ข่าวสารจุฬาฯ

นิสิตเก่า MBA ศศินทร์ จุฬาฯ ทรานส์ฟอร์ม River City Bangkok ด้วยความคิดสร้างสรรค์


คุณลินดา เชง นิสิตเก่า MBA ศศินทร์ จุฬาฯ บอกเล่าประสบการณ์ความสำเร็จในการเปลี่ยน River City Bangkok ศูนย์รวมไลฟ์สไตล์ด้านศิลปะวัฒนธรรมริมแม่น้ำเจ้าพระยาให้กลายเป็น Ecosystem แห่งใหม่ของกรุงเทพฯ ในการสร้าง “ประสบการณ์” ชื่นชมอรรถศิลป์



คุณลินดา เชง (Linda Cheng) ชาวไต้หวัน กรรมการผู้จัดการ River City Bangkok นิสิตเก่าสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลักสูตร MBA รุ่นปี 1990 ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์และจิตวิญญาณผู้ประกอบการในการนำนิทรรศการ “Up the River Between Qingming” จากพิพิธภัณฑ์พระราชวังแห่งชาติไต้หวันมาจัดแสดงเมื่อปี 2561 และประสบความสำเร็จเรื่อยมาในการนำนิทรรศการอื่นๆ ได้แก่ “From Monet to Kandinsky”, “Italian Renaissance”, “Something Nouveau” และ “Van Gogh” เข้ามาจัดแสดงในประเทศไทย นิทรรศการเหล่านี้ไม่เพียงก้าวข้ามความจำเจในการชมงานศิลป์ แต่ยังสร้างการมีส่วนร่วม และสร้างแรงบันดาลใจแก่ผู้ชมจากการดื่มด่ำสัมผัสประสบการณ์ศิลปะในรูปแบบใหม่ๆ


อานุภาพแห่งศิลปะ

ระหว่างเรียนที่ศศินทร์ จุฬาฯ คุณลินดา เชง ได้ศึกษาและฝึกฝนทักษะด้านการตลาด เพื่อหาจุดบอดและประเด็นที่มาของปัญหา ซึ่งท้ายที่สุดแล้วจะเป็นแรงผลักดันทางธุรกิจอย่างยั่งยืน คุณลินดาพบว่าพื้นที่แสดงศิลปะที่ศิลปิน ผู้รักศิลปะและนักสะสมของโบราณมาพบปะกันเป็นที่ต้องการอย่างมาก และเชื่อว่าศิลปะเป็นการสื่อถึงความเชื่อมโยงกันระหว่างมนุษย์และช่วยหล่อหลอมการเติบโตของแต่ละบุคคล เป้าหมายในการจัดนิทรรศการนั้นเพื่อส่งเสริมประสบการณ์ที่มีความหมาย กระตุ้นให้ผู้เข้าชมเห็นและสัมผัสศิลปะในรูปแบบที่ต่างไปจากเดิม เน้นย้ำถึงความสำคัญของการได้สัมผัสความวิจิตรทางศิลป์โดยตรง

“การอยู่ในวงการศิลปะไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะศิลปะสามารถเป็นอะไรก็ได้ เป็นนามธรรมก็ได้ คุณต้องสัมผัสและรู้จักศิลปะด้วยตัวคุณเอง”  คุณลินดา กล่าว

สิ่งที่คุณลินดาต้องเผชิญในการนำงานศิลปะจากต่างประเทศเข้ามาสู่เมืองไทย คือการโน้มน้าวให้ผู้บริหารพิพิธภัณฑ์ที่ National Museum Palace ในไต้หวันทำงานร่วมกับศูนย์ศิลปะที่ไม่ใช่หอศิลป์แห่งชาติที่เป็นที่รู้จัก

“เราต้องเต็มใจ และกล้าพอที่จะบอกว่าเราต้องเปลี่ยน แม้ว่ามันจะยากมากที่จะเปลี่ยนคนและเปลี่ยนความคิดก็ตาม  ดังนั้นการสนทนา  การสื่อสารอย่างต่อเนื่องทั้งภายในและภายนอกจึงสำคัญมาก”  คุณลินดากล่าวเน้นย้ำ


ความยั่งยืนผ่านความคิดสร้างสรรค์

คุณลินดาเชื่อว่าความคิดสร้างสรรค์เป็นองค์ประกอบพื้นฐานของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Creative Industry)  แม้ว่านวัตกรรมดิจิทัลและเทคโนโลยีอย่างยั่งยืนจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญ แต่ธุรกิจสร้างสรรค์จะเติบโตและประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนได้นั้น  ต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) ที่สูงกว่าองค์ประกอบอื่น

“แนวคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งที่เราต้องมีอยู่ในใจ ในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งเติบโตได้เรื่อยๆ จงอย่ากลัวที่จะฝัน อย่ากลัวที่จะจินตนาการถึงสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น นั่นคือสิ่งที่ท้าทายที่สุดในการอยากทำสิ่งที่แตกต่าง สร้างสรรค์และไม่ธรรมดา” คุณลินดา กล่าว

การผสมผสานความยั่งยืนเข้ากับธุรกิจ หรือศิลปะอาจเป็นเรื่องที่ท้าทาย การคิดสร้างสรรค์จึงมีความสำคัญอย่างมาก ด้วยพันธกิจของ River City Bangkok คือการส่งเสริมวัฒนธรรมและวิถีชีวิตอย่างยั่งยืนด้วยการมอบประสบการณ์ที่ไม่ได้เน้นเฉพาะการค้า

คุณลินดาเชื่อว่า การให้ผู้คนได้มีโอกาสสัมผัสศิลปะโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายหรือในราคาที่เอื้อมถึงนั้นมีความสำคัญสำหรับคนรุ่นใหม่ แม้ว่าพวกเขาอาจยังไม่สามารถซื้อชิ้นงานศิลปะหรือของโบราณได้ในตอนนี้ แต่ก็ยังสามารถมีส่วนร่วมและชื่นชมความงดงามของศิลปะได้ คุณลินดาตั้งเป้าหมายที่จะสร้างผลตอบแทนทางสังคม โดยสร้างความเป็นชุมชนศิลปะ ทำให้คนได้เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับศิลปะและให้ศิลปินได้แสดงผลงานสร้างสรรค์ของพวกเขา


“ดิฉันคิดว่าความยั่งยืนนั้นยังหมายถึงประสบการณ์ของมนุษย์ที่สามารถยืนยาวได้มากกว่าประสบการณ์ทางวัตถุ สำหรับฉัน ประสบการณ์ทางจิตวิญญาณนั้นจะช่วยให้ผู้คนมีความสุขมากขึ้นด้วย” คุณลินดากล่าว

ด้วยวิสัยทัศน์อันเปี่ยมไปด้วยจินตนาการ River City Bangkok ได้กลายเป็นที่สำหรับผู้คนที่จะเพลิดเพลินไปกับศิลปะ เป็นความสำเร็จซึ่งตอนแรกดูเหมือนจะเป็นไปไม่ได้ที่ศิลปะจะเบ่งบานในเมืองที่เต็มไปด้วยห้างสรรพสินค้าหรูหรา ความฝันของเธอกลายเป็นความจริงแล้ว  คุณลินดายังมีโครงการในอนาคตที่วางแผนไว้นั่นคือ การเปิดร้านหนังสือไลฟ์สไตล์ที่เน้นด้านศิลปะและการออกแบบ ซึ่งมีต้นแบบมาจากต่างประเทศ จะเปิดบริการในปลายปีนี้ที่ River City Bangkok

ความสำเร็จของคุณลินดา เชง เป็นแรงบันดาลใจในการเป็นผู้ประกอบการในวงการอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ทั้งในด้านความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ และการคิดนอกกรอบในการขับเคลื่อนการเติบโตอย่างยั่งยืนตามแบบฉบับของสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาฯ (Sasin School of Management) ในการ Inspire. Connect. Transform เพื่อโลกที่ดีขึ้น ฉลาดขึ้น และยั่งยืน


จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า