ข่าวสารจุฬาฯ

เดินหน้าการทดสอบ 5G บนย่านความถี่ 6 GHz ในพื้นที่กำกับดูแลพิเศษ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chula Sandbox)

Banner_FBWebsite_1200x628px_5G-6-GHz-Chula-Sandbox.jpg

ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จํากัด ได้มอบหมายให้ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินการศึกษาการใช้เทคโนโลยี 5G บนย่านความถี่ 6 GHz ภายใต้โครงการ “Experimental Study and Implementation of 5G Technology on 6 GHz Band” เมื่อเดือนมีนาคม 2566 ที่ผ่านมา โครงการได้ลงพื้นที่ทดสอบภาคสนาม กรณี Outdoor to Outdoor (O2O) และกรณี Outdoor to Indoor (O2I) เพื่อศึกษาพฤติกรรมและคุณสมบัติของคลื่นความถี่ IMT 6 GHz และคุณภาพในการรับส่งข้อมูลกิจการ IMT ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่กำกับดูแลพิเศษ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chula Sandbox) โดยมีรายละเอียดการดำเนินงานและผลการทดสอบ ดังนี้

  • เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2566 คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่จากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้เข้าเยี่ยมชมการทดลองทดสอบคลื่น IMT 6GHz ในพื้นที่กำกับดูแลพิเศษ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chula Sandbox) ประกอบด้วยการทดลองทดสอบกรณี Outdoor to Outdoor (O2O) และกรณี Outdoor to Indoor (O2I) เพื่อศึกษาคุณสมบัติของคลื่นความถี่ 6 GHz และคุณภาพในการรับส่งข้อมูลกิจการ IMT โดยผลการทดลองทดสอบในครั้งนี้ ทางผู้เกี่ยวข้องจะได้นำไปใช้ประโยชน์ต่อไป


  • เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2566 ในช่วงเช้า ทีมงานบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (AIS) ได้เข้าร่วมทดลองทดสอบคลื่น IMT 6GHz ในพื้นที่กำกับดูแลพิเศษ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chula Sandbox) โดยได้ร่วมทดลองทดสอบภาคสนามกรณี Outdoor to Outdoor (O2O) และกรณี Outdoor to Indoor (O2I)เพื่อศึกษาพฤติกรรมและคุณสมบัติของคลื่นความถี่ IMT 6 GHz ซึ่งได้ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจ ในช่วงบ่าย ทีมงานบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) ได้เข้าร่วมทดลองทดสอบคลื่น IMT 6GHz ในพื้นที่กำกับดูแลพิเศษ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chula Sandbox) โดยได้ร่วมทดลองทดสอบภาคสนามกรณี Outdoor to Outdoor (O2O) และกรณี Outdoor to Indoor (O2I) เพื่อศึกษาพฤติกรรมและคุณสมบัติของคลื่นความถี่ IMT 6 GHz ซึ่งได้ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจ



  • เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2566 เจ้าหน้าที่จากสำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) ได้เข้าร่วมทดลองทดสอบคลื่น IMT 6GHz ในพื้นที่กำกับดูแลพิเศษ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chula Sandbox) โดยทดสอบในรูปแบบภาคสนามกรณี Outdoor to Outdoor (O2O) และกรณี Outdoor to Indoor (O2I) เพื่อศึกษาพฤติกรรมและคุณสมบัติของคลื่นความถี่ IMT 6 GHz ซึ่งได้ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการใช้งานภายนอกอาคาร (O2O) สามารถให้ความเร็ว Download มากกว่า 1Gbps คิดเป็นร้อยละ 72 ของพื้นที่ทดสอบ (ขนาด Bandwidth ที่ใช้ทดสอบคือ 80Mbps) หรือแม้กระทั่งใช้งานภายในอาคาร (O2I) สามารถให้ความเร็ว Download เฉลี่ย 550Mbps ดังนั้น คลื่น 6GHz สามารถนำมาใช้สำหรับการให้บริการโทรศัพท์มือถือ ด้วยเทคโนโลยี 5G และเทคโนโลยีถัดไป เช่น 5.5G เป็นต้น


  • เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2566 มีผู้แทนจากบริษัท และหน่วยงานต่าง ๆ มากกว่า 10 ประเทศ เช่น Philippines, Vietnam, Laos, Indonesia, Singapore, Cambodia, Myanmar, Mongolia, Sri Lanka, Brunei , Japan, South Korea, และ Bangladesh ได้เข้าร่วมทดสอบคลื่น IMT 6GHz ในพื้นที่กำกับดูแลพิเศษ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chula Sandbox) ผ่านทางออนไลน์ โดยทดสอบในรูปแบบภาคสนามกรณี Outdoor to Outdoor (O2O) และกรณี Outdoor to Indoor (O2I) เพื่อศึกษาพฤติกรรมและคุณสมบัติของคลื่นความถี่ IMT 6 GHz ซึ่งได้ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการใช้งานภายนอกอาคาร (O2O) สามารถให้ความเร็ว Download มากกว่า 1Gbps คิดเป็นร้อยละ 72 ของพื้นที่ทดสอบ (ขนาด Bandwidth ที่ใช้ทดสอบคือ 80Mbps) หรือแม้กระทั่งใช้งานภายในอาคาร (O2I) สามารถให้ความเร็ว Download เฉลี่ย 550Mbps ดังนั้น คลื่น 6GHz สามารถนำมาใช้สำหรับการให้บริการโทรศัพท์มือถือด้วยเทคโนโลยี 5G และ เทคโนโลยีถัดไป เช่น 5.5G เป็นต้น สำหรับผู้สนใจสามารถรับชมการทดลองทดสอบย้อนหลังได้ทาง ZOOM (รับชมได้ถึงสิ้นเดือนพฤษภาคม 2566)

ทั้งนี้ การศึกษาความถี่ย่าน 6 GHz ซึ่งเป็นความถี่ย่าน Mid Band มีความสำคัญต่อการสร้างความสามารถในการเชื่อมต่อที่สม่ำเสมอ สร้างสมดุลระหว่างพื้นที่ให้บริการที่มีความครอบคลุมและความจุที่ให้สภาพแวดล้อมที่สมบูรณ์แบบสำหรับการเชื่อมต่อ 5G การขยายแบนด์วิดท์ (Bandwidth) ของ 5G ผ่านคลื่นความถี่ 6 GHz จะทำให้แบนด์วิดท์เพิ่มขึ้นและปรับปรุงประสิทธิภาพของเครือข่ายให้ดียิ่งขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น ช่องสัญญาณที่กว้างและต่อเนื่องกันซึ่งเกิดจากช่วง 6 GHz จะช่วยลดความจำเป็นในการเพิ่มความหนาแน่นของเครือข่ายและทำให้การเชื่อมต่อยุคหน้าเป็นระเบียบมากขึ้นสำหรับทุกคน


จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า