าง ๆ ได้แก่ ศูนย์เครื่องมือวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม สถาบันวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพและวิศวกรรมพันธุศาสตร์ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข และคณะเภสัชศาสตร์
คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ จัดโครงการ Sensory Play เสริมประสบการณ์รับรู้สัมผัส สำหรับเด็กอายุ 2-4 ปี
5 พ.ย. 67 เวลา 10.00 - 12.00 น.
คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ
เชิญร่วมฟังสัมมนาหัวข้อ “Key Issues in Contemporary Corporate Sustainability Practices: Climate Risk, Human Rights Risk, and ESG Disclosures”
จุฬาฯ เดินหน้ายุทธศาสตร์ใหม่ สร้าง Siam Square ให้เป็นพื้นที่สำหรับคนไทยทุกคน รวมพลคนพิเศษ โชว์พลังครั้งใหญ่ที่สุด
นิสิตคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลรองชนะเลิศการแข่งขันกีตาร์คลาสสิกระดับนานาชาติ
Chula-SI HUB บ่มเพาะผู้ประกอบการทางสังคม Young Sustainability Practitioner รุ่นที่ 4
“ตลาดนัดของมือสองสภาพดี” โครงการ CU Sharing for Charity แบ่งปันเพื่อน้อง ครั้งที่ 3
29 พ.ย. 67
อาคารสรรพศาสตร์วิจัย และอาคารวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้