รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
2 มิถุนายน 2566
ภาพข่าว
ผู้เขียน สมบูรณ์ พัฒนปรีชาเสถียร
เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2566 ณ ห้องประชุมสุรเกียรติ์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นประธานและวิทยากรบรรยายพิเศษในโครงการ Special LawLAB “Young Lawyers – Police Engagement” (YLPE) Project (Law Chula and Royal Thai Police Season 2) “การสืบสวนสอบสวนยุค 5G” พร้อมด้วย พล.ต.ต.นพศิลป์ พูลสวัสดิ์ รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล พร้อมด้วย พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ ผู้บังคับการสืบสวนสอบสวน กองบัญชาการตำรวจนครบาล โดยมี ผศ.ดร.ปารีณา ศรีวนิชย์ คณะบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ ให้การต้อนรับ มีนิสิตนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ เข้าร่วมอบรมตามโครงการทั้งรุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 พร้อมครูพี่เลี้ยง
โครงการ Special LawLAB “Young Lawyers – Police Engagement” (YLPE) Project (Law Chula and Royal Thai Police Season 2) เป็นความร่วมมือระหว่างสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นการต่อยอดมาจากโครงการที่จัดขึ้นเมื่อปีที่แล้ว เพื่อให้นิสิตคณะนิติศาสตร์ได้นำความรู้ที่ได้ศึกษามาประยุกต์ใช้ในการฝึกประสบการณ์ของนิสิต โครงการนี้เป็นโครงการต้นแบบให้กับคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยอื่นๆ ทั่วประเทศ โดยมีนิสิตสมัครเข้าร่วมโครงการนี้ 24 คน มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนิสิตก่อนที่จะลงฝึกงานจริงตามสถานีตำรวจนครบาล และในส่วนต่างๆ ของกองบัญชาการตำรวจนครบาล และกองบังคับการสืบสวนสอบสวน กองบัญชาการตำรวจนครบาล ทั้งงานเอกสาร การรับแจ้งความ การสืบสวนสอบสวน การลงพื้นที่ กรณีรับแจ้งเหตุ โดยจะต้องปฏิบัติงานตลอดระยะเวลา 14 วันของการฝึกงาน รวมไปถึงการแบ่งปันประสบการณ์ จากการฝึกประสบการณ์ของนิสิตที่ผ่านการอบรมตามโครงการในปีที่ผ่านมา
พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กล่าวเปิดโครงการและบรรยายพิเศษในหัวข้อภารกิจเร่งด่วนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ปัญหาด้านการบังคับใช้กฎหมาย ปัญหาอาชญากรรม ปัญหายาเสพติด ปัญหาการเกิดอุบัติเหตุช่วงเทศกาลสำคัญ ปัญหามิจฉาชีพ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ ซึ่งเป็นปัญหาเร่งด่วนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่จะต้องดำเนินการแก้ไข โดยมีการถอดบทเรียนและได้นำหลักการแก้ไขปัญหาจากต่างประเทศมาประยุกต์ใช้และดำเนินการแก้ไขอย่างต่อเนื่อง การดำเนินโครงการครูวัคซีนไซเบอร์ เพื่อเป็นภูมิคุ้มกันด้านอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พร้อมบรรยายความหมายวิสัยทัศน์ของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นตำรวจมืออาชีพ ทำงานเชิงรุก เพื่อความสงบสุขของประชาชน พร้อมกับนโยบาย 10 ข้อให้กับนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ ทั้งนี้ หลังจากการบรรยายพิเศษเสร็จสิ้นลง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติยังได้นำประสบการณ์จากการทำงานตลอดการรับราชการตำรวจมาบรรยายให้กับนิสิตที่เข้าร่วมโครงการในครั้งนี้อีกด้วย
จุฬาฯ จัดเสวนาวิชาการ “การขนส่งและโลจิสติกส์ไทยในยุคสงครามการค้า”สะท้อนมุมมองการปรับตัวของผู้ประกอบการท่ามกลางบริบทเศรษฐกิจโลกที่ผันผวน
จุฬาฯ ร่วมกับ 6 ชุมชนบางขุนเทียน จัด “เทศกาลฟาร์มทะเลกรุงเทพ” ต้นแบบกิจกรรมพัฒนาชุมชน สู่เศรษฐกิจสีเขียวอย่างยั่งยืน
จุฬาฯ อันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทย จากการจัดอันดับโดย THE Asia University Rankings 2025
นิสิตคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับรางวัล Best Poster Award การประชุมวิชาการระดับนานาชาติที่มาเลเซีย
สถาบันวิชาการเพื่อความยั่งยืนทางสุขภาพจิต (TIMS) คณะจิตวิทยา จุฬาฯ จัดประชุมวิชาการเพื่อความยั่งยืนทางสุขภาพจิต
จุฬาฯ หนึ่งเดียวของไทย ชนะเลิศรางวัลเอเชีย THE Awards Asia 2025 “MDCU MedUMORE” คว้า Winner ประเภท Technological or Digital Innovation of the Year
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้