ข่าวสารจุฬาฯ

จุฬาฯ หนุนนโยบาย Research University That Teaches ตอบโจทย์นำงานวิจัยต่อยอดพัฒนาสังคม

ศ.ดร.จักรพันธ์ สุทธิรัตน์ รองอธิการบดีด้านการวิจัย จุฬาฯ เปิดเผยถึงนโยบาย Research University That Teaches ว่ามีที่มาจากการที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ขับเคลื่อนงานวิจัยและนวัตกรรมเข้าสู่การเรียนการสอน เพื่อสร้างผู้นำแห่งอนาคต (Future Leaders) สร้างสรรค์งานวิจัย นวัตกรรมที่ส่งผลกระทบสูงต่อสังคม (Impactful Research and Innovation)  และสนับสนุนการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน (Sustainability) ทำให้เกิดแนวคิดในการผสมผสานงานวิจัย นวัตกรรม และการเรียนการสอนเข้าสู่กระบวนการเดียวกัน โดยนำองค์ความรู้จากงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีผลกระทบสูงตอบโจทย์สังคมไปใช้ในการเรียนการสอนทั้งในหลักสูตรปริญญา และหลักสูตรประเภท Non-Degree ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning)

ศ.ดร.จักรพันธ์ สุทธิรัตน์ รองอธิการบดีด้านการวิจัย จุฬาฯ

         เป้าประสงค์ของนโยบาย Research University That Teaches เพื่อส่งเสริมการนำงานวิจัยไป ต่อยอดสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ โดยมีเป้าหมายที่ชัดเจนคือ ต้องเป็นองค์ความรู้ที่ตอบโจทย์สังคม ประเทศชาติ และความ ท้าทายของโลก นอกจากผลงานวิจัยที่สร้างผลกระทบทางวิชาการแล้วยังต้องนำผลงานวิจัยของจุฬาฯ จากหิ้งสู่ห้าง ทำให้สังคมสามารถเข้าสู่องค์ความรู้ได้รวดเร็ว และพัฒนาคนในสังคมในวงกว้างมากขึ้น ภายใต้การทำงานร่วมกันของหน่วยงานต่างๆ ในสามเสาหลักของจุฬาฯ ได้แก่ วิจัย นวัตกรรม และวิชาการ  กลุ่มเป้าหมายที่จะได้รับประโยชน์จากนโยบายนี้ นอกจากนิสิตจุฬาฯ แล้ว ทุกคนในสังคมก็สามารถเข้ามาเรียนรู้จากจุฬาฯ ได้ เพื่อเป็นการเพิ่มทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต 

Research University That Teaches

         ศ.ดร.จักรพันธ์ กล่าวว่า Research University That Teaches จะมีส่วนในการพลิกโฉมการเรียนการสอนการเรียนรู้ในปัจจุบัน โดยยกตัวอย่างโครงการจุฬาอารี (Chulalongkorn University Platform for Ageing Research Innovation)  ที่สามารถตอบโจทย์ในเรื่องสังคมสูงวัยโดยการบูรณาการข้ามศาสตร์ จนได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลและภาคส่วนอื่นๆขยายผลเป็น โครงการไทยอารี (Thai ARI: Thai Platform for Ageing Research Innovation) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ได้มีเพียงคณะแพทยศาสตร์หรือคณะที่มีการเรียนการสอนเกี่ยวกับสุขภาพเท่านั้น ทุกวันนี้เราสามารถใช้หุ่นยนต์มาใช้ในการดูแลสุขภาพทางไกล ซึ่งคณะวิศวกรรมศาสตร์เข้ามามีบทบาทในเรื่องนี้ รวมถึงการออกแบบบ้านและสภาพแวดล้อมเพื่อความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวันของผู้สูงวัย ที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ก็เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง โดยวิทยาลัยประชากรศาสตร์เป็นหลักในการประสานดำเนินงาน ทำให้คณาจารย์ นักวิจัย นิสิตและผู้ร่วมโครงการเกิดกระบวนการการเรียนรู้ เป็นการใช้องค์ความรู้จากงานวิจัยของจุฬาฯ มาต่อยอดให้เกิดประโยชน์ กระบวนการเรียนรู้จากสังคมสู่การพัฒนานวัตกรรมจะช่วยสนับสนุนให้ทุกอย่างง่ายขึ้น ดีขึ้น โดยมีฐานมาจากงานวิจัยที่จุฬาฯพัฒนาขึ้น

          ศ.ดร.จักรพันธ์กล่าวเพิ่มเติมว่า เครือข่ายนานาชาติสามารถส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันได้รวดเร็ว ช่วยสร้างองค์ความรู้พื้นฐานให้ขยับได้เร็วขึ้น การทำงานร่วมกันระหว่างคณาจารย์ นักวิจัยกับหน่วยงานภายนอกในระดับนานาชาติจะช่วยขยายเครือข่ายการทำงานวิจัยให้กระจายได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ทำให้งานวิจัยเกิดผลกระทบต่อสังคมในวงกว้างมากขึ้น ทั้งนี้ จากการใช้นโยบาย  Research University That Teaches มาระยะหนึ่ง ปัจจุบันคณาจารย์เริ่มปรับตัวจากการสอนเน้นทฤษฎีพื้นฐานในห้องเรียนมาเป็นการสอนที่ดึงองค์ความรู้มากมายจากงานวิจัยภายนอกเข้ามาประยุกต์ให้เห็นเป้าหมายการเรียนรู้ที่ชัดเจน โดยใช้กลไกการวิจัยและการพัฒนานวัตกรรมตอบโจทย์ความต้องการของสังคม อย่างไรก็ตาม จุฬาฯ จะพยายามผลักดันให้เกิดแนวทางการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมสู่การเรียนการสอนเพิ่มขึ้น

          “มหาวิทยาลัยมีการปรับตัวสู่การเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย หรือ Research University เพื่อตอบสนองเป้าหมายหลักของจุฬาฯ ในการสร้างบุคลากรที่มีองค์ความรู้ เกิดงานวิจัย นวัตกรรมที่มีผลกระทบสูง นำไปสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ซึ่งจะทำให้มหาวิทยาลัยมีความมั่นคงยั่งยืนด้วย สามารถผลิตผู้นำแห่งอนาคตออกไปพัฒนาประเทศได้มากขึ้น ประชาชนทั่วไปก็สามารถใช้งานวิจัยจากจุฬาฯ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม ปัจจุบันจุฬาฯ ได้ให้การสนับสนุนในการเปิดแพลตฟอร์มต่างๆ ที่เชื่อมโยงกับสังคมมากขึ้น เช่น Social Innovation Hub หรือศูนย์กลางนวัตกรรมทางสังคม ซึ่งเชื่อมโยงนักวิจัยกับชุมชน หาวิธีการแก้ปัญหาจากโจทย์ที่เกิดขึ้น ขอเชิญชวนประชาคมจุฬาฯ รวมทั้งผู้ที่สนใจเข้ามามีส่วนร่วม   ในแพลตฟอร์มต่างๆ ที่มหาวิทยาลัยสร้างขึ้นโดยมองไปยังเป้าหมายเดียวกัน” ศ.ดร.จักรพันธ์ กล่าวทิ้งท้าย

โครงการจุฬาอารี (Chulalongkorn University Platform for Ageing Research Innovation)

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า