รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
26 พฤษภาคม 2566
ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ
ผู้เขียน ขนิษฐา จันทร์เจริญ
คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการจัดอันดับเป็นอันดับ 1 ของไทย อันดับ 9 ของเอเชียและอันดับ 53 ของโลก จากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกโดย Scimago Institutions Rankings (SIR) 2023 ซึ่งให้ความสำคัญกับการวิจัยและการเผยแพร่องค์ความรู้ทางด้านนวัตกรรม
รศ.น.สพ.ดร.ณุวีร์ ประภัสระกูล รองคณบดีฝ่ายวิจัย นวัตกรรม และสื่อสารองค์กร คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยถึงผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยในครั้งนี้ว่า นับเป็นความภาคภูมิใจอย่างมากของคณะที่ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในอันดับ 1 ของประเทศไทย อันดับ 9 ของเอเชีย และอยู่ในอันดับ 53 ของโลกซึ่งขยับขึ้นมาจากอันดับที่ 83 ของโลกจากการจัดอันดับเมื่อปีที่แล้ว สะท้อนให้เห็นถึงความเข้มแข็งในด้านการวิจัยของคณะ รวมทั้งยังเป็นการเพิ่มศักยภาพให้คณะเป็นที่รู้จักมากขึ้นในระดับนานาชาติ ติดตามผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยทั้งหมดได้ที่ https://www.scimagoir.com/institution.php?idp=8211
สำหรับตัวชี้วัดในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดย SIR 2023 ประกอบด้วย 3 หมวดหลักดังนี้
1.ด้านการวิจัย (Research) คิดเป็นสัดส่วน 50 % โดยดูจากจำนวนเอกสารทางวิชาการ วารสาร งานวิจัย จำนวนการอ้างอิง จำนวนผู้เขียนที่เกี่ยวข้องกับผลงานวิชาการและผลงานวิจัยของสถาบัน โดยอ้างอิงข้อมูลจากฐานข้อมูล Scopus
2.ด้านนวัตกรรม (Innovation) 30% เน้นเรื่องการให้ความรู้ที่เป็นนวัตกรรม สิทธิบัตร หรือผลงานตีพิมพ์ทางวิทยาศาสตร์จากสถาบันที่อ้างอิงถึงในสิทธิบัตร โดยพิจารณาข้อมูลจาก Patent Statistical Database
3. ด้านสังคม (Societal) 20% พิจารณาจากการประชาสัมพันธ์ ขนาดของเว็บไซต์ จำนวนหน้าเว็บไซต์ที่เชื่อมโยงกับ URL ของสถาบัน จำนวนเครือข่าย (subnets) ที่เชื่อมโยงการเข้าถึงกับเว็บไซต์ของสถาบันนั้นๆ และปริมาณเอกสาร และข่าวสารต่างๆ ของสถาบันที่เผยแพร่อยู่ใน social media
รศ.น.สพ.ดร.ณุวีร์ เผยถึงความโดดเด่น 5 ด้านของคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ที่ทำให้สามารถแข่งขันได้กับมหาวิทยาลัยต่างๆ ในเอเชีย ได้แก่
1. คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ มีการนำงานวิจัยไปประยุกต์ใช้แก้ปัญหาต่างๆ ในวิชาชีพสัตวแพทย์ รวมถึงเรื่องของโรคระบาด ปัญหาเชื้อดื้อยา ปัญหาด้านงานอนุรักษ์สัตว์ป่า ฯลฯ ซึ่งปัญหาเหล่านี้จำเป็นต้องอาศัยองค์ความรู้ทางด้านสัตวแพทย์ในการแก้ปัญหาทั้งสิ้น
2. ด้านทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ มีคณาจารย์ที่เป็นนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติถึง 7 ท่าน ซึ่งนับเป็นนักวิจัยต้นแบบที่ทำให้งานวิจัยของคณะมีความเข้มแข็ง
3. ด้านทุนวิจัย (Funding) ด้วยความสามารถทางการทำวิจัยของคณาจารย์ ทำให้คณะได้รับทุนวิจัยจากภายนอกเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 60 ล้านบาท หรือคนละไม่ต่ำกว่า 500,000 บาทต่อคนต่อปี
4. การนำงานวิจัยเชื่อมโยงไปสู่เรื่องการเรียนการสอน หน่วยการศึกษาต่อเนื่องที่อยู่ภายใต้ฝ่ายวิจัยของคณะทำหน้าที่ในการนำเสนอและเผยแพร่ผลงานวิจัยที่ตอบสนองความต้องการของสังคม รวมทั้งจัดโครงการอบรมหลักสูตรต่างๆ ให้ประชาชนได้เข้าร่วม ซึ่งเป็นการตอบโจทย์ในเรื่องการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) และการเป็น Research University ของมหาวิทยาลัยอีกด้วย
5. เรื่องนโยบาย ภายใต้การสนับสนุนจากมหาวิทยาลัย เช่น โครงการจุฬาฯ 100 ปี มีการจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมโคนมที่ จ.สระบุรี โครงการร่างนิ่ม หรือศูนย์กายอุทิศสำหรับสัตว์ ฯลฯ ทำให้คณาจารย์ในคณะได้มีโอกาสทำงานวิจัยที่ตอบโจทย์สังคมได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังมีโครงการ C2F ซึ่งให้ทุนกับนิสิตและนักวิจัยหลังปริญญาเอกที่มีศักยภาพ ทุนสนับสนุนกลุ่มวิจัยผ่านกองทุนรัชดาภิเษกสมโภช สำนักบริหารวิจัย ฯลฯ
“ความสำเร็จของคณะเกิดจากการนำความโดดเด่นในทุกๆ ด้านไปประยุกต์ใช้ให้ถูกที่และถูกเวลา รวมถึงอาจารย์ของเรายังมีเครือข่ายการทำงานร่วมกับหน่วยงาน องค์กรทั้งในระดับชาติและนานาชาติ ซึ่งมีส่วนช่วยให้จุฬาฯ เป็นที่รู้จักในระดับสากล ทำให้เกิดความร่วมมือในด้านการวิจัยตามมา” รศ.น.สพ.ดร.ณุวีร์ กล่าวเสริม
สำหรับแนวทางในการส่งเสริมงานวิจัยและวิชาการของคณาจารย์และนิสิตในคณะ รศ.น.สพ.ดร.ณุวีร์ กล่าวว่า คณะมีการสนับสนุนทุนนักวิจัยรุ่นใหม่และรุ่นกลาง มีระบบนักวิจัยพี่เลี้ยง เพื่อช่วยให้นักวิจัยรุ่นใหม่ได้รับทุนวิจัยในระดับที่สูงขึ้น คณะฯ มีศูนย์ที่ทำหน้าที่ส่งเสริมทางด้านนวัตกรรมและนำผลงานวิจัยไปประกวดแข่งขันในระดับนานาชาติ ตลอดจนดูแลเพิ่มพูนทักษะด้านการเขียนบทความวิชาการและข้อเสนอโครงการ มีการอัปเดตข้อมูลข่าวสารด้านทุนวิจัยและการให้รางวัลต่างๆ เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแก่นักวิจัย รวมทั้งมีการประชาสัมพันธ์ผลงานวิจัยของคณาจารย์ที่ทำวิจัยให้เป็นที่รับรู้ทั้งภายในและสังคมภายนอก ทั้งนี้ การที่จุฬาฯ เป็น Comprehensive University ที่มีการทำงานข้ามศาสตร์ ทำให้เห็นโอกาสใหม่ๆ ในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ส่งผลให้งานวิจัยของคณะมีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น
รศ.น.สพ.ดร.ณุวีร์ กล่าวเพิ่มเติมว่าคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการสร้างสรรค์งานนวัตกรรมของคณาจารย์และนิสิตผ่านโครงการการส่งเสริมระบบนิเวศนวัตกรรมของคณะ ด้วยการสร้างพื้นที่การเรียนรู้ทางด้านนวัตกรรมแก่นิสิตและบุคลากรผ่านบริษัท Spin-Off ของจุฬาฯ ภายใต้การสนับสนุนของบริษัท CU Enterprise รองรับกิจกรรมต่างๆ อาทิ Innovation and Enterprise Clinic ที่ได้รับการสนับสนุนจากศิษย์เก่าของคณะ การส่งเสริมและเผยแพร่ผลงานวัตกรรมไปสู่การเป็นกลุ่มธุรกิจและผู้ประกอบกิจการ ผ่าน CUVET Startup for Future Leader การอบรม Innovative sandbox incubation program สำหรับนิสิต การสร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจสตาร์ทอัพ ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนและดำเนินกิจการได้คล่องตัว เช่น โครงการอบรมเรื่องการจัดการบรรษัทภิบาลและภาษี โครงการ Demo Day for Innovator โครงการส่งเสริมการนำบริษัทเข้าสู่ตลาดทุน ฯลฯ
ผลการดำเนินงานด้านการส่งเสริมงานวิจัยและนวัตกรรมที่ผ่านมา ทำให้คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ มีผลงานวิจัยและนวัตกรรมต่างๆ มากมายที่ตอบโจทย์ต่อสังคมและประเทศชาติ นวัตกรรมที่เป็น Highlight ได้แก่ นวัตกรรมกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะในสัตว์ทั้งภาคการเกษตร และการดูแลสัตว์เลี้ยง เช่น การพัฒนาวัคซีนนาโนแบบไร้เข็มที่ใช้ในปลา การพัฒนาโพรไบโอติกโดยใช้เทคโนโลยีการห่อหุ้มระดับไมโคร การใช้น้ำเลี้ยงเชื้อโพรไบโอติกระดับนาโนสำหรับฆ่าเชื้อบนแผลและในช่องหูสัตว์เลี้ยง การเพิ่มผลผลิตปลานิลด้วยการใช้ฮอร์โมนเปลี่ยนเพศ การพัฒนาเพื่อยกระดับมาตรฐานการเลี้ยงโคด้วยระบบเซนเซอร์ให้เป็นฟาร์มอัจฉริยะ การพัฒนาการรักษาสัตว์เลี้ยงด้วยเทคโนโลยีการผลิตสเตมเซลล์ การสร้างโมเดลจำลองเพื่อการเรียนการสอน การพัฒนาชุดตรวจภูมิแพ้ไรฝุ่นในสุนัข เป็นต้น
“จากภาพรวมด้านงานวิจัยของคณะ ถือว่าเราเดินมาถูกทางแล้ว สิ่งที่เรากำลังต่อยอดจากงานวิจัยคือการนำ งานวิจัยไปเป็นส่วนสำคัญของการเรียนการสอนทั้งในหลักสูตรและนอกหลักสูตร การเชื่อมโยงงานวิจัยผ่านมุมมอง ทางด้านสังคม ไม่ใช่มุมมองด้านการแพทย์หรือวิทยาศาสตร์อย่างเดียว รวมถึงการขยายงานบริการเชิงนวัตกรรมสู่การนำไปใช้จริงในโรงพยาบาลสัตว์เล็ก คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ” รองคณบดีฝ่ายวิจัย คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวทิ้งท้าย
นิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศจากการแข่งขัน Spark the Local 2024 by PTT
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ต้อนรับผู้แทนจาก Indiana University สหรัฐอเมริกา เจรจาแนวทางความร่วมมือทางวิชาการ
ศศินทร์จัด Open House แนะนำหลักสูตรต่างๆ วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2567
30 พ.ย. 67 เวลา 10.00 น.
ศศินทร์ จุฬาฯ
เชิญฟังการบรรยาย Chula Lunch Talk หัวข้อ “Smart VET-Learning: นวัตกรรม AR สู่การศึกษาสัตวแพทย์ยุคดิจิทัล”
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมสองกิจกรรมโครงการ “เล่นเพลินสำหรับเด็กปฐมวัย” “นิทานฟังเพลิน” และ “Happy Play Day”
อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น “อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ปอมท.” ประจำปี 2567
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้