รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
12 เมษายน 2566
ความภูมิใจของจุฬาฯ, ภาพข่าว
ผู้เขียน สมบูรณ์ พัฒนปรีชาเสถียร
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขอแสดงความยินดีกับคณาจารย์จากคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาฯ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ และสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ ที่ได้รับประกาศเกียรติคุณ “ผู้ที่ให้การสนับสนุนและความร่วมมืออันดีด้านวิชาการแก่กองเศรษฐกิจการแรงงาน สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน” จากการสัมมนาโครงการสัมมนาเครือข่ายด้านวิจัยแรงงาน ประจำปี 2566 เมื่อวันพุธที่ 29 มีนาคม 2566 ณ ห้องรัชโยธิน แกรนด์ ชั้น 20 โรงแรมเดอะบาซาร์ กรุงเทพฯ และผ่านระบบออนไลน์ Zoom Meeting
คณาจารย์จุฬาฯ ที่ได้รับประกาศเกียรติคุณมีดังนี้
1. รศ.ดร.รัตติยา ภูละออ รองคณบดีวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาฯ
2. ดร.ชฏาธาร โอษธีศ วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาฯ
3. ดร.กติกา ทิพยาลัย คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ
4. ศ.ดร.สุภางค์ จันทวานิช สถาบันเอเซียศึกษา จุฬาฯ
5. ดร.มนทกานต์ ฉิมมามี สถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ
นอกจากนี้ในงานยังมีการอภิปรายและนำเสนอความคิดเห็นกับผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ ที่เข้าร่วมการสัมมนาจากในห้องประชุม 83 คน และผ่านทางออนไลน์ ระบบ Zoom 126 คน ในประเด็นต่างๆ ที่น่าสนใจ ได้แก่ เรื่องข้อคิดเกี่ยวกับค่าจ้างรายชั่วโมง โดย ดร.สราวุธ ไพฑูรย์พงษ์ นักวิชาการอาวุโสด้านแรงงาน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย และการอภิปรายเป็นคณะ เรื่องนโยบายค่าจ้าง:มุมมองต่างประเทศเกี่ยวกับค่าจ้างรายชั่วโมง โดย Mr.Xavier Estupinan, Wage Specialist (ILO) เรื่องมุมมองค่าจ้างรายชั่วโมงของประเทศไทย โดย ดร.สราวุธ ไพฑูรย์พงษ์ นักวิชาการอาวุโสด้านแรงงาน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย เรื่องประเทศไทยควรมีการกำหนดค่าจ้างรายชั่วโมงหรือไม่ หากต้องมีทั่วถึง หรือเฉพาะกลุ่ม โดย ผศ.ดร.ศุภชัย ศรีสุชาติ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเรื่องค่าจ้างในรูปแบบอื่น ๆ โดย อ.ดร.กฤษฏา ธีระโกศลพงศ์ อาจารย์ภาควิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
จุฬาฯ หัวเว่ย และ BUPT ร่วมพัฒนาบุคลากร ICT ในงาน Asia Pacific Cloud AI Forum & Huawei Developer Competition
อธิการบดีจุฬาฯ 1 เดียวผู้นำด้านการศึกษาจาก 48 ผู้ทรงอิทธิพลไทย
นิสิตคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ชนะเลิศการประกวดเดี่ยวเครื่องดนตรีไทยระดับอุดมศึกษาประเภทจะเข้และซอสามสาย
นิสิต BBA จุฬาฯ เยี่ยม! ทำคะแนนสอบ TCAS Inter 2024 ได้ที่ 1 ของประเทศ
ขอเชิญร่วมงาน “Chula Lunch Talk: อยู่ออฟฟิศก็เฟิร์มได้! ท่าออกกำลังง่าย ๆ สู้ Office Syndrome”
24 ม.ค. 68
สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาฯ
แนวปฏิบัติเพื่อรองรับมาตรการจัดการในสถานการณ์ปริมาณฝุ่น PM2.5
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้