รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
3 เมษายน 2566
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
ผู้เขียน ธิติรัตน์ สมบูรณ์
ศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) ในงาน “U2T Market Fair by Chulalongkorn University” เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 30 มีนาคม 2566 ณ MBK Avenue โซน A ชั้น G ศูนย์การค้ามาบุญครอง โดยมี ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดี ด้านการติดตามและประเมินผลยุทธศาสตร์ แผน การงบประมาณ และสุขภาวะ จุฬาฯ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน ภายในงานมีการจัดแสดงผลิตภัณฑ์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมโครงการฯ และอยู่ภายใต้ อว.ส่วนหน้าจังหวัดสระบุรี เพื่อส่งเสริมและผลักดันสินค้าและบริการออกสู่ตลาดผ่านช่องทางการจัด จําหน่าย เพื่อสร้างรายได้ให้กับตําบลด้วยองค์ความรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรม
ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดี ด้านการติดตามและประเมินผลยุทธศาสตร์ แผน การงบประมาณ และสุขภาวะ จุฬาฯ เผยถึงที่มาและวัตถุประสงค์ของงานว่า งาน “U2T Market Fair by Chulalongkorn University“ เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นภายใต้โครงการ U2T เพื่อยกระดับเศรษฐกิจสังคมฐานรากในระดับตำบล ซึ่งเป็นนโยบายของกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับมอบหมายให้เข้าร่วมในโครงการนี้ด้วย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อพื้นที่ที่จุฬาฯ ดูแลอยู่ เพื่อให้เกิดการยกระดับเศรษฐกิจ การจ้างงาน การสร้างฐานข้อมูลต่างๆ เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนที่จุฬาฯ ดูแล เป็นการสร้างรายได้เพิ่มขึ้นและมีการจ้างงานมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกันนโยบายของจุฬาฯ ในการทำงานร่วมกับชุมชน
ศ.นพ.ดร.นรินทร์ กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการ U2T ทำให้เกิดสินค้าและบริการต่างๆ ซึ่งจุฬาฯ ได้เข้าไปช่วยถ่ายทอดองค์ความรู้แก่ชาวบ้านและผู้ประกอบการ กิจกรรมในครั้งนี้เป็นการส่งเสริมให้ผลิตภัณฑ์หรือบริการต่างๆ ขยายออกไปสู่สังคมภายนอกให้ได้รับรู้ ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ของชุมชนขายได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงการให้บริการต่างๆ เป็นที่รู้จักกันมากขึ้นในสังคมไทย ทำให้งานต่างๆ ที่จุฬาฯ ได้ดำเนินการในโครงการนี้ได้รับการต่อยอดออกไปให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมบริจาคสมทบกองทุนเพื่อการวิจัยด้านศัลยศาสตร์ สนับสนุนการพัฒนาและนวัตกรรมทางการแพทย์
เชิญชวนบุคลากรจุฬาฯ ร่วมกิจกรรม “เฮลท์ตี้…Young? เติมพลังชาวจุฬาฯ” รุ่นที่ 2
จุฬาฯ จับมือ SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต มอบความคุ้มครองให้บุคลากร ปีที่ 2 พร้อมลงนามสัญญายกระดับให้บริการทันตกรรม
บทความพิเศษ ศศินทร์ จุฬาฯ: ส่องการศึกษาไทยในยุคที่เด็กเกิดน้อย
จุฬาฯ – สสว. ส่งเสริม SMEs ไทยสู่ความมั่นคงและยั่งยืนด้วยนวัตกรรม AI รายงาน Carbon Footprint
อธิการบดีจุฬาฯ ชี้อนาคตการศึกษาที่ขับเคลื่อนด้วย AI ความท้าทายของสถาบันอุดมศึกษาที่จะต้องปรับบทบาทใหม่
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้