รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
28 เมษายน 2566
ข่าวเด่น, ความเป็นนานาชาติ, ภาพข่าว
ผู้เขียน เมธาพร ไตรกิจวัฒนกุล
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการในการสร้าง “ศูนย์ความรู้เพื่อการต่อต้านคอร์รัปชัน” (KRAC) เพื่อผลักดันไทยสู่การเป็นศูนย์กลางความรู้ระดับภูมิภาค
ในปี 2565 ประเทศไทยได้รับผลการประเมินดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions Index) หรือ CPI จากองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International : TI) ให้อยู่ในลำดับที่ 101 จาก 180 ประเทศทั่วโลก และอยู่ในลำดับที่ 5 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยคะแนนเพียง 36 คะแนน เพิ่มขึ้นจากเดิมเพียง 1 คะแนนเท่านั้น ในขณะที่ยุทธศาสตร์ชาติตั้งเป้าไว้ว่าประเทศไทยจะต้องได้คะแนน CPI ไม่ต่ำกว่า 50 คะแนน ชี้ให้เห็นว่าสถานการณ์คอร์รัปชันในไทยนั้นสูงมากและมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นแม้ว่าจะมีมาตรการต้านโกงจำนวนมากก็ตาม จึงจำเป็นที่จะต้องสร้างความร่วมมือในทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาควิชาการ เพื่อสนับสนุนองค์ความรู้สู่การดำเนินงาน จนเกิดเป็นระบบนิเวศของการต่อต้านคอร์รัปชันให้กับสังคมไทยในที่สุด
เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2566 ณ ห้องเรียนอัจฉริยะ (Smart Classroom) ชั้น 5 คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือส่งเสริมและสนับสนุนทางวิชาการ สร้าง “ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค” (Knowledge hub for Regional Anti – Corruption and good governance Collaboration: KRAC) เพื่อเป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูล งานวิชาการ นวัตกรรมหรือเครื่องมือในการต่อต้านคอร์รัปชันและส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวถึงความสำคัญของการจัดตั้งศูนย์ความรู้เพื่อการต่อต้านคอร์รัปชัน เนื่องจากหนึ่งในเป้าประสงค์สำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ คือการแก้ไขปัญหารากเหง้าของสังคม ได้แก่ การแก้ไขปัญหาคอร์รัปชัน การสร้างสังคมคุณธรรมและการส่งเสริมธรรมาภิบาล เพื่อสังคมไทยมีการพัฒนาอย่างยั่งยืนและเป็นสังคมคุณธรรม มีธรรมาภิบาล โดยมุ่งประยุกต์ใช้ผลงานวิจัย องค์ความรู้ นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่สอดคล้องกับทิศทางของการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
รศ.ดร.สิทธิเดช พงศ์กิจวรสิน คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงการลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ว่า “หนึ่งในประเด็นท้าทายของสังคมไทยในปัจจุบัน คือปัญหาการคอร์รัปชันที่มีความรุนแรงและสร้างความเหลื่อมล้ำในสังคมให้กว้างมากขึ้น เพื่อยกระดับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์คอร์รัปชันในทางที่ดีขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ ยินดีที่จะสนับสนุนด้านองค์ความรู้ทางวิชาการ และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในงานต่อต้านคอร์รัปชันร่วมกันระหว่างสองหน่วยงาน”
ในพิธีลงนามความร่วมมือทางวิชาการในครั้งนี้มีการแสดงปาฐกถาของผู้เชี่ยวชาญด้านการต่อต้านคอร์รัปชันในระดับนานาชาติและระดับชาติ โดยได้รับเกียรติจาก Prof. Matthew C. Stephenson, Harvard Law School, Harvard University ปาฐกถาในหัวข้อ “Opportunities and Challenge for Thailand to create a Center for Excellence in Anti – Corruption Research” สรุปได้ว่า “ศูนย์ความรู้เพื่อการต่อต้านคอร์รัปชันนี้จะเป็นโอกาสที่สำคัญในการสร้างความร่วมมือให้เกิดขึ้นระหว่างผู้เชี่ยวชาญด้านการต่อต้านคอร์รัปชันและประชาชนทั่วไป จะเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยเชื่อมโยงองค์ความรู้ในการต่อต้านคอร์รัปชันสู่การปฏิบัติงานจริง ซึ่งจะสร้างความก้าวหน้าให้กับกระบวนการทำงานต่อต้านคอร์รัปชันได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การสร้างความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ ทั้งในระดับประเทศ ภูมิภาค และนานาชาติจะช่วยส่งเสริมการแลกเปลี่ยนข้อมูลเชิงลึกและบทเรียนร่วมกันเพื่อขจัดปัญหาคอร์รัปชันได้”
ดร.มานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ปาฐกถาในหัวข้อ “สถานการณ์และพัฒนาการต่อต้านคอร์รัปชันในประเทศไทย” โดยกล่าวถึงสถานการณ์การคอร์รัปชันของประเทศไทยในปัจจุบันว่าแม้จะมีความรุนแรงมากขึ้นและมีรูปแบบที่ซับซ้อนกว่าเดิม แต่ด้วยความตื่นตัวของภาคประชาชนและคนรุ่นใหม่ที่มีความมุ่งมั่นในการที่จะตรวจสอบการคอร์รัปชันในสังคม รวมถึงภาคเอกชนที่ส่งเสริมการดำเนินธุรกิจที่โปร่งใส และการนำเทคโนโลยีมาใช้ตรวจสอบข้อมูลการทำงานของภาครัฐและภาคเอกชน ความพยายามเหล่านี้ถือเป็นส่วนสำคัญที่สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่จะแก้ปัญหาคอร์รัปชันที่มากขึ้นในสังคมไทย”
ทั้งนี้ ผศ.ดร.ต่อภัสสร์ ยมนาค หัวหน้าศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค กล่าวสรุปว่า การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในครั้งนี้เป็นการตอกย้ำความพร้อมของประเทศไทยสู่การก้าวขึ้นเป็นผู้นำด้านการต่อต้านคอร์รัปชัน ภายใต้ฐานขององค์ความรู้ทางวิชาการสู่การปฏิบัติ และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือนานาชาติผ่านโครงการและกิจกรรมต่อต้านคอร์รัปชันของศูนย์ฯ ตลอดทั้งปี 2566 ได้แก่ หลักสูตรการต่อต้านคอร์รัปชันและส่งเสริมธรรมาธิบาลออนไลน์ หลักสูตรการต่อต้านคอร์รัปชันเชิงปฏิบัติการสำหรับข้าราชการ ฐานข้อมูลองค์ความรู้ด้านการต่อต้านคอร์รัปชัน และกิจกรรมการส่งเสริมการลงมือต้านโกงกับเครือข่ายระดับนานาชาติ โดยวันที่ 16 มิถุนายน 2566 ทางศูนย์ฯ จะจัดการประชุมเชิงวิชาการระดับนานาชาติ ครั้งที่ 1 เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ งานวิชาการ และนวัตกรรมการต่อต้านคอร์รัปชัน พร้อมขับเคลื่อนงานร่วมกันในระยะยาว
“ศูนย์ KRAC จะเป็นจุดเริ่มต้นที่จุดประกายความหวังของสังคมและสร้างบุคลากรที่จะเข้ามามีส่วนร่วมการต่อต้านคอร์รัปชันและการส่งเสริมธรรมาภิบาลของสังคมไทย” ผศ.ดร.ต่อภัสสร์กล่าวในที่สุด
จุฬาฯ จัดปฐมนิเทศอาจารย์ใหม่และนักวิจัยใหม่ หลักสูตร “พัฒนาศักยภาพอาจารย์ใหม่และนักวิจัยใหม่” รุ่นที่ 30
คณะศิลปกรรมศาสตร์จุฬาฯ กับงาน Night Museum at Chula
อาจารย์ นักวิจัยจุฬาฯ ได้รับรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2568 : นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ผลงานวิจัย วิทยานิพนธ์ ผลงานประดิษฐ์คิดค้น
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ จัดเทศกาล “มอบหนังสือเป็นสื่อแทนใจ”ชวนมอบหนังสือเป็นของขวัญปีใหม่
อธิการบดีจุฬาฯ มอบพระบรมรูปจำลองสองรัชกาล แก่ผู้บริจาคเงิน “จุฬาฯ ช่วยกาชาด บรรเทาทุกข์ 1,000 บาท 1 ถุงยังชีพ”
หน่วยบริการแบบเบ็ดเสร็จจุดเดียว (One-Stop Service) สำหรับนิสิตและบุคลากรชาวต่างชาติ จุฬาฯ
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้