รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
11 เมษายน 2566
ข่าวเด่น
ผู้เขียน ชาติสยาม หม่อมแก้ว
13 เม.ย. 66 11.00 น.
สยามสแควร์ และ สามย่าน
สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (PMCU) ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และ BEX (เบ็กซ์) เชิญเที่ยวงานสงกรานต์ 2 สไตล์ คึกคักทั้งสยาม – สามย่าน กับงาน “สงกรานต์สยาม ผ้าขาวม้าปล่อยจอย ณ สยามสแควร์” และ “เทศกาลเย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์” ประจำปี 2566 ระหว่างวันที่ 13-15 เมษายน 2566
งาน “สงกรานต์สยาม ผ้าขาวม้าปล่อยจอย”
เนรมิตสยามสแควร์ ให้เป็นลานสงกรานต์สีขาว ปลอดภัย ไม่โป๊ ไม่เปลือย ไม่แป้ง และไม่แอลกอฮอล์ เชิญชวนชาวไทย และชาวต่างชาติ แต่งตัวให้จอยกับไอเท็มผ้าขาวม้าสุดคูล นุ่งชุดไทย พาดผ้าขาวม้า หรือแต่งชุดไทยสวยเก๋ มาสัมผัสบรรยากาศประเพณีสงกรานต์ตามวิถีชาวสยามกับกิจกรรมความสนุก สุขใจ ปล่อยจอย ทั้งหมด 5 โซนด้วยกัน
กิจกรรม “สงกรานต์สยาม ผ้าขาวม้าปล่อยจอย” สามารถเข้างานได้ 4 ประตู 1.ประตูฝั่งถนนพญาไท 2.ประตูสยามสแควร์ ซอย3 3.ประตูสยามสแควร์ ซอย 5 4.ประตูฝั่งถนนอังรีดูนังต์ ระหว่างวันที่ 13 – 15 เมษายน 2566 เวลา 11.00 – 22.00 น. ณ สยามแควร์
งาน “เทศกาลเย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์” ประจำปี 2566 INTERNATIONAL AMAZING SPLASH 2023
สืบสานวัฒนธรรมสงกรานต์นานาชาติ ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ตลอดถนนจุฬาฯ ซอย 5 (ถนนอุทยาน 100 ปีจุฬาฯ) สามย่าน ระหว่างวันที่ 13-15 เมษายน 2566 เวลา 11.00 – 22.00 น.
กิจกรรมภายในงานแบ่งออกเป็น 4 ส่วนกิจกรรม ประกอบด้วย
ประเทศไทย พบกับขบวนแห่พระแก้วมรกตประดิษฐานบนรถบุษบกพร้อมขบวนรถนางสงกรานต์ โดย “ใบเฟิร์น พิมพ์ชนก”
ประเทศจีน กับขบวนสีสันความสุขของชาวสิบสองปันนา มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน ในชุดแต่งกายวัฒนธรรมพื้นเมือง
ประเทศอินเดีย กับขบวนแห่ที่เต็มไปด้วยสีสันความสนุกในรูปแบบของเทศกาลโฮลี่ หรือการสาดสี พร้อมโชว์ในสไตล์ Bollywood
ประเทศญี่ปุ่น กับรถขบวนเซ็ตซึบุน จากประเทศญี่ปุ่น นำทีมด้วยจังหวะกลองสร้างความตื่นตัว พร้อมปีศาจ การโยนถั่ว และตกแต่งด้วยเสาโทริอิกับดอกซากุระ
ประเทศเกาหลี พบกับขบวนแห่บอนยองเกาหลี สื่อถึงความสดใสจากท้องทะเล สนุกสนานในแบบเฟสติวัลริมทะเลของประเทศเกาหลี
ประเทศไทย นำเสนอ “เทศกาลเย็นทั่วหล้ามหาสงกรานต์” พบกับการนำเสนอเอกลักษณ์ของประเพณีสงกรานต์ของ 5 ภูมิภาคทั่วประเทศ ผ่านรูปแบบของการสาธิตผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาและวัฒนธรรมของท้องถิ่น ที่นักท่องเที่ยวได้ทำด้วยตนเอง ประกอบด้วย ภาคเหนือ นำเสนอการทำตุงน้ำศักดิ์สิทธิ์ และการทำน้ำส้มป่อยสำหรับใช้ในพิธีรดน้ำดำหัววิถีล้านนา ภาคกลาง นำเสนออาหารคาวหวานในช่วงงานเทศกาลสงกรานต์ อาทิ ข้าวแช่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นำเสนอประเพณีผูกเสี่ยว ประเพณีเสียเคราะห์ (สะเดาะเคราะห์) ภาคตะวันออก นำเสนอพิธีก่อเจดีย์ทรายข้าวเปลือกของจ.ฉะเชิงเทรา พิธีก่อเจดีย์ทราย จ.ชลบุรี และ ภาคใต้ นำเสนอประเพณีแห่นางดาน จ.นครศรีธรรมราช ที่มีเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย การสาธิตภูมิปัญญาท้องถิ่นและ DIY รวมทั้งกิจกรรมการสรงน้ำพระและก่อเจดีย์ทราย การแสดงศิลปวัฒนธรรมไทย
ประเทศเกาหลีใต้ นำเสนอ “เทศกาลโคลนจากเมืองโพเรียง” พบกับสระโคลนที่ได้นำเข้าโคลนมาจากเมืองโพเรียง ประเทศเกาหลีใต้ โดยจะมีกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ การลงแช่โคลน การทาโคลนทั่วตัว การแข่งเกมชิงรางวัลกลางสระโคลน พร้อมบรรยากาศที่เร้าใจจากดีเจจากประเทศเกาหลี
ประเทศอินเดีย นำเสนอ “เทศกาลโฮลี” สนุกสนานตามประเพณีของอินเดียที่ใช้ผงสีแสดงถึงมิตรภาพ พร้อมการแสดงดนตรี การเต้นของสาวอินเดียในสไตล์ Bollywood นอกจากนี้ยังมีจุดให้ผู้ร่วมงานได้เข้าสักการะพระพิฆเนศอีกด้วย
ประเทศจีน นำเสนอ “เทศกาลสงกรานต์สิบสองปันนา” พบกับการนำเสนอเครื่องแต่งกายตามประเพณีของชาวไทลื้อ มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีนและการแสดงเชิงวัฒนธรรมฟ้อนรำ เพื่อทำพิธีขอน้ำ ขอฝน จากเทวดา ฟ้าดิน
ประเทศญี่ปุ่น นำเสนอ “เทศกาลเซ็ตซึบุน” เทศกาลแห่งการเป่าสิ่งชั่วร้าย และเสริมสิริมงคล ด้วยการโปรยถั่วใส่ยักษ์ เพื่อเป็นการขอให้สุขภาพแข็งแรงปราศจากโรคภัย
จุฬาฯ หัวเว่ย และ BUPT ร่วมพัฒนาบุคลากร ICT ในงาน Asia Pacific Cloud AI Forum & Huawei Developer Competition
อธิการบดีจุฬาฯ 1 เดียวผู้นำด้านการศึกษาจาก 48 ผู้ทรงอิทธิพลไทย
นิสิตคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ชนะเลิศการประกวดเดี่ยวเครื่องดนตรีไทยระดับอุดมศึกษาประเภทจะเข้และซอสามสาย
นิสิต BBA จุฬาฯ เยี่ยม! ทำคะแนนสอบ TCAS Inter 2024 ได้ที่ 1 ของประเทศ
ขอเชิญร่วมงาน “Chula Lunch Talk: อยู่ออฟฟิศก็เฟิร์มได้! ท่าออกกำลังง่าย ๆ สู้ Office Syndrome”
24 ม.ค. 68
สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาฯ
แนวปฏิบัติเพื่อรองรับมาตรการจัดการในสถานการณ์ปริมาณฝุ่น PM2.5
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้