รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
1 มิถุนายน 2566
ข่าวเด่น, งานวิจัยและนวัตกรรม
ผู้เขียน ธิติรัตน์ สมบูรณ์
ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED) หน่วยงานภายใต้ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดตัวยาสีฟันต้นแบบด้วยนวัตกรรมนาโนไฮดรอกซีอะพาไทต์ที่ช่วยในการสะสมแร่ธาตุคืนกลับสู่ผิวเคลือบฟันซึ่งดำเนินงานภายใต้โครงการผลักดันและพัฒนาผลิตภัณฑ์สำหรับสุขภาพช่องปากและการรักษาทางทันตกรรม เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและสุขภาพช่องปากของประชาชนคนไทยลดความเหลื่อมล้ำ ด้วยการสร้างนวัตกรรมทางทันตกรรมโดยทันตแพทย์และนักวิจัยไทยที่จะช่วยผลักดันอุตสาหกรรมการแพทย์ในประเทศให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ งานแถลงข่าวเปิดตัวยาสีฟันต้นแบบ จัดขึ้นเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2566 ณ ห้องประชุมคณะกรรมการบริหารคณะฯ อาคารวาจวิทยาวัฑฒน์ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
ดร.กิตติ วงศ์ถาวราวัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED) สวทช. กล่าวว่าปัญหาโรคฟันผุในเด็ก ถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาสุขภาพช่องปากต่างๆ ที่จะตามมาในระยะยาว ปัจจุบันมีเด็กไทยที่มีปัญหาฟันผุมากกว่าร้อยละ 50 และมากกว่าร้อยละ 60 ของผู้ใหญ่มีปัญหาโรคเหงือกอักเสบ จากการขาดการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีอย่างสม่ำเสมอ การวิจัยและพัฒนายาสีฟันที่มีส่วนผสมของนาโนไฮดรอกซีอะพาไทต์ เป็นการร่วมวิจัยพัฒนา ทดสอบ ออกแบบและผลิตต้นแบบผลิตภัณฑ์ยาสีฟัน เพื่อใช้ในการรักษาอาการฟันผุในระยะเริ่มต้น รวมถึงปัญหาที่เกิดจากการขาดการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีอย่างสม่ำเสมอ ที่สามารถส่งผลต่อคุณภาพชีวิตได้
วัสดุนาโนไฮดรอกซีอะพาไทต์ เกิดจากการพัฒนาวิจัยโดยทีมวิจัยเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์ฝังใน A-MED สวทช. ที่มีองค์ความรู้ รวมถึงประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการพัฒนาวัสดุทางการแพทย์สำหรับใช้กับร่างกายมนุษย์ ผนวกกับองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญของทีมวิจัยคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ที่มาประยุกต์ใช้ร่วมกัน โดยนวัตกรรมนาโนไฮดรอกซีอะพาไทต์ เป็นสารประกอบแคลเซียมฟอสเฟตรูปหนึ่ง ซึ่งมีโครงสร้างแบบเดียวกับกระดูกและฟันของมนุษย์ เป็นการพัฒนาด้วยกระบวนการสังเคราะห์ทางเคมีเชิงกล โดยมีคุณสมบัติเข้ากันได้กับเนื้อเยื่อในร่างกายมนุษย์และสามารถช่วยในการสะสมแร่ธาตุคืนกลับสู่ผิวเคลือบฟัน ซึ่งเหมาะสำหรับนำมาใช้เป็นองค์ประกอบเสริมในยาสีฟัน โดยเฉพาะไฮดรอกซีอะพาไทต์ที่มีขนาดอนุภาคในระบบนาโนเมตร ซึ่งการที่นักวิจัยไทยสามารถพัฒนาสารนาโนไฮดรอกซีอะพาไทต์ได้นั้น ช่วยลดการนำเข้าจากต่างประเทศ ลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มโอกาสการเข้าถึงการรักษาด้วยวัสดุทางการแพทย์ที่มีคุณภาพที่ผลิตขึ้นเองภายในประเทศ และคงไว้ซึ่งมาตรฐานทางการแพทย์ระดับสากล สอดคล้องกับเป้าหมายนโยบาย BCG สาขาเครื่องมือแพทย์
ศ.ทพ.ดร.พรชัย จันศิษย์ยานนท์ คณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า พิธีเปิดตัวยาสีฟันต้นแบบในครั้งนี้นับเป็นความก้าวหน้าของนวัตกรรมอีกขั้นหนึ่งในการดำเนินการความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรม ที่ทั้ง 2 หน่วยงานได้มีความร่วมมือในการศึกษาวิจัยพัฒนาพัฒนาวิธีการเตรียมผงนาโนไฮดรอกซีอะพาไทต์สำหรับนำมาใช้เป็นองค์ประกอบเสริมในยาสีฟัน ช่วยส่งเสริมคุณสมบัติของยาสีฟันในการกลับคืนแร่ธาตุของชั้นเคลือบฟัน ผ่านกลไกการปลดปล่อยแคลเซียมไอออนและฟอสเฟตไอออน และเกิดเป็นแคลเซียมฟอสเฟตอย่างรวดเร็ว ซึ่งสามารถตกตะกอนเข้าไปในพื้นผิวฟันได้ โดยตะกอนของแคลเซียมฟอสเฟตสามารถแตกตัวในน้ำลายเพื่อเป็นไอออนอิสระที่จะช่วยในการสะสมแร่ธาตุสู่ผิวเคลือบฟันได้อย่างรวดเร็ว และสามารถคงอยู่เพื่อให้เกิดการคืนกลับแร่ธาตุของฟัน ผ่านองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญของทีมวิจัย A-MED สวทช. และทีมวิจัยของคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ที่มาประยุกต์ใช้ร่วมกัน เพื่อต่อยอดงานวิจัย สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับงานวิจัยเดิมที่มีอยู่แล้วให้มีมูลค่าสูงขึ้นและเป็นการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น
นิสิตภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขัน CHOICEISYOURS 2024
จุฬาฯ เชิญชวนร่วมงาน “One Stop Open House 2024” โดยกระทรวง อว. ระหว่างวันที่ 27 พ.ย. – 1 ธ.ค. 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
เชิญผู้สนใจเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมด้านจิตวิทยา “BRIDGING DISCIPLINES: Incorporate Psychology into Your Endeavor”
8 ม.ค. 2568 เวลา 09.00 – 16.00 น.
ชั้น 6 อาคารบรมราชชนนีศรีศตพรรษ คณะจิตวิทยา จุฬาฯ
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดเสวนา “Bike the Talk: Building a Cycling Society”
22 พ.ย. 67 เวลา 15.00 น.
ห้องสมุด คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
CNN สัมภาษณ์อาจารย์จุฬาฯ เผยความสำเร็จงานวิจัยกลิ่นเหงื่อตรวจความเครียดและซึมเศร้า
พิธีเปิดโครงการ “สัปดาห์สุขภาพสตรี” CU Women’s Health Week ส่งเสริมการป้องกันโรคมะเร็งเต้านมและสุขภาพสตรี
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้