ข่าวสารจุฬาฯ

CU Top 10 News รวมเรื่องเด่นเดือนมกราคม – มีนาคม 2566

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ทรงร่วมงานครบรอบ 106 ปีแห่งการสถาปนาจุฬาฯ

https://www.chula.ac.th/news/109116/

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด้จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  สยามบรมราชกุมารีทรงวางพุ่มดอกไม้ และทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยถวายราชสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า จากนั้นเสด็จฯ ทรงบาตรร่วมกับผู้บริหารมหาวิทยาลัย คณาจารย์ บุคลากร นิสิตเก่า นิสิตปัจจุบัน ณ บริเวณเสาธง หน้าหอประชุมจุฬาฯ ทรงร่วมพิธีถวายชัยมงคลเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ ทอดพระเนตรและทรงดนตรีไทยในการแสดงดนตรีไทยปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์  ทอดพระเนตรนิทรรศการ “สารพัดเรื่องของ ศ.พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ  กระดาษ เส้นเสียงและอักษร” และนิทรรศการ Hidden Gems” ทรงกดปุ่มไฟฟ้าเปิดแพรคลุมป้ายชื่อ “อาคารสรรพศาสตร์วิจัย” 

จุฬาฯ ที่ 1 มหาวิทยาลัยไทย TOP 30 สาขา การจัดอันดับมหาวิทยาลัย โดย QS World University Rankings by Subject 2023

https://www.chula.ac.th/news/109725/

จุฬาฯ ครองอันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทยใน 4 กลุ่มสาขา (Broad Subject) และอันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทยใน 30 สาขาวิชาเฉพาะ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 4 สาขาวิชาเฉพาะ ประกอบด้วย กลุ่มสาขา Art & Humanities 6 สาขา กลุ่มสาขา Engineering & Technology 7 สาขา กลุ่มสาขา Natural Sciences 5 สาขา กลุ่มสาขา Social Sciences & Management  11 สาขา  และกลุ่มสาขา Life Sciences & Medicine 1 สาขา ทั้งนี้มี 6 สาขาวิชาของจุฬาฯ ที่ติด Tpo 100 ของโลก  7 สาขาวิชาที่ติด Top 150 ของโลก และ 7 สาขาวิชาที่ติด Top 200 ของโลก 

บ่งชี้ความเสี่ยงสมองเสื่อมด้วยแอปพลิเคชันตรวจการได้ยินด้วยคำพูดภาษาไทยครั้งแรกในไทย https://www.chula.ac.th/news/98229/

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ และ University College London (UCL) ประเทศอังกฤษ ได้พัฒนา Application ตรวจการได้ยินด้วยคำพูด ช่วยป้องกันและชะลอภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุซึ่งยังไม่สามารถรักษาให้หายได้ ซึ่งเป็นการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากประเทศอังกฤษ าร้างเป็นแอปพลิเคชันตรวจการได้ยินด้วยคำพูดครั้งแรกในประเทศไทย สามารถดาวน์โหลดใช้งานง่ายผ่านโทรศัพท์สมาร์ทโฟน

จุฬาฯ แถลงความก้าวหน้านวัตกรรม “เซลล์บำบัดมะเร็ง CAR-T cell” โอกาสใหม่ของผู้ป่วยมะเร็งของไทย โดยศูนย์ความเป็นเลิศด้านภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็ง คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ

https://www.chula.ac.th/news/109494/

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ด้วยความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยนาโกย่า ประเทศญี่ปุ่น ประสบผลสำเร็จในการวิจัยรักษาผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองในผู้ป่วยชาวไทยด้วย CAR-T cell พร้อม

จัดตั้งสถานที่ผลิตเซลล์ภายในโรงพยาบาล ได้รับการรับรองแห่งแรกในประเทศไทยและนวัตกรรมการผลิต CAR-T cell รักษาผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ลดต้นทุนการผลิตได้ถึง 10 เท่า 

จุฬาฯ พัฒนา MyCourseVille เครื่องมือการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ ตอบโจทย์การเรียนรู้ยุคใหม่

https://www.chula.ac.th/news/108510/

MyCourseVille เป็นเครื่องมือที่จุฬาฯ นำมาใช้ในระบบบริหารจัดการเรียนการสอน (Learning Management System : LMS) สำหรับคณาจารย์และนิสิต แทนระบบ Blackboard ตั้งแต่ปีการศึกษา 2565 เป็นต้นมา สามารถทำให้ผู้เรียนเข้าถึงบทเรียนได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว ตอบโจทย์การเรียนรู้และการร่วมกิจกรรมของผู้เรียนในยุคใหม่ได้เป็นอย่างดี มีฟังก์ชั่นพิเศษที่สามารถวิเคราะห์การเรียนรู้ของผู้เรียนได้

วิศวฯ จุฬาฯ ร่วมกับ กสทช. สาธิตการทำงาน โครงการทดลองการสื่อสารด้วยระบบ 5G สำหรับรถไร้คนขับ

https://www.chula.ac.th/news/107010/

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงาน กสทช. ภายใต้กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ ในการดำเนินงานวิจัยโมเดลนำร่อง      “รถยนต์ไร้คนขับ” ทั้งนี้ ได้มีการสาธิตการทดสอบรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ ในระดับที่ 3 (Autonomous shuttle – Level 3) การสื่อสารข้อมูลระหว่างรถอัตโนมัติกับระบบต่างๆ ภายใต้โครงข่ายการสื่อสาร 5G C-V2X และการทดสอบประสิทธิภาพ (Connectivity) การวิเคราะข้อมูลด้วย AI (Use Cases) หรือการใช้งานเพื่อเก็บข้อมูลพฤติกรรมผู้โดยสารและผู้ขับขี่

นายกรัฐมนตรีเยี่ยมชมศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ  ชื่นชม “วิทยาศาสตร์ฮาลาล พลังละมุนแห่งผลิตภัณฑ์และบริการฮาลาลประเทศไทย”

https://www.chula.ac.th/news/106593/

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เยี่ยมชมความก้าวหน้าของงานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมฮาลาล ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นสถาบันด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาลแห่งแรกในโลก ซึ่งเป็นต้นแบบให้เกิดการพัฒนางานด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาลในหลายประเทศมุสลิม  ซึ่งเป็นที่น่าภาคภูมิใจสำหรับคนไทยและประเทศไทย ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ มีบทบาทสำคัญในการสร้างประโยชน์ต่อภาคเศรษฐกิจของประเทศ ส่งผลให้สินค้าฮาลาลของไทยมีมาตรฐานในระดับสากล

จุฬาฯ ชวน “หวานน้อยลงหน่อย” ห่วงคนไทย เสี่ยงภัยเบาหวานจับมือสตาร์ทอัพสร้างแพลตฟอร์มคุมอาหาร

https://www.chula.ac.th/news/105228/

จุฬาฯ จัดงานเสวนา  CHULA the Impact ครั้งที่ 16 แถลงข่าวเปิดโครงการรณรงค์ “หวานน้อยลงหน่อย” และพิธีลงนามความร่วมมือสนับสนุนการพัฒนาแพลตฟอร์มการแพทย์แม่นยำแบบบูรณาการ เพื่อการป้องกัน วินิจฉัย และรักษาโรคเบาหวาน ระหว่างศูนย์วิจัยวิศวกรรมชีวเวช (Biomedical Engineering Research Center) คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กับภาคีเครือข่าย

เปิดตัวผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อสุขภาพ Innobic Pro Beta-Glucan+ ต่อยอดผลิตภัณฑ์เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิต แข่งขันได้ในระดับสากล

https://www.chula.ac.th/news/102981/

คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ร่วมมือกับบริษัท อินโนบิก (เอเซีย) จำกัด พัฒนาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร Innobic สู่เชิงพาณิชย์ เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้บริโภค สร้างมูลค่าเพิ่ม และความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระดับสากล ภายใต้แนวคิด Open Innovation Platform หรือการดำเนินธุรกิจแบบเปิดรับและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และนวัตกรรมร่วมกัน โดยผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร Innobic ซึ่งเป็นความร่วมมือกับคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ นั้น ได้แก่  ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร Innobic Pro Beta – Glucan+   

Chula TUN-T ระบบรายงาน แก้ไข ติดตามปัญหาได้ทันที

https://www.chula.ac.th/news/98157/

จุฬาฯ พัฒนาระบบ Chula TUN-T (ทันที) : The University Notification Technology เทคโนโลยีช่วยรับแจ้งปัญหา สำหรับบุคลากรจุฬาฯ นิสิต และผู้ที่เข้ามาทำกิจกรรมภายในจุฬาฯ โดยเน้นรับปัญหาด้านกายภาพ และสิ่งอำนวยความสะดวกในมหาวิทยาลัย เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหา และติดตามการดำเนินงาน และการแก้ไข ในพื้นที่จุฬาฯ ได้อย่างทันท่วงที สามารถเข้าถึงได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว โดยเข้าใช้ผ่านไลน์ @chula.tun-t

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า