รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
23 พฤษภาคม 2566
ข่าวเด่น, งานวิจัยและนวัตกรรม
ผู้เขียน ขนิษฐา จันทร์เจริญ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยผนึกความร่วมมือด้านการวิจัยกับบริษัท รีโว่เมด (ไทยแลนด์) จำกัด พัฒนาอาหารเสริมและเครื่องสำอาง จากองค์ความรู้และนวัตกรรมจากคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ นำไปใช้ประโยชน์เพื่อสังคม ลดการนำเข้า เพิ่มการส่งออกผลิตภัณฑ์จากนวัตกรรมจุฬาฯ
พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับบริษัท รีโว่เมด (ไทยแลนด์) จำกัด จัดขึ้นเมื่อวันจันทร์ที่ 22 พฤษภาคม 2566 ณ เรือนจุฬานฤมิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดยมี ศ.ภญ.ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การดำเนินงาน ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ และ น.ส.วาสนา อินทะแสง กรรมการผู้จัดการ บริษัท รีโว่เมด (ไทยแลนด์) จำกัดกล่าวแสดงความพร้อมและความยินดีในการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิจัย จากนั้นเป็นพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิจัยโดย ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ ศ.ภญ.ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ น.ส.วาสนา อินทะแสง และ ดร.ศิริพงษ์ สีใสไพร กรรมการผู้จัดการบริษัท รีโว่เมด (ไทยแลนด์) จำกัด
การลงนามความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับบริษัท รีโว่เมด (ไทยแลนด์) จำกัด ในครั้งนี้มีระยะเวลาความร่วมมือ 1 ปี (1 มิถุนายน 2566 – 31 พฤษภาคม 2567) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดยคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งเป็นผู้นำในการพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมทางด้านอาหารเสริมเพื่อสุขภาพและเครื่องสำอาง จะร่วมมือกับบริษัท รีโว่เมด (ไทยแลนด์) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทของคนไทย 100% ในการให้บริการเพื่อพัฒนาเครื่องสำอาง สินค้าเพื่อสุขภาพความงาม และอาหารเสริมทุกรูปแบบ รวมทั้งให้คำปรึกษาแนะนำในการดำเนินธุรกิจและการตลาด ทั้งสองหน่วยงานจะร่วมมือกันส่งเสริมผลงานวิจัยเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านสุขภาพโดยใช้วัตถุดิบในประเทศไทย ต่อยอด ขยายผลและส่งเสริมการใช้ประโยชน์ร่วมกัน สามารถนำผลงานนวัตกรรมทางด้านสุขภาพไปใช้ประโยชน์เพื่อสังคมในวงกว้าง ช่วยเสริมการทำงานของบริษัท จุฬาฟาร์เทค จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกของบริษัท ซียูฟาร์มาซี เอ็นเทอร์ไพรส์ จำกัด (CUPE) คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมต่างๆ จากคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ ออกสู่เชิงพาณิชย์
ความร่วมมือระหว่างคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ และบริษัท รีโว่เมด (ไทยแลนด์) จำกัด ยังรวมถึงการเสริมสร้างความร่วมมือในด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทุกรูปแบบ สนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเพิ่มขีดความสามารถของทรัพยากรมนุษย์ผ่านกระบวนการวิจัย การฝึกอบรม และนำความรู้ที่ได้รับสู่การปฏิบัติจริงอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กรและประเทศชาติ
ทั้งนี้ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ ได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้บริษัทริโว่เมด (ไทยแลนด์) จำกัด ในเรื่องระบบในการนำส่งยาอย่างมีประสิทธิภาพ การสกัดสารแอนโทไซยานินในผลหม่อนหรือมัลเบอร์รี่ ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระให้ได้ปริมาณสูงสุดและคงตัว เพื่อพัฒนาเป็นอาหารเสริมและเครื่องสำอาง สามารถขยายผลในเชิงอุตสาหกรรม รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบำรุงสายตาวิซิออน (VI-SION) ที่ช่วยลดภาวะตาแห้ง ลดการอักเสบในตา และต้านอนุมูลอิสระที่ดวงตา
ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ เปิดเผยว่า ความร่วมมือระหว่างคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ กับบริษัทริโว่เมด (ไทยแลนด์) จำกัด ทำให้คณาจารย์และนิสิตได้นำความรู้ออกสู่สังคม ตอบสนองเรื่องสุขภาพ ความงาม และความสุขให้สังคมไทย และหวังว่าจะขยายไปสู่สังคมโลก จุฬาฯ มีเป้าหมายในการสร้างสรรค์องค์ความรู้และนวัตกรรมออกไปรับใช้สังคมไทย พิธีลงนามความร่วมมือในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งในเป้าหมายหลักของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการนำความรู้จากคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ ออกสู่สังคมผ่านบริษัทริโว่เมด (ไทยแลนด์) จำกัด ในอนาคตจะได้เห็นอาหารเสริมเพื่อสุขภาพ เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ต่างๆ ภายใต้ความร่วมมือครั้งนี้ซึ่งจะมีการขยายตลาดสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ให้คนไทยมีสุขภาพดีและมีอายุยืน
ศ.ภญ.ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ มีความพร้อมและความเชี่ยวชาญในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านอาหารเสริมและเครื่องสำอาง โดยได้รับการสนับสนุนจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และจากอธิการบดีจุฬาฯ ที่มีแนวคิดในการส่งเสริมเรื่องสตาร์ทอัพในมหาวิทยาลัย รวมทั้งสตาร์ทอัพในคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งเป็นแหล่งกระจายองค์ความรู้สู่เชิงพาณิชย์ได้อย่างเป็นรูปธรรม ปัจจุบันคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ มีการขยายการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีไปสู่เครื่องมือแพทย์ การพัฒนายาโมเลกุลใหม่ๆ ตนเชื่อมั่นว่าการพัฒนานวัตกรรมโดยคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ จะไม่หยุดอยู่แค่นี้ เชื่อมั่นว่านวัตกรรมจุฬาฯ จะช่วยลดการนำเข้า เสริมการส่งออกจากงานวิจัยให้มีมูลค่ามหาศาล
น.ส.วาสนา อินทะแสง กรรมการผู้จัดการ บริษัท รีโว่เมด (ไทยแลนด์) จำกัด เปิดเผยว่าความร่วมมือกับจุฬาฯ ในครั้งนี้เป็นการยกระดับอุตสาหกรรมสุขภาพและความงามครั้งใหญ่ของประเทศไทย ทางบริษัทฯ มีเป้าหมายในการนำส่งนวัตกรรมผ่านการวิจัยให้ผู้บริโภคและผู้ประกอบการ การที่บริษัทนำนวัตกรรมส่งให้กับผู้บริโภคผ่านการวิจัยโดยคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งทุ่มเทศึกษาวิจัย ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ รวมถึงการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี เป็นบทพิสูจน์ว่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดยคณะเภสัชศาสตร์มีหลักฐานเชิงประจักษ์ที่แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ที่นำไปสู่ผู้บริโภค นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์จากงานวิจัยนี้ยังมีการส่งออกต่างประเทศด้วย
นิสิต BBA จุฬาฯ เยี่ยม! ทำคะแนนสอบ TCAS Inter 2024 ได้ที่ 1 ของประเทศ
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ เชิญร่วมงานเสวนา “โปรตุเกส…เหตุที่รัก”
นิสิตสาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการประกวดสีน้ำระดับอุดมศึกษา
คณะทันตแพทย์ จุฬาฯ ชวนช็อป ดีมีคืน กับ Chula Dent ในโครงการ Easy E-Receipt 2.0
ขอเชิญชาวจุฬาฯ ประกวดคลิปวิดีโอสร้างสรรค์ “Chula Ethics: Our Code, Our Way: วิถีเรา ตัวตนเรา”
เชิญชวนชาวจุฬาฯ ประกวดออกแบบมาสคอต “Chula Mascot challenge ตัวแทนแห่งความโปร่งใส: CU Good gift mascot”
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้