ข่าวสารจุฬาฯ

จุฬาฯ เสนอภาพรวมพัฒนาจังหวัดน่าน และฐานข้อมูล GIS เพื่อสนับสนุนการวางแผนพัฒนา

เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2566 ณ ศาลากลางจังหวัดน่าน นายวิบูรณ์ แววบัณฑิต ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน ได้ประชุมหารือกับคณะทำงานร่วมมือจังหวัดน่านและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการพัฒนาจังหวัดน่าน โดยคณะทำงานจุฬาฯ นำเสนอผลงานของคณาจารย์และนักวิจัยจุฬาฯที่ดำเนินการในพื้นที่จังหวัดน่าน นำโดย ศ.ดร.จักรพันธ์ สุทธิรัตน์ รองอธิการบดี ด้านการวิจัย รศ.ดร.พรรณี ชีวินศิริวัฒน์ ผู้ช่วยอธิการบดี งานด้านวิจัย รศ.ภก.ดร.วิทยา กุลสมบูรณ์ ผู้อำนวยการกองทุนศตวรรษที่ 2 แห่งจุฬาฯ คณาจารย์และนักวิจัยจากหน่วยงานของจุฬาฯ

ทั้งนี้ คุณอัฐฟ้า ก้อนทอง หัวหน้าสำนักงานจังหวัดน่าน และคณะได้ร่วมหารือในส่วนคณะทำงานจังหวัดน่าน รศ.ดร.พรรณี ชีวินศิริวัฒน์ ผู้ช่วยอธิการบดี งานด้านวิจัยและหัวหน้าโครงการพัฒนาระบบประมวลผลงานด้วย GIS ได้นำเสนอผลงานภาพรวมในการพัฒนาจังหวัดน่าน โดยใช้ระบบ Geographic Information System หรือ GIS ที่ประมวลผลงานเชิงพื้นที่ เป็นระบบที่ผู้ใช้งานสามารถเข้าดูโครงการผลการดำเนินการ ผู้ดำเนินการ และรายละเอียดโครงการ ข้อความพร้อมภาพกิจกรรมรวมไว้ในการสืบค้นการดำเนินการ ประกอบด้วย กิจกรรมการพัฒนาเชิงพื้นที่ในจังหวัดน่านของคณะ สถาบันวิจัย หน่วยงานในกำกับของจุฬาฯ เช่น สำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม สถาบันเอเชียศึกษา คณะต่างๆ เป็นต้น 

ผู้สนใจสามารถเข้าชมภาพรวมการพัฒนาจังหวัดน่านของจุฬาฯได้ที่
  http://geography.arts.chula.ac.th/chula_project

ผศ.ดร.ธัญศิภรณ์ ณ น่าน สำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร จุฬาฯ นำเสนอผลสัมฤทธิ์จากการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาและยกระดับห่วงโซ่อุปทานโกโก้น่าน ด้วยการเพิ่มสมรรถนะและทักษะการจัดการคุณภาพผลผลิตโกโก้จากธุรกิจต้นน้ำสู่กลางน้ำ และปลายน้ำ จนเป็นต้นแบบการขยายผลไปยังแหล่งเพาะปลูกโกโก้ในพื้นที่อื่นๆในประเทศ โดยจุฬาฯ ได้หนุนเสริมให้จัดตั้งศูนย์โกโก้ไทย (ISTC) ให้เป็นกลไกการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ด้านโกโก้และสามารถยกระดับคุณภาพมาตรฐานโกโก้ไทยสู่ระดับสากลได้ 

ผศ.น.สพ.ดร.วินัย แก้วละมุล สำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร จุฬาฯ นำเสนอ 4 โครงการที่ดำเนินงานในพื้นที่น่าน ได้แก่การพัฒนาการผลิตโคเนื้อ การพัฒนาการผลิตแพะและแกะการพัฒนากาแฟคุณภาพ การพัฒนาระบบการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสนับสนุนการตัดสินใจการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำขององค์กรผู้ใช้น้ำและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 

นายวิบูรณ์ แววบัณฑิต ผู้ว่าราชการจังหวัดน่านเห็นควรและสนับสนุนให้จุฬาฯ ในฐานะสายงานวิชาการได้ทำงานร่วมกับจังหวัดเพื่อพัฒนาเมืองน่านต่อไปอย่างยั่งยืน

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า