รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
7 มิถุนายน 2566
ข่าวเด่น, งานวิจัยและนวัตกรรม
ผู้เขียน สุรเดช พันธุ์ลี
เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2566 ทีมนักวิจัยและทีมพัฒนาบุคลากรจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำโดย รศ.ภก.ดร.วิทยา กุลสมบูรณ์ ผู้อำนวยการกองทุนศตวรรษที่สองแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับมอบหมายเป็นผู้แทน ศ.ดร.จักรพันธ์ สุทธิรัตน์ รองอธิการบดี ร่วมหารือกับนักวิจัยของมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (NUS) โดยมี Assoc. Prof. FENG Qiushi, Assistant Dean of Research และ Dr.T.C. Chang จาก Faculty of Arts and Social Sciences, NUS ให้การต้อนรับ เพื่อหารือโอกาสสร้างความร่วมมืองานวิจัยระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและ NUS ภายใต้โครงการ Reinventing Univetsity ของ สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) โดยทีมจุฬาฯ เน้นงานวิจัยใน 3 ประเด็น ได้แก่ Net Zero, High-Value Tourism และ Urban Design and Development
รศ.ดร.พรรณี ชีวินศิริวัฒน์ ผู้ช่วยอธิการบดีด้านวิจัย นำเสนอภาพรวมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และประเด็นวิจัยเชิงยุทธศาสตร์ของจุฬาฯ จากนั้น ศ.ดร.ชนาธิป ผาริโน ผู้ช่วยอธิการบดีด้านวิจัย นำเสนอประเด็นวิจัย Net Zero ผศ.ดร.ฐิติรัตน์ ปั้นบำรุงกิจ รองผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษา อ.ดร.ชนิตา ดวงยิหวา อาจารย์ประจำภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ นำเสนอประเด็นด้านการท่องเที่ยวมูลค่าสูง และ ผศ.ดร.ณัฐพงศ์ ปั้นน้อย ผู้ช่วยคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ นำเสนอประเด็นการออกแบบและพัฒนาเมือง
การประชุมหารือมีบรรยากาศที่ดี การนำเสนอของคณะอาจารย์นักวิจัยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับความสนใจจากคณาจารย์ NUS เป็นอย่างมาก โดยคณาจารย์ NUS 14 ท่าน ซึ่งมาจากหลายส่วนงานของคณะศิลปกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้ให้ความสนใจฟังและร่วมแลกเปลี่ยน ตลอดจนแสดงความประสงค์ที่จะหารือในรายละเอียดกันต่อไปหลังจากนี้
นอกจากนี้ รศ.ดร.โสมวดี ไชยอนันต์สุจริต ผู้ช่วยอธิการบดีด้านบริหารทรัพยากรมนุษย์และพัฒนาองค์กร ได้ร่วมหารือและแลกเปลี่ยนเรื่องการพัฒนาบุคลากรทั้งสายสนับสนุนและอาจารย์นักวิจัย เพื่อสนับสนุนงานด้านวิจัย โดยทีม Human Resources ของ NUS ได้แลกเปลี่ยนแนวคิดและมุมมองในการพัฒนาบุคลากรของ NUS ที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง
ในช่วงเช้าของวันที่ 25 พฤษภาคม 2566 Dr.T.C. Chang นำทีมวิจัยและทีมพัฒนาบุคลากรจุฬาฯ เข้าเยี่ยมชมและหารือความร่วมมือด้านนวัตกรรมกับ NUS Enterpise ณ Block71 โดยมี Ms.Lee Yvonne, Community Manager และ Mr.Yutaka Oba, Senior Manager ของ NUS Enterprise ให้การต้อนรับ การบรรยายของทีม Block71 ของ NUS Enterprise สร้างแรงบันดาลใจในการทำงานด้านนวัตกรรมที่นำสู่ความต้องการของสังคม รวมถึงการบริหารจัดการ Ecosystem ที่เอื้อให้กลุ่ม Startup และ Deep Tech สามารถร่วมงานกัน และเกิดผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ
ทีม Block71 ได้นำเสนอ Startup ที่ใช้ AI วิเคราะห์การสื่อสารนำเสนอของผู้ใช้งาน โดยพิจารณาจากหน้าตา ท่าทาง เสียง ภาษา แล้วสามารถประเมินผลให้คำแนะนำผู้ใช้งาน เพื่อพัฒนาบุคลิกภาพตามที่ผู้ใช้ต้องการ และอีกหนึ่ง Startup นำเสนอโปรแกรมการเรียนภาษาอังกฤษผ่านบทความ ซึ่งได้พัฒนาร่วมกับ Startup ในประเทศไทย โปรแกรมนี้ช่วยให้ผู้ใช้สามารถฝึกการฟัง พูด อ่าน เขียน โดยมีบทความให้เลือกอ่านตามความสนใจเพื่อฝึกทักษะดังกล่าว
การขับเคลื่อนของทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ NUS ในครั้งนี้ ตั้งเป้าหมายนำสู่ความร่วมมือของอาจารย์และนักวิจัยของทั้งสองมหาวิทยาลัยร่วมมือทำงานวิจัยและการสร้างนวัตกรรมร่วมกันในระดับสากลต่อไป
นิสิตเภสัชศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ จัด “ค่าย 3 สัญจร สอนสัมพันธ์”ส่งเสริมการเรียนรู้สร้างแรงบันดาลใจให้นักเรียนจังหวัดอ่างทอง
นิสิตเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศและรองชนะเลิศ “INNOVATORS IMPACT CHALLENGE 2025” สร้างสรรค์นวัตกรรมโปรตีนจากรังไหม
เชิญเข้าร่วมอบรมหัวข้อ “AI กับความเป็นส่วนตัว: เราควบคุมหรือถูกควบคุม?”
9 พฤษภาคม 2568 เวลา 13.00 - 16.00 น. ห้องอำไพ สุจริตกุล คณะครุศาสตร์
การสร้าง Course Syllabus และการประเมินการเรียนการสอนผ่านระบบ myCourseVille ในระบบทวิภาค และระบบทวิภาค-นานาชาติ ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2567
ศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้ จุฬาฯ เชิญฟังการบรรยายพิเศษ “PDPA OK Aha! เข้าใจความท้าทายจนนำไปปฏิบัติได้”
24 เมษายน 2568 เวลา 09.00 - 12.00 น. หอประชุมคณะวิศวกรรมศาสตร์ อาคาร 3
สถาบันภาษา จุฬาฯ จัดการประชุมทางวิชาการระดับนานาชาติ ประจําปี 2568 (46th Language Testing Research Colloquium: LTRC 2025)
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้