รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
7 สิงหาคม 2561
ข่าวเด่น
ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องใกล้ตัวของทุกคน ส่วนหนึ่งของผลงานวิจัยจากอาจารย์และนักวิจัยจุฬาฯ ที่สร้างสรรค์ผลงานในการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ผลงานวิจัยซึ่งดำเนินการโดยศูนย์เชื้อเพลิงและพลังงานจากชีวมวล (Center of Fuels and energy form by Biomass) โดย ศ.ดร.ธราพงศ์ วิทิตศานต์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งได้ก่อตั้งศูนย์เชื้อเพลิงที่ส่งเสริมการพัฒนาชีวมวลให้มีประสิทธิภาพในระดับอุตสาหกรรม ซึ่งการวิจัยเพื่อให้ได้เชื้อเพลิงที่มีคุณภาพและใส่ใจสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การแปรรูปขยะพลาสติกและขยะทางการเกษตรให้เป็นพลังงาน สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้และมีประสิทธิภาพเทียบเท่าเชื้อเพลิงที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
สำหรับการแปรรูปบ่อขยะเป็นบ่อน้ำมันต้องใช้ระบบไพโรไลซิส (Pyrolysis) หรือกระบวนการกลั่นสลายเปลี่ยนองค์ประกอบทางเคมี เป็นการย่อยสลายขยะให้มีโมเลกุลเล็กจิ๋ว เกิดเป็นผลิตภัณฑ์น้ำมัน ซึ่งในขยะพลาสติกทุกชิ้นจะมีส่วนประกอบเดียวกันกับปิโตรเลียม นั่นหมายความว่าในขยะพลาสติกมีโมเลกุลน้ำมันซ่อนอยู่ และกระบวนการไพโรไลซิสนี้เองสามารถทำให้ขยะกลายเป็นน้ำมันได้
กระบวนการแปลงขยะด้วยระบบไพโรไลซิส มีการใช้ระบบนี้มาแล้วในต่างประเทศ โดยในต่างประเทศมีการคัดแยกอย่างเป็นระบบ ทำให้ขยะมีความสะอาด นำมาแปรรูปได้ง่าย แต่ขยะในประเทศไทยทิ้งรวมกับขยะประเภทอื่นๆ ทำให้เครื่องผลิตน้ำมันขยะจากต่างประเทศใช้ได้อย่างไม่เต็มประสิทธิภาพ จึงต้องมีการคิดค้นเพื่อจัดการกับขยะในประเทศไทยโดยเฉพาะ
ศูนย์เชื้อเพลิงฯ ยังมีการวิจัยพัฒนาเชื้อเพลิงทางเลือก ได้แก่ เชื้อเพลิงแข็งจากถ่านอัดแท่งและถ่านกัมมันต์ ซึ่งมีความแตกต่างจากถ่านเผาทั่วๆไปโดยมีคุณสมบัติเผาไหม้นานถึง 3 ชั่วโมง ไม่เกิดการแตกปะทุระหว่างเผาไหม้ มีควันและขี้เถ้าน้อย และที่สำคัญผลิตจากขยะทางการเกษตร เช่น กะลามะพร้าว เศษไม้ไผ่ หรือแม้กระทั่งเหง้ามันสำปะหลัง ทำให้ขยะประเภทนี้กลายเป็นศูนย์แถมสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรได้อีกด้วย
ยังมีอีกหลายผลงานวิจัยที่น่าสนใจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยีจากนักวิจัยไทย แล้วจะรู้ว่างานวิจัยไทยก็ไม่แพ้ชาติใดในโลก
Together we can มั่นใจเราทำได้
ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.research.chula.ac.th/energy-from-waste/
นิสิต BBA จุฬาฯ เยี่ยม! ทำคะแนนสอบ TCAS Inter 2024 ได้ที่ 1 ของประเทศ
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ เชิญร่วมงานเสวนา “โปรตุเกส…เหตุที่รัก”
นิสิตสาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการประกวดสีน้ำระดับอุดมศึกษา
คณะทันตแพทย์ จุฬาฯ ชวนช็อป ดีมีคืน กับ Chula Dent ในโครงการ Easy E-Receipt 2.0
ขอเชิญชาวจุฬาฯ ประกวดคลิปวิดีโอสร้างสรรค์ “Chula Ethics: Our Code, Our Way: วิถีเรา ตัวตนเรา”
เชิญชวนชาวจุฬาฯ ประกวดออกแบบมาสคอต “Chula Mascot challenge ตัวแทนแห่งความโปร่งใส: CU Good gift mascot”
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้