ข่าวสารจุฬาฯ

จุฬาฯ นำเสนอแผนงานวิจัย “Stop Violence in Schools” เยาวชนไทยห่างไกลความรุนแรง”

ปัญหาความรุนแรงในรูปแบบต่างๆ ที่เกิดขึ้นโรงเรียนและสถานศึกษา ยังคงเป็นปัญหาที่มีความสำคัญในสังคมไทยซึ่งส่งผลกระทบทางด้านร่างกายและจิตใจของนักเรียนผู้ตกเป็นเหยื่อของการใช้ความรุนแรงและการถูกกลั่นแกล้งข่มเหงรังแก  ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ปัญหาความรุนแรงในโรงเรียนลดลง

จากงานสัมมนา Teacher Conference ในหัวข้อ “Stop Violence in Schools” เยาวชนไทยห่างไกลความรุนแรง ครั้งที่ 1  ซึ่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมกับสถาบันสอนภาษาอังกฤษ โกลบิช อคาเดเมีย (ไทยแลนด์) ซึ่งเป็นธุรกิจสตาร์ทอัพด้านการศึกษาของศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดขึ้น ภายใต้โครงการ International Friends for Peace 2023 เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2566  ณ Social Innovation Hub อาคารวิศิษฐ์ ประจวบเหมาะ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ  โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อผลักดันการแก้ไขและยุติปัญหาความรุนแรงในโรงเรียนและสถานศึกษา  ผศ.ดร.ชัยพร ภู่ประเสริฐ รองอธิการบดีด้านการพัฒนานิสิต จุฬาฯ ประธานกล่าวเปิดงาน เปิดเผยว่า Teacher Conference ในครั้งนี้ไม่เพียงเปิดโอกาสให้ผู้บริหารสถานศึกษา คณาจารย์ และผู้ที่รับผิดชอบงานด้านวิจัยและกิจการนิสิตได้มีส่วนร่วมในงานนี้ แต่ยังเป็นการเพิ่มองค์ความรู้และทักษะในการร่วมกันหาแนวทางแก้ไขปัญหาความรุนแรงในโรงเรียนและสังคมไทย ซึ่งสอดคล้องกับคำขวัญของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่มุ่งสร้างนวัตกรรมเพื่อสังคม หรือ Innovations for Society  

ผศ.ดร.ชัยพร ภู่ประเสริฐ รองอธิการบดีด้านการพัฒนานิสิต จุฬาฯ

“การจัดงานในครั้งนี้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ 3 เรื่องของจุฬาฯ คือ  Future Leaders การสร้างผู้นำในอนาคตโดยส่งเสริมความเป็นผู้นำให้แก่นิสิตและเยาวชน มีคุณธรรมและความคิดสร้างสรรค์  Impactful Research การสร้างผลงานวิจัยที่มีผลกระทบต่อสังคม และเรื่อง Sustainability หรือการสร้างความยั่งยืนแก่สังคมไทย”  ผศ.ดร.ชัยพรกล่าว 

รศ.ดร.สุมนทิพย์ จิตสว่าง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ หัวหน้าโครงการวิจัย “สังคมไทยไร้ความรุนแรง”

รศ.ดร.สุมนทิพย์ จิตสว่าง ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ หัวหน้าโครงการวิจัย “สังคมไทยไร้ความรุนแรง” ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กล่าวในหัวข้อ “แผนงานวิจัยท้าทายไทย : สังคมไทยไร้ความรุนแรง”  โดยได้รับโจทย์ในการวิจัยหาแนวทางแก้ปัญหาความรุนแรงของสังคมไทย ศึกษาหาสาเหตุ ผลกระทบของความรุนแรง รวมถึงแนวทางต้นแบบในการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรง  

ความรุนแรงในสังคมไทยในสถานการณ์โลก แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ ความรุนแรงต่อตนเอง ความรุนแรงระหว่างบุคคล และความรุนแรงระหว่างกลุ่ม ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะนำไปสู่การวิจัยเพื่อหาแนวทางต้นแบบในการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในสังคมไทย และเครื่องมือที่ใช้ในการป้องกันและลดความรุนแรงในสังคม 

รศ.ดร.สุมนทิพย์ เน้นย้ำในเรื่องของการร่วมมือกันระหว่างองค์กรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐ เช่น กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงยุติธรรม รวมถึงภาคประชาสังคม สื่อมวลชน ภาคเอกชน และสถาบันครอบครัวซึ่งมีความสำคัญ ลำดับต้นๆ และเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความรุนแรงได้

“จากการศึกษาวิจัยในปีที่ 2 ได้ต่อยอดแผน Road Map สังคมไทยไร้ความรุนแรง ออกเป็น 5 ส่วนได้แก่ นโยบาย (Policy) ป้องกัน (Prevention) คุ้มครอง (Protection) ดำเนินคดี (Prosecution) และความเป็นหุ้นส่วน (Partnership) โดยแผนงานดังกล่าวได้มีการวิจัยอย่างต่อเนื่องเพื่อส่งมอบองค์ความรู้ให้หน่วยงานต่างๆ นำไปต่อยอดในการดูแลและป้องกันการเกิดความรุนแรงอย่างเป็นรูปธรรม” รศ.ดร.สุมนทิพย์ กล่าวในที่สุด

ทั้งนี้ภายในงานยังมีการบรรยายหัวข้อต่างๆ ที่น่าสนใจดังนี้

  • “สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับเยาวชนภายในสถานศึกษา” โดย คุณสรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิเด็ก ที่ปรึกษากรมกิจการเด็กและเยาวชน
  • “สิทธิมนุษยชนและสื่อสร้างสรรค์” โดยคุณสรวงมณฑ์ สิทธิสมาน ที่ปรึกษาคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 
  • “การรับมือกับสื่อ เมื่อเกิดเหตุไม่คาดคิดในโรงเรียน” โดย รศ.ดร.ปรีดา อัครจันทโชติ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ และ ผศ.ดร.เจษฎา ศาลาทอง ภาควิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ

งาน Teacher Conference จะมีการจัดสัมมนาขึ้นอีกสองครั้งคือในวันที่ 25 พฤษภาคม ในเรื่องแนวทางการป้องกันและอบรมด้านกฎหมายและจิตวิทยา และในวันที่ 22 มิถุนายน ในเรื่องการใช้ศิลปะบำบัด  

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า