รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
14 มิถุนายน 2566
ข่าวเด่น
ผู้เขียน เมธาพร ไตรกิจวัฒนกุล
คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดห้อง Law Chula Wellness Hub สำหรับเป็นที่พักกายพักใจ และบริการให้คำปรึกษาแก่นิสิตโดยนักจิตวิทยา ดูแลสุขภาพองค์รวมทั้งกายและใจให้นิสิตรวมถึงบุคลากรของคณะให้มีสุขภาพดีทั้งทางร่างกายและจิตใจ สามารถเรียนและทำงานได้อย่างมีความสุข
ผศ.ดร.ปารีณา ศรีวนิชย์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงจุดเริ่มต้นในการเปิดห้อง Law Chula Wellness Hub ว่า เนื่องจากการเรียนทางด้านกฎหมายเป็นสิ่งสำคัญและมีความจำเป็น ที่ผ่านมาพบว่านิสิตคณะนิติศาสตร์เกิดความเครียดจากการเรียนและอ่านหนังสือเป็นจำนวนมาก จึงอยากทำให้นิสิตคณะนิติศาสตร์เป็นนักกฎหมายที่สมบูรณ์ มีความพร้อมทั้งทางด้านทักษะความรู้และด้านจิตใจ ที่ผ่านมามีนิสิตจุฬาฯ มาใช้บริการขอคำปรึกษาที่ฝ่ายส่งเสริมสุขภาวะนิสิต จุฬาฯ (Chula Student Wellness) เป็นจำนวนมาก ทำให้นิสิตในคณะนิติศาสตร์ไม่สามารถเข้าใช้บริการได้ทันท่วงที เมื่อนิสิตมีปัญหาแล้วไม่ได้รับคำปรึกษาตั้งแต่ต้น อาจจะทำให้กลายเป็นปัญหาใหญ่ได้ ในขณะที่ฝ่ายกิจการนิสิตของคณะ และอาจารย์ที่ปรึกษาซึ่งดูแลให้คำปรึกษาปัญหาต่างๆ แก่นิสิต อาจไม่ได้เป็นผู้ที่เรียนเฉพาะทางมาโดยตรง การเปิดห้อง Law Chula Wellness Hub จะสามารถช่วยนิสิตในการจัดการความเครียดได้
ผศ.ดร.ปารีณา กล่าวถึงการสร้างห้อง Law Chula Wellness Hub ซึ่งเปิดให้บริการตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมาว่า เดิมพื้นที่นี้เป็นห้องพยาบาลที่ดูแลเรื่องการเจ็บป่วยทางกายของนิสิต อยู่ติดกับห้องฝ่ายกิจการนิสิต การเปลี่ยนมาเป็นห้อง Law Chula Wellness Hub จะสามารถดูแลนิสิตครอบคลุมทั้งกายและใจ
“ทางศูนย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาฯ ได้เข้ามาดูแลและให้คำปรึกษา และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ก็ได้เข้ามาช่วยออกแบบห้อง โดยยังคงเป็นห้องพยาบาลที่มีที่พักสำหรับนิสิต เพื่อดูแลสุขภาพกายเบื้องต้น ถ้าอาการหนักก็สามารถส่งต่อไปยังศูนย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาฯ หรือโรงพยาบาลจุฬาฯ รวมทั้งยังมีการดูแลด้านสุขภาพใจให้คำปรึกษาทางจิตวิทยาโดยนักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญที่คณะรับเข้ามาทำหน้าที่ประจำที่ Law Chula Wellness Hub อีกด้วย” ผศ.ดร.ปารีณา กล่าว
นอกจากกลุ่มเป้าหมายหลักคือนิสิตปริญญาตรีที่มีความกังวลและความเครียดแล้ว นิสิตปริญญาโท อาจารย์และบุคลากรก็สามารถมาใช้บริการที่ห้อง Law Chula Wellness Hub ได้ โดยภายในห้องยังมีพื้นที่ให้นิสิตที่มาใช้บริการได้นั่งผ่อนคลาย พูดคุย เล่นบอร์ดเกม ร้อยลูกปัด อีกทั้งทางคณะมีการจัดอบรมให้ความรู้เพื่อเป็นการป้องกันความเครียดอีกด้วย
“สังคมไทยยังมองว่าการเข้ามารับความช่วยเหลือด้านจิตวิทยาเป็นเรื่องที่ไม่ปกติ จริงๆ แล้วทุกเรื่องมีความสำคัญถ้าเข้ามากระทบกับใจเรา ซึ่งปัญหาเรื่องใหญ่หรือเล็กของแต่ละคนไม่เท่ากัน ปัญหาของทุกคนล้วนมีความสำคัญ ถ้าได้รับการจัดการช่วยเหลือ หรือได้รับการชี้แนะทิศทางได้ถูกต้องก็อาจจะทำให้ปัญหาได้รับการแก้ไขหรือทุเลาลงได้ Law Chula Wellness Hub จะเป็นโมเดลที่น่าสนใจสำหรับสถานศึกษาอื่นๆ ด้วย” คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ กล่าว
คุณณสรวง นเรนทรเสนี นักจิตวิทยาประจำ Law Chula Wellness Hub ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาการให้คำปรึกษา อธิบายถึงการบริการให้คำปรึกษาทางด้านจิตวิทยาแก่นิสิตว่า “นิสิตที่เข้ามาปรึกษาจะได้รับการเยียวยาเบื้องต้น โดยจะเป็นการรับฟังแบบเชิงลึกถึงเรื่องราวในใจทั้งหมดที่นิสิตอยากจะสื่อออกมา เพื่อเข้าใจความต้องการลึกๆ ในใจที่ปรารถนา และสะท้อนสิ่งที่เราได้รับรู้กลับไปยังนิสิต ซึ่งจะช่วยรักษาใจของผู้การรับบริการได้”
นิสิตที่เข้ามารับบริการมีหลากหลาย ตั้งแต่ชั้นปีที่ 2 ไปจนถึงนิสิตปริญญาโท ส่วนใหญ่เป็นนิสิตชั้นปีที่ 3 – 4 เรื่องที่มารับคำปรึกษามักเป็นเรื่องไม่สบายใจทั้งเรื่องเรียนและเรื่องส่วนตัว ช่วงเวลาที่มารับบริการมักเป็นหลังเลิกเรียน สำหรับนิสิตบางคนที่มีความเครียดและไม่สะดวกเดินทางมาที่ห้องนี้ก็สามารถปรึกษาผ่านทางไลน์ได้ โดยนักจิตวิทยาก็จะมาพูดคุยให้คำปรึกษาเช่นเดียวกัน
“นักจิตวิทยาเปรียบเสมือนร่มในยามฝนตกที่พร้อมจะคอยรับฟัง ร่วมคลี่คลายสิ่งที่อยู่ในใจ โดยจะไม่มีการประเมิน ชี้แนะ หรือตัดสิน จะไม่บอกว่าต้องทำอย่างไร ผู้นั้นต้องเป็นคนตัดสินใจเอง แต่นักจิตวิทยาจะอยู่ข้างๆ เมื่อถึงจุดหมายแล้วก็วางเราได้ แต่เมื่อพบปัญหาก็กลับมาหาเราใหม่ได้” คุณณสรวง กล่าวทิ้งท้าย
ห้อง Law Chula Wellness Hub
ชั้น 1 ข้างห้องกิจการนิสิต อาคารเทพทวาราวดี คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ
นักจิตวิทยาให้บริการ วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 – 17.00 น.
ปรึกษาด่วนนอกเวลาได้ที่ Line OA @841dmwkl
ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติม https://www.facebook.com/p/Law-Chula-Wellness-100083131310430/
อธิการบดีจุฬาฯ ได้รับเลือกเป็นประธานสมาคมสถาบันการศึกษาขั้นอุดมแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASAIHL) ปี 2025-2026
นิสิตภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขัน CHOICEISYOURS 2024
จุฬาฯ เชิญชวนร่วมงาน “One Stop Open House 2024” โดยกระทรวง อว. ระหว่างวันที่ 27 พ.ย. – 1 ธ.ค. 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
เชิญผู้สนใจเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมด้านจิตวิทยา “BRIDGING DISCIPLINES: Incorporate Psychology into Your Endeavor”
8 ม.ค. 2568 เวลา 09.00 – 16.00 น.
ชั้น 6 อาคารบรมราชชนนีศรีศตพรรษ คณะจิตวิทยา จุฬาฯ
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดเสวนา “Bike the Talk: Building a Cycling Society”
22 พ.ย. 67 เวลา 15.00 น.
ห้องสมุด คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
CNN สัมภาษณ์อาจารย์จุฬาฯ เผยความสำเร็จงานวิจัยกลิ่นเหงื่อตรวจความเครียดและซึมเศร้า
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้