รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
27 กรกฎาคม 2561
ข่าวเด่น
การเดินทางภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีให้เลือกหลากหลายเส้นทาง หนึ่งในวิธีการสัญจรในจุฬาฯ ที่มีสุดยอดแห่งนวัตกรรมช่วยให้เดินทางได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ที่สำคัญคือไม่ก่อมลพิษทางอากาศก็คือ CU TOYOTA Ha:mo รถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็กที่ใช้พลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อนเพียง 5 กิโลวัตต์ สามารถวิ่งบนท้องถนนได้จริงในระยะ 50 กิโลเมตรและวิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งถือว่าเป็นความเร็วที่เหมาะสมกับการเดินทางภายในสถานศึกษา ด้วยรูปลักษณ์ของ CU TOYOTA Ha:mo ที่มีความกะทัดรัดและทันสมัย สามารถโดยสารได้เพียงหนึ่งที่นั่งเท่านั้น สดใสด้วยสีขาว ลายชมพูแซมสีดำ-เทา แถมวิ่งขึ้นเนินและที่ลาดชันได้ 11 องศา ใช้ระบบการชาร์จไฟแบบเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไป (เสียบปลั๊กและใช้ไฟกระแสสลับ 220 โวลท์) ใช้เวลาชาร์จ 6 ชั่วโมงก็มีพลังงานเพียงพอต่อการใช้งาน
CU TOYOTA Ha:mo เป็นความร่วมมือระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด และบริษัทคอนเน็คเต็ด ในการนำเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้าสาธารณะมาใช้เชื่อมต่อการเดินทางเพื่อให้เกิดความคล่องตัว ราบรื่น และไร้รอยต่อ สามารถเดินทางได้อย่างอิสระโดยไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็กในการสัญจรบนท้องถนนครั้งแรกที่ประเทศญี่ปุ่น ภายในโตโยต้าซิตี้ที่โตเกียว โอโกยาม่า และโอกินาว่า ต่อมาถูกนำมาใช้ที่ประเทศฝรั่งเศสในเมืองเกรโนเบิล และประเทศไทยที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ในการใช้งานถือว่าสะดวกสบายและคล่องตัว ตั้งแต่สถานีที่ใช้บริการที่ครอบคลุมพื้นที่สำคัญภายในจุฬาฯ และเชื่อมต่อระบบขนส่งอื่นๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย รวมทั้งยังมีช่องเก็บของท้ายรถไม่ต้องถือของหนักพะรุงพะรัง และที่สำคัญใช้พลังงานสะอาดที่ได้มาจากการชาร์จไฟ ซึ่งมีปลั๊กไฟให้บริการทุกสถานีและทุกช่องจอดรถ
สำหรับการเดินทางมีค่าใช้จ่ายในการใช้บริการ เนื่องจากมีการชาร์จด้วยไฟฟ้า โดยมีอัตราค่าบริการเพียงแค่ 30 บาทต่อการใช้รถ 20 นาที ส่วนนาทีต่อไปคิดเพียงนาทีละ 2 บาท
แค่เปลี่ยนวิธีการเดินทางก็ช่วยประหยัดพลังงานได้ Together we can มันใจเราทำได้!
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมสองกิจกรรมโครงการ “เล่นเพลินสำหรับเด็กปฐมวัย” “นิทานฟังเพลิน” และ “Happy Play Day”
อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น “อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ปอมท.” ประจำปี 2567
อธิการบดีจุฬาฯ ได้รับเลือกเป็นประธานสมาคมสถาบันการศึกษาขั้นอุดมแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASAIHL) ปี 2025-2026
นิสิตภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขัน CHOICEISYOURS 2024
จุฬาฯ เชิญชวนร่วมงาน “One Stop Open House 2024” โดยกระทรวง อว. ระหว่างวันที่ 27 พ.ย. – 1 ธ.ค. 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
เชิญผู้สนใจเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมด้านจิตวิทยา “BRIDGING DISCIPLINES: Incorporate Psychology into Your Endeavor”
8 ม.ค. 2568 เวลา 09.00 – 16.00 น.
ชั้น 6 อาคารบรมราชชนนีศรีศตพรรษ คณะจิตวิทยา จุฬาฯ
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้