รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
9 พฤษภาคม 2566
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
ผู้เขียน นิธิกานต์ ปภรภัฒ
จากความมุ่งมั่นในการส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมให้ทุกคนลดการใช้พลาสติกชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้งในทุก ๆ วันเพื่อลดการเกิดขยะที่จะกลายเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อม เป็นที่มาของการร่วมมือกันระหว่าง “โครงการ Chula Zero Waste” “ECOLIFE Application” และ “แบรนด์ Yves Rocher – LG and Friends – Little Big Green” แคมเปญจน์ Yves Rocher x LG and Friends : Act Beautiful to Make a Sustainable Difference จึงเกิดขึ้นและได้จัดงานแถลงข่าวไปเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2566 โดยมี Mr.Guillaume Lecointre ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Yves Rocher, Southeast Asia and Hong Kong เป็นประธานในครั้งนี้
“Act Beautiful to Make a Sustainable Difference เปลี่ยนแปลงอย่างสวยงามให้โลกยั่งยืน” คือเป้าหมายของ Yves Rocher แบรนด์ผลิตภัณฑ์เชี่ยวชาญด้านพฤกษศาสตร์เพื่อความงามแห่งผิวพรรณและเส้นผม ที่อยากจะสร้างความตระหนักรู้เรื่องการดำเนินชีวิตที่ส่งผลต่อความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมและสังคมให้กับผู้บริโภค นำไปสู่การลงมือลดขยะในชีวิตประจำวันแบบง่าย ๆ เช่น การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ลดการสร้างขยะที่เกินความจำเป็น โดยได้จับมือกับคุณลูกกอล์ฟ คณาธิป สุนทรรักษ์ นิสิตเก่าคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้สร้าง LG and Friends โซเชียลคอมมิวนิตีที่มีผู้ติดตามกว่า 1 ล้านคน ที่คอยกระตุ้นให้เพื่อนรอบตัว รวมถึงผู้ติดตามในโซเชียลคอมมิวนิตีได้มีแนวทางการใช้ชีวิตแบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือมีกิจวัตรประจำวันในแบบรักษ์โลกได้ในทุกวัน
การร่วมมือกันในครั้งนี้ถือเป็นการขยายเครือข่ายพันธมิตรของ Yves Rocher x LG and Friends โดยคุณลูกกอล์ฟในฐานะ Friend of Yves Rocher ได้นำเงินค่าตอบแทนของตนมาร่วมผลักดันกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนกับหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อม 2 หน่วยงาน คือ Chula Zero Waste เพื่อส่งเสริมให้เกิดการลดใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ECOLIFE Application เพื่อสนับสนุนให้เกิดจัดการบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วอย่างเหมาะสมและเกิดการหมุนเวียนทรัพยากรกลับเข้าสู่กระบวนการผลิตได้ใหม่อีกครั้ง
Chula Zero Waste เป็นหน่วยงานในการจัดการขยะอย่างยั่งยืนภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใช้หลักการ “Waste Hierarchy” ในการดำเนินงาน มีการบริหารจัดการทั้งด้านนโยบาย การสร้างความตระหนักรู้ให้กับประชาคมจุฬาฯ สร้างสิ่งแวดล้อมที่สนับสนุนให้เกิดพฤติกรรมลดและแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง เช่น แคมเปญจน์ลดราคาค่าเครื่องดื่มให้กับผู้ที่นำแก้วน้ำส่วนตัว ติดตั้งตู้กดน้ำมากกว่า 130 ตู้ทั่วมหาวิทยาลัย รวมถึงการบริหารจัดการในการเก็บ ขน กำจัดขยะประเภทต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในมหาวิทยาลัยอย่างเป็นระบบและเหมาะสมกับขยะแต่ละประเภท ด้วยวัตถุประสงค์ที่มีร่วมกันจึงเป็นที่มาของการสนับสนุนให้มีตู้กดน้ำดื่มอัตโนมัติภายในโรงอาหารหลัก 7 แห่งเพิ่มเติม
ตู้กดน้ำที่ได้รับการสนับสนุนมานี้ เป็นตู้จ่ายน้ำดื่มสะอาด เย็น ด้วยระบบอัตโนมัติ ทำงานได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องสัมผัส เพิ่มความมั่นใจให้กับผู้ใช้งานด้วยไฟแสดงผลคุณภาพเครื่องกรอง ซึ่งตู้กดน้ำที่ได้รับการสนับสนุนทั้ง 7 เครื่องจะพร้อมให้บริการในช่วงเดือนสิงหาคม 2566 นอกจากนี้ Yves Rocher – LG and Friends – Little Big Green ยังได้ร่วมสนับสนุน “กิจกรรม Your Cup, We Treat” กิจกรรมแจกเครื่องดื่มฟรีสำหรับทุกคนที่พกกระติกหรือแก้วส่วนตัวมาใช้ เพื่อสนับสนุนและให้กำลังใจผู้ที่มีพฤติกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมในปีการศึกษา 2566 อีกด้วย ด้วยความร่วมมือใน 2 กิจกรรมที่กำลังจะเกิดขึ้น คาดว่าจะช่วยลดการเกิดขยะพลาสติกได้มากถึง 360,000 ชิ้นภายในระยะเวลา 1 ปี (การบริโภคน้ำบรรจุขวดพลาสติก 1 ขวด เกิดขยะ 3 ชิ้น คือ ขวด ฉลาก และฝาขวด ซึ่งสามารถเข้าสู่กระบวนการ Recycle ได้จริงเพียงขวดพลาสติกเท่านั้น และการบริโภค ชา/กาแฟ แบบแก้วจากร้านค้า สร้างขยะน้อยที่สุด 3 ชิ้น ได้แก่ หลอด แก้ว และ ฝาครอบ)
ติดตามภารกิจและกิจกรรมของโครงการ Chula Zero Waste ได้ที่ chulazerowaste.chula.ac.th
หรือทาง Facebook : chulazerowaste และ Twitter : chulazerowaste
สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายด้านการบริหารจัดการขยะและขยะอันตราย ขับเคลื่อนความยั่งยืนในจุฬาฯ
ข้อมูลและภาพ จาก Chula Zero Waste
งาน “ใต้ร่มพระบารมี 243 ปี กรุงรัตนโกสินทร์” ณ อุทยาน 100 ปี จุฬาฯ กระทรวงวัฒนธรรมนำการแสดง ศิลปะ อาหาร จัดแสดงอย่างยิ่งใหญ่
จุฬาฯ จับมือพันธมิตร 6 ฝ่าย ร่วมลงนาม MOU “โครงการพัฒนาผู้พิทักษ์สิ่งแวดล้อมรุ่นเยาว์” เดินหน้าสร้างผู้นำเยาวชนด้านสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
จุฬาฯ ตรวจสุขภาพแรงงานฟรี เนื่องในวันแรงงาน 1 พฤษภาคม 2568 ที่สยามสแควร์
1 พ.ค. 68 เวลา 08.00 -20.00 น.
สยามสแควร์
“MDCU MedUMORE” โดยคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับรางวัล Winner “THE Awards Asia 2025” ประเภท Technological or Digital Innovation of the Year
ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ จัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และองค์ความรู้ฮาลาลในงานเมาลิดกลางแห่งประเทศไทย ฮ.ศ. 1446
เชิญชวนคณาจารย์จุฬาฯ สมัครและเสนอชื่อผู้สมัครรับการเลือกตั้งเพิ่มเติม สมาชิกสภาคณาจารย์ พ.ศ. 2568
23 - 28 เมษายน 2568
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้