ข่าวสารจุฬาฯ

จุฬาฯ ร่วมเดินทางสู่อาร์กติก

2 นักวิจัยไทยจากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมเดินทางสู่อาร์กติก
เตรียมดำน้ำเพื่องานวิจัยครั้งแรกของเอเชีย

เมื่อวันพุธที่ 18 กรกฎาคม 2561 ณ จัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช. ชั้น 4 อาคารจามจุรีสแควร์ มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตนอร์เวย์ประจำประเทศไทย องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงานแถลงข่าว การสำรวจวิจัยขั้วโลกเหนือครั้งแรกของประเทศไทย โดยมี ศ.ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี นายเวการ์ด โหล์เมลีด รักษาการแทนเอกอัครราชทูตนอร์เวย์ประจำประเทศไทย คุณกรรณิการ์ เฉิน สำนักพัฒนาความตระหนักทางด้านวิทยาศาสตร์ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) และ ผศ.ดร.ปมทอง มาลากุล ณ อยุธยา รองอธิการอธิการบดีจุฬาฯ ร่วมในงานแถลงข่าว ในโอกาสนี้ รศ.ดร.วรณพ วิยกาญจน์ และ รศ.ดร.สุชนา ชวนิชย์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ 2 นักวิจัยไทยที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมเดินทางกับทีมวิจัยสำรวจอาร์กติก ระหว่างวันที่ 24 กรกฎาคม – 12 สิงหาคม 2561 ร่วมงานแถลงข่าว โดยเป้าหมายหนึ่งของนักวิจัยคือการดำน้ำสำรวจใต้ทะเลอาร์กติก นับเป็นนักวิจัย 2 คนแรกของทวีปเอเชียที่จะปฏิบัติภารกิจดำน้ำเพื่องานวิจัยในทะเลขั้วโลกเหนือของนอร์เวย์

รศ.ดร. วรณพ วิยกาญจน์ กล่าวว่า “อาร์กติก” ถึงแม้จะเป็นแผ่นดินที่หนาวเหน็บ และห่างไกล
จากแผ่นดินอื่น แต่แท้จริงแล้ว บริเวณนี้มีความเชื่อมโยงกับมนุษย์เป็นอย่างมาก เป็นพื้นที่อ่อนไหวและตอบสนอง
ต่อการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมโลก อาร์กติกเป็นสถานที่ที่เหมาะสมที่สุดในการตรวจสอบปรากฏการณ์ต่างๆ ที่
เกิดขึ้นบนโลก เนื่องจากในปัจจุบัน บริเวณนี้กลายเป็น “ภาชนะรองรับของเสีย” เป็นศูนย์รวมของผลลัพธ์จากกิจกรรม
ต่างๆ บนโลก โดยเฉพาะก๊าซเรือนกระจกจากชั้นบรรยากาศ และขยะทะเล บริเวณนี้จึงเป็น “ปราการด่านแรก” ของโลกที่

จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด

คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า