รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
11 กรกฎาคม 2561
ภาพข่าว
เมื่อวันอังคารที่ 10 กรกฎาคม 2561 ณ ห้องประชุม ชั้น 20 อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา (อาคารจามจุรี 10) นายสุภัทร จำปาทอง เลขาธิการกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) ร่วมเป็นเกียรติในพิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการใช้บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม BioPBS และความร่วมมือส่งเสริมการการคัดแยกบรรจุภัณฑ์พลาสติกเพื่อสร้างจิตสำนึกตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน” ระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดย ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ กับบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด(มหาชน) หรือ GC โดยคุณสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ในการใช้พลาสติกชีวภาพที่ย่อยสลายได้ ขับเคลื่อนการบริหารจัดการขยะพลาสติกในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอย่างครบวงจร ผู้ร่วมลงนามประกอบด้วย ศ.ดร.ปราโมช รังสรรค์วิจิตร ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ (PETROMAT) และคุณกิตติพงศ์ ลิ่มสุวรรณโรจน์ ผู้จัดการฝ่ายหน่วยงานพัฒนาตลาดธุรกิจปิโตรเคมีขั้นปลาย บริษัท GC ภายใต้โครงการความร่วมมือในครั้งนี้ GC ให้การสนับสนุนจุฬาฯในการใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม โดยใช้แก้วกระดาษเคลือบพลาสติกชีวภาพ (Zero-waste cup) ซึ่งนำพืช เช่น อ้อย มันสัมปะหลัง และข้าวโพดมาเป็นวัตถุดิบในการผลิต BioPBS ที่มีคุณสมบัติในการย่อยสลายได้ 100% ในสภาวะปุ๋ยหมักภายในระยะเวลา 4 – 6 เดือน ทดแทนแก้วพลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้ง ตามแผนปฎิบัติการบริหารจัดการขยะอย่างยั่งยืนและป้องกันการเกิดขยะตั้งแต่ต้นทางอย่างครบวงจรแบบ Closed-Loop Bioplastic Management ภายใต้โครงการ Chula Zero Waste ตอกย้ำการเป็นองค์กรต้นแบบในการจัดการขยะของประเทศ โดยในปี 2561 มีเป้าหมายเริ่มต้นใช้ในโรงอาหารทั้งหมด 17 แห่ง ซึ่งจะทำให้ลดการใช้พลาสติกแบบเดิมได้ 2 ล้านใบต่อปี
นิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ และคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศจากการแข่งขัน Spark the Local 2024 by PTT
บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ เปิดอบรมหลักสูตร “เครื่องมือการจัดการสิ่งแวดล้อม”
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ต้อนรับผู้แทนจาก Indiana University สหรัฐอเมริกา เจรจาแนวทางความร่วมมือทางวิชาการ
ศศินทร์จัด Open House แนะนำหลักสูตรต่างๆ วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2567
30 พ.ย. 67 เวลา 10.00 น.
ศศินทร์ จุฬาฯ
เชิญฟังการบรรยาย Chula Lunch Talk หัวข้อ “Smart VET-Learning: นวัตกรรม AR สู่การศึกษาสัตวแพทย์ยุคดิจิทัล”
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมสองกิจกรรมโครงการ “เล่นเพลินสำหรับเด็กปฐมวัย” “นิทานฟังเพลิน” และ “Happy Play Day”
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้