รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
27 เมษายน 2566
ข่าวเด่น
ผู้เขียน สุรเดช พันธุ์ลี
คณะกรรมการนิสิตหอพักจุฬาฯ จัดประชุมเรื่องปัญหาเกณฑ์การพิจารณาอยู่ต่อหอพักนิสิต เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2565 ณ ห้องคณะกรรมการนิสิตหอพัก มีผู้เข้าร่วมประชุม 22 คน ในที่ประชุมมีการเสนอแนะวิธีการต่าง ๆ เพื่อหาแนวทางทางการคัดเลือกนิสิตเข้าอยู่ต่อในหอพักนิสิตจุฬาฯ จากคณะกรรมการนิสิตหอพักโดยมีรูปแบบการเชิญชวนและมีการมีส่วนร่วมของนิสิตหอพัก ในที่ประชุมมีมติให้แก้ไขและเพิ่มเติมดังต่อไปนี้
– ห้ามครอบครองสำหรับสิ่งของเพื่อเล่นการพนัน หรือต้องจับได้ซึ่งหน้าเท่านั้น
– ให้มีการลงทะเบียนรถจักรยานยนต์
– การตรวจ 5ส จาก 2 ครั้ง เป็น 1 ครั้ง ตามความเห็นที่ประชุม
– ลดสัดส่วนการทำกิจกรรมลง 10% และเพิ่มสัดส่วนการอยู่หอแทน
– คะแนนกิจกรรมพาร์ทไทม์ 3 คะแนน จาก 15 คะแนน และ 40 ชั่วโมง ได้ 1 คะแนน
– มีการจัดทำกิจกรรม “ผ้าป่าปัญหาหอพักนิสิต” โดยให้นิสิตหอพักแต่ละตึกเขียนประเด็นปัญหาและข้อเสนอแนะของเกณฑ์การอยู่ต่อหอพักใส่กระดาษและนำมาเสียบที่ต้นผ้าป่าและรวมรวมปัญหาและนำมาประมวลผล
– จัดให้มีการเสนอปัญหาและข้อเสนอแนะของเกณฑ์การอยู่ต่อหอพักปัจจุบัน แนวทางการปรับแก้ร่วมกันในช่องทางออนไลน์ผ่านโปรแกรม padlet ในหัวข้อ “เรามาช่วยกันแก้ปัญหาหอกัน” โดยตั้งโจทย์ปัญหาไว้ดังนี้
– จะแก้เรื่องเกณฑ์คะแนนหออย่างไรให้เท่าเทียม
– ปัญหาส่วนกลาง
– ปัญหารอบบริเวณหอพัก
– อยากได้กิจกรรมไหนในหอพัก
– ปัญหาโรงอาหาร- จัดประชุมแลกเปลี่ยนปัญหาและแนวทางแก้ไขสำหรับหอพักนิสิตนักศึกษาภายในมหาวิทยาลัย พร้อมทั้งการแลกเปลี่ยนข้อมูล ความคิดเห็น และข้อเสนอแนะร่วมกัน
– นิสิตหอพักที่ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเสนอแนะจากทุกอาคารหอพัก นิสิตชายและหญิงจำนวน 2,000 คนประกอบด้วย นิสิตหอพักตึกพุดซ้อน นิสิตหอพักตึกพุดตาน นิสิตหอพักตึกจำปี นิสิตหอพักตึกจำปา และนิสิตหอพักตึกชวนชม จากช่องทางต่าง ๆ และได้นำมาประมวลผลและจัดทำร่างเกณฑ์การคัดเลือกนิสิตอยู่ต่อหอพัก และนำเกณฑ์ที่ร่างดังกล่าวเข้าที่ประชุมดำเนินงานหอพักนิสิตครั้งที่ 10/2565 ตามตารางเกณฑ์ที่ผ่านการร่างดังนี้
– นำเกณฑ์ที่ร่างมาทำการประชาพิจารณ์ผ่านช่องทางออนไลน์ครั้งที่ 1 วันที่ 25 กันยายน 2565 และครั้งที่ 2 วันที่ 17 – 19 ตุลาคม 2565 หลังจากนั้นทำการเสนอร่างที่ผ่านการทำประชาพิจารณ์เข้าที่ประชุมดำเนินงานหอพักครั้งที่ 10/2565 เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2565 และมีมัติเห็นชอบร่างดังกล่าว จากนั้นให้นิสิตหอพักทุกคนมีส่วนร่วมลงประชามัติเกณฑ์การพิจารณาอยู่หอพักผ่านช่องทางออนไลน์ที่เว็บไซต์หอพักนิสิต https://rcuchula.com วันที่ 24 ตุลาคม 2565 ผลการลงประชามัติมีผู้มาใช้สิทธิ์ 1,390 คน รับรอง 1,208 คน ไม่รับรอง 182 คน จากนั้นเริ่มประกาศใช้วันที่ 1 พฤศจิกายน 2565
จุฬาฯ จัดงาน “สยามานุสสติ ผสาน…ปณิธาน” การแสดงทางศิลปวัฒนธรรมโดยนิสิตจุฬาฯ
นิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ และคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศจากการแข่งขัน Spark the Local 2024 by PTT
บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ เปิดอบรมหลักสูตร “เครื่องมือการจัดการสิ่งแวดล้อม”
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ต้อนรับผู้แทนจาก Indiana University สหรัฐอเมริกา เจรจาแนวทางความร่วมมือทางวิชาการ
ศศินทร์จัด Open House แนะนำหลักสูตรต่างๆ วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2567
30 พ.ย. 67 เวลา 10.00 น.
ศศินทร์ จุฬาฯ
เชิญฟังการบรรยาย Chula Lunch Talk หัวข้อ “Smart VET-Learning: นวัตกรรม AR สู่การศึกษาสัตวแพทย์ยุคดิจิทัล”
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้