ข่าวสารจุฬาฯ

พิธีปิดโครงการพระราม 4 โมเดล การปลดล็อคข้อมูลการจราจรเพื่ออนาคตที่ดีกว่า (Bangkok Rama 4 Model)

ผู้บริหารจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมงานแถลงข่าวผลการศึกษาวิจัยและพิธีปิดโครงการพระราม 4 โมเดล: “Unlocking Traffic Data for a Better Tomorrow – การปลดล็อคข้อมูลการจราจรเพื่ออนาคตที่ดีกว่า” ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันอังคารที่ 25 เมษายน 2566 ณ โรงแรม ดิ โอกุระ เพรสทีจ กรุงเทพฯ เพื่ออธิบายสิ่งที่ได้เรียนรู้และข้อเสนอแนะจากโครงการที่ดำเนินการมากว่า 3 ปี โดยการใช้ข้อมูลเป็นศูนย์กลางเพื่อหาแนวทางลดปัญหาจราจรในกรุงเทพฯ โครงการดังกล่าวเริ่มขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 2562 โดยมุ่งเน้นที่ถนนพระรามสี่เป็นพื้นที่ทดลองทำการรวบรวมข้อมูล และหาข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการใช้ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพในการลดปัญหาและเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการจราจร

งานแถลงข่าวครั้งนี้ นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม มอบหมายให้ นายมนตรี เดชาสกุลสม ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานในพิธี ร่วมกับ ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เพื่อรับทราบผลการดำเนินงานของโครงการและร่วมแสดงความคิดเห็น


ผู้ร่วมงานแถลงข่าวประกอบด้วย รศ.ดร.วิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายปัญญา ชูพานิช ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร พล.ต.ต.จิรสันต์ แก้วแสงเอก รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล น.ส.สตตกมล เกียรติพานิช ผู้อำนวยการกองบริหารทุนวิจัยและนวัตกรรม 2 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ มร.ปาซานา คุมาร์ กาเนซ ผู้อำนวยการโครงการมูลนิธิ โตโยต้า โมบิลิตี้ รศ.ดร.จิตติศักดิ์ ธรรมาภรณ์พิลาศ รองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดร.ศุภิชัย ตั้งใจตรง กรรมการผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คุณนินนาท ไชยธีรภิญโญ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด และประธานมูลนิธิศูนย์ข้อมูลจราจรอัจฉริยะไทย คุณวรฉัตร ลักขณาโรจน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แกร็บแท็กซี่ (ประเทศไทย) และคุณสุรภูมิ อุดมวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รวมถึงหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง

 ทั้งนี้ภายในงาน รศ.ดร.จิตติศักดิ์ ธรรมาภรณ์พิลาศ รองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้านการจัดการทรัพย์สินและกายภาพ และ มร.ปาซานา คุมาร์ กาเนซ ผู้อำนวยการโครงการมูลนิธิ โตโยต้า โมบิลิตี้ ร่วมเป็นผู้แทนส่งมอบอุปกรณ์และเครื่องมือ CCTV AI & Sensors และ War Room Hardware สำหรับการจัดการจราจรกรุงเทพมหานคร โดยมี ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และพล.ต.ต.จิรสันต์ แก้วแสงเอก รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล เป็นผู้รับมอบเพื่อใช้ดำเนินการจัดการจราจรเพื่อลดปัญหาและเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการจราจรต่อไป


โครงการพระราม 4 โมเดล: “Unlocking Traffic Data for a Better Tomorrow – การปลดล็อคข้อมูลการจราจรเพื่ออนาคตที่ดีกว่า” เป็นความร่วมมือภายใต้การดำเนินงานของกระทรวงคมนาคม กรุงเทพมหานคร สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และกองบัญชาการตำรวจนครบาล โดยได้รับความร่วมมือจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมูลนิธิโตโยต้า โมบิลิตี้ ในการดำเนินการแบบมีส่วนร่วมในการศึกษาและร่วมออกแบบการจัดการจราจรด้วยการนำเทคโนโลยีการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) มาบริหารจัดการสัญญาณไฟจราจรในแต่ละแยกยุทธศาสตร์บนถนนพระรามสี่ เช่น การนำข้อมูลจากระบบกล้อง CCTV และระบบ GPS ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาบูรณาการ และพัฒนาระบบวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาของถนนพระรามสี่ ซึ่งเป็นการดำเนินการเชิงทดลองด้วยการรวบรวมข้อมูลเชิงลึกทั้งสภาพทางภูมิศาสตร์ ข้อมูลปัญหาเชิงลึกที่เกิดขึ้นในการใช้รถใช้ถนนนับจากอดีตนับตั้งแต่โครงการสาทรโมเดลเมื่อปี 2558-2560 มาจนถึงโครงการพระราม 4 โมเดลในปัจจุบัน รวมไปถึงการนำองค์ความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากการเรียนรู้ในการวิจัยร่วมกันของทุกภาคส่วนมาดำเนินการทดลองในการจัดทำข้อมูลและแผนที่การจัดการจราจรอย่างมีประสิทธิภาพ จนได้เป็นการบริหารจัดการจราจร โดย “กลยุทธ์เห็นช้างทั้งตัว” เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาการจราจรที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพของประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณย่านพระรามสี่อย่างจริงจัง ซึ่งจากการดำเนินการศึกษาชี้ให้เห็นถึงความสำคัญอย่างยิ่งของการนำเทคโนโลยีข้อมูลมาทำให้เห็นเป็นรูปธรรม ความจริงจังในการพัฒนาระบบข้อมูลจะก่อให้เกิดแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดทั้งในปัจจุบันและอนาคต รวมถึงเกิดผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมสูงสุด สามารถนำไปขยายผลปฏิบัติใช้ในวงกว้างสำหรับประเทศ และเป็นตัวอย่างที่ดีของเมืองต่าง ๆ ของโลกต่อไป


ผลการวิจัยที่ได้จากโมเดลพระราม 4 ได้ถูกรวบรวมและจัดพิมพ์ในรูปแบบ E-Book เพื่อแบ่งปันเป็นองค์ความรู้ให้กับผู้ที่สนใจ โดยสามารถดาวน์โหลดได้ที่ https://service.rama4model.in.th/documents/eBook_Rama4Model.pdf

ผู้สนใจสามารถติดต่อรายละเอียดเพิ่มเติม และขอรับบริการด้านการวิชาการจากศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ที่ http://www.unisearch.chula.ac.th/index.php/th/

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า