รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
11 พฤษภาคม 2566
ข่าวเด่น
ผู้เขียน ธิติรัตน์ สมบูรณ์
โควิด-19 ได้เปลี่ยนเป็นโรคประจำฤดูกาล ขณะนี้กำลังจะเข้าสู่ฤดูกาลระบาดของโรคคือในฤดูฝนหรือช่วงนักเรียนเปิดเทอมแรก โควิด-19 ยังคงเป็นโรคติดต่อที่ควรเฝ้าระวัง เนื่องจากจำนวนผู้ติดเชื้อยังคงมีอย่างต่อเนื่อง แม้อาการของโรคจะลดความรุนแรงลงก็ตาม ในขณะที่หลายคนยังพะวงกับการระบาดของโควิด-19 มีข้อมูลจากนักวิจัยพบว่ายังมีกลุ่มผู้ที่ไม่เคยติดเชื้อโควิด-19 หรือที่เรียกว่ากลุ่ม “โนวิด”
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้ให้ข้อมูลว่า โนวิด (Novid) เป็นชื่อเรียกบุคคลที่ใกล้ชิดผู้ป่วยโควิด แล้วไม่ติดเชื้อ “โนวิด” มาจากการรวมคำว่า No” และ “COVID” เข้าด้วยกัน ซึ่งหมายถึงสถานการณ์ที่หลายคนสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยโควิด เช่นบุคคลในครอบครัวเป็นโควิด แม่ ลูกใกล้ชิดกันมากแต่ไม่ติดเชื้อ ผู้ที่ทำงานในสถานที่ที่มีคนอยู่เป็นจำนวนมาก หลีกเลี่ยงยาก เช่น ในสถานบันเทิง ตลาด สัมผัสผู้คนจํานวนมาก แต่ก็ไม่เป็นโควิดในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19
“ปัจจุบันพบคนที่ยังไม่ติดโควิด-19 น้อยกว่า 20% ทั้งนี้มีบางคนอาจปฏิบัติอย่างเคร่งครัด จึงทำให้ยังไม่ติด แต่บางคนก็อยู่ในสถาการณ์สัมผัสโรค แต่กลับไม่ติด ซึ่งอยู่ในกลุ่มที่เรียกว่าโนวิด” ศ.นพ.ยง กล่าว
งานวิจัยหลากหลายแห่งได้ให้ความสนใจทางพันธุกรรมหรือยีนบางอย่างที่มีกลไกในการต้านทานการรับเชื้อ จากงานวิจัยพบผู้ป่วย HIV อาจจะมียีนจําเพาะต่อต้านการเข้าเซลล์ของเชื้อ HIV ในโควิด ซึ่งยังไม่รู้แน่ชัดว่ามียีนต้านทานโควิดหรือไม่ เชื่อว่ามีเพียงจำนวนน้อยมาก มีการดำเนินการวิจัยอยู่จากหลายภาคส่วน เพื่อหาวิธีการรับมือกับโรคระบาดต่อไป
ศ.นพ.ยงให้ข้อมูลว่าการระบาดรอบใหม่ของโควิด-19 ด้วยโควิดสายพันธุ์ดาวดวงแก้ว, Arctulus (XBB.1 .16) ได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงสถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19 โควิดสายพันธุ์ใหม่นี้ ความรุนแรงไม่แตกต่างจากสายพันธุ์เดิม แต่สามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว
โควิดสายพันธุ์ดาวดวงแก้ว (XBB.1.16) เป็นสายพันธุ์ใหม่ที่มีต้นกำเนิดขึ้นในประเทศอินเดียและได้รับการรายงานว่าเข้ามาในประเทศไทยในช่วงต้นปี 2566 ซึ่งเข้ามาแทนที่สายพันธ์ุที่แพร่กระจายในปัจจุบันอย่างสายพันธุ์ปลาหมึกยักษ์ (Kraken) XBB.1.5 การติดต่อและการแพร่กระจายของสายพันธุ์นี้เป็นไปอย่างรวดเร็วมากขึ้นประมาณ 1.2 เท่า และระบาดมากกว่า 30 ประเทศแล้ว ซึ่งประเทศไทยก็คงหนีไม่พ้นโควิด-19 สายพันธุ์ดาวดวงแก้วเข้ามาแทนที่สายพันธุ์ปลาหมึกยักษ์
ศ.นพ.ยง ชี้ว่าโควิด-19 สายพันธุ์ดาวดวงแก้ว (XBB.1.16) ไม่ได้รุนแรงไปกว่าสายพันธุ์เดิม แต่แพร่ระบาดง่าย เมื่อมีผู้ป่วยจำนวนมากก็ต้องพบผู้ป่วยอาการมากเป็นอัตราส่วนปกติ การดูแลรักษาผู็ป่วยก็ยังคงใช้วิธีการเช่นเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะเฝ้าระวังอันตรายในกลุ่มเสี่ยง 608 และเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 2 ปี
วัคซีนเป็นเครื่องมือสำคัญในการป้องกันการติดเชื้อ COVID-19 และช่วยลดความรุนแรงของโรค วัคซีน COVID-19 มีจำนวนมากให้เลือก ซึ่งสามารถป้องกันการติดเชื้อ COVID-19 และลดความรุนแรงของโรคได้ รวมถึงการฉีดเข็มกระตุ้น ปีละครั้ง แนะนำให้วัคซีน COVID-19 เพื่อลดความรุนแรงของโรค โดยเฉพาะในกลุ่มเปราะบางและกลุ่มเสี่ยง ในช่วงจุดสูงสุดการระบาดที่กำลังเกิดขึ้นในช่วงฤดูฝน การให้วัคซีนกระตุ้นอาจพิจารณาให้ในผู้ที่เสี่ยงต่อการติดโรค เช่น ผู้ที่สัมผัสกับผู้คนเป็นจำนวนมาก บุคลากรด่านหน้า คล้ายกับการให้วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ส่วนในคนปกติที่มีอายุน้อยกว่า 60 ปี ก็คงขึ้นอยู่กับความสมัครใจ
“นอกจากการฉีดวัคซีนแล้ว การป้องกันโรค COVID-19 ก็เป็นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน ซึ่งก็เหมือนกับวิธีการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อทางเดินหายใจอื่น ๆ แนะนำให้ปฏิบัติตามมาตรการเบื้องต้น เช่น ใส่หน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ในที่สาธารณะ รักษาความสะอาดโดยใช้น้ำสบู่หรือแอลกอฮอล์เจล และหลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือการหายใจใกล้ชิดกับผู้ที่มีอาการเจ็บป่วย” ศ.นพ.ยง กล่าวทิ้งท้าย
จุฬาฯ จัดงาน “สยามานุสสติ ผสาน…ปณิธาน” การแสดงทางศิลปวัฒนธรรมโดยนิสิตจุฬาฯ
นิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ และคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศจากการแข่งขัน Spark the Local 2024 by PTT
บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ เปิดอบรมหลักสูตร “เครื่องมือการจัดการสิ่งแวดล้อม”
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ต้อนรับผู้แทนจาก Indiana University สหรัฐอเมริกา เจรจาแนวทางความร่วมมือทางวิชาการ
ศศินทร์จัด Open House แนะนำหลักสูตรต่างๆ วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2567
30 พ.ย. 67 เวลา 10.00 น.
ศศินทร์ จุฬาฯ
เชิญฟังการบรรยาย Chula Lunch Talk หัวข้อ “Smart VET-Learning: นวัตกรรม AR สู่การศึกษาสัตวแพทย์ยุคดิจิทัล”
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้