รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
9 มิถุนายน 2566
ข่าวเด่น, งานวิจัยและนวัตกรรม
ผู้เขียน สุรเดช พันธุ์ลี
เมื่อวันจันทร์ที่ 29 พฤษภาคม 2566 ทีมนักวิจัยจากภาควิชาศิลปการละคร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำโดย ศ.ดร.พรรัตน์ ดำรุง ร่วมกับทีมนักวิจัยจากคณะดนตรีและการแสดง มหาวิทยาลัยบูรพา นำโดย อ.ดร.ณัฏฐนันธ์ เอื้อศิลป์ จัดงานเสวนาเรื่อง “บางแสนสร้างสรรค์: เติมสีสันให้เมืองมีชีวิตด้วยศิลปะ” ณ PA Hall คณะดนตรีและการแสดง มหาวิทยาลัยบูรพา บางแสน
งานเสวนาครั้งนี้มี ผศ.ดร.รณชัย รัตนเศรษฐ คณบดีคณะดนตรีและการแสดง มหาวิทยาลัยบูรพา กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมงานเสวนา จากนั้น รศ.ดร.พรรณี ชีวินศิริวัฒน์ ผู้ช่วยอธิการบดีด้านการวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ผศ.ดร.ปรัชญา แก้วแก่น ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริหารการวิจัย มหาวิทยาลัยบูรพา กล่าวถึงที่มาของความร่วมมือของสองทีมวิจัย ซึ่งเป็นการนำประสบการณ์ มุมมอง และองค์ความรู้ของนักวิจัยจากสองมหาวิทยาลัยมาร่วมสร้างสรรค์ผลงานให้เป็นประโยชน์ต่อชุมชน โดยนำประสบการณ์จาก “สามย่านละลานใจ” มาพัฒนาเป็น “บางแสนสร้างสรรค์” ให้เกิดเป็นต้นแบบและสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดเป็น Soft Power ด้าน Festival อย่างมั่นคงและยั่งยืนต่อไปในอนาคต
ในงานนี้ ทีมวิจัยได้รับเกียรติจาก Assoc. Prof. Dr. Chang Tou Chuang จาก Department of Geography, National University of Singapore (NUS) บรรยายพิเศษในหัวข้อ “Creative Placemaking: Community involvement and Responses” เพื่อเป็นตัวอย่างงานการสร้างสรรค์พื้นที่ของสิงคโปร์ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่องานวิจัย “บางแสนสร้างสรรค์” ต่อไป
นอกจากนี้ มีการนำเสนอกรณีศึกษาของ “ชุมชนนางเลิ้ง” โดยคุณนวรัตน์ แววพลอยงาม ผู้นำชุมชนสร้างสรรค์นางเลิ้ง “สามย่าน ละลานใจ” โดยคุณเพียงดาว จริยะพันธุ์ นักจัดการศิลปะและนักวิจัยในโครงการ และ “เทศกาลละครนานาชาติสำหรับเด็กและเยาวชนกรุงเทพฯ” โดยคุณอัจจิมา ณ พัทลุง ผู้อำนวยการเทศกาลฯ
งานเสวนานี้เป็นหนึ่งในกิจกรรมของทีมวิจัยร่วม “บางแสนสร้างสรรค์” ซึ่งสรุปภาพรวมของการสำรวจเก็บข้อมูลและการหารือร่วมกันนับตั้งแต่เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ซึ่งได้ตกผลึกและจะนำไปสู่การดำเนินงานวิจัยและการนำเสนอผลการวิจัยในรูปของเทศกาล “บางแสนสร้างสรรค์” ต่อไป ความร่วมมือของนักวิจัยสองฝ่ายมาจากข้อตกลงความร่วมมือที่ทั้งสองมหาวิทยาลัยได้ลงนามร่วมกันที่มหาวิทยาลัยบูรพา เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2565 นอกจากนี้ยังมีความร่วมมือวิจัยในเรื่องการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำและสังคมสูงวัยอีกด้วย
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมสองกิจกรรมโครงการ “เล่นเพลินสำหรับเด็กปฐมวัย” “นิทานฟังเพลิน” และ “Happy Play Day”
อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น “อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ปอมท.” ประจำปี 2567
อธิการบดีจุฬาฯ ได้รับเลือกเป็นประธานสมาคมสถาบันการศึกษาขั้นอุดมแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASAIHL) ปี 2025-2026
นิสิตภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขัน CHOICEISYOURS 2024
จุฬาฯ เชิญชวนร่วมงาน “One Stop Open House 2024” โดยกระทรวง อว. ระหว่างวันที่ 27 พ.ย. – 1 ธ.ค. 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
เชิญผู้สนใจเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมด้านจิตวิทยา “BRIDGING DISCIPLINES: Incorporate Psychology into Your Endeavor”
8 ม.ค. 2568 เวลา 09.00 – 16.00 น.
ชั้น 6 อาคารบรมราชชนนีศรีศตพรรษ คณะจิตวิทยา จุฬาฯ
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้