รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
22 มิถุนายน 2566
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
ผู้เขียน สมบูรณ์ พัฒนปรีชาเสถียร
ทีมนักวิจัยและผู้บริหารจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพบนักวิจัยมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (The National University of Singapore: NUS) เพื่อหารือด้านการวิจัยและเพิ่มโอกาสสร้างความร่วมมือ เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2566 ณ มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ สาธารณรัฐสิงคโปร์
รศ.ภก.ดร.วิทยา กุลสมบูรณ์ ผู้อำนวยการกองทุนศตวรรษที่ 2 (C2F) ได้รับมอบหมายเป็นผู้แทน ศ.ดร.จักรพันธ์ สุทธิรัตน์ รองอธิการบดีด้านการวิจัย จุฬาฯ พร้อมด้วย รศ.ดร.พรรณี ชีวิน ศิริวัฒน์ ผู้ช่วยอธิการบดีด้านวิจัย จุฬาฯ ในการหารือด้านการวิจัยร่วมกับอาจารย์และนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ และเพิ่มโอกาสสร้างความร่วมมือภายใต้โครงการ “Reinventing University” โดยสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.)
ทีมนักวิจัยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้นำเสนองานวิจัยใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่
– ศ.ดร.ชนาธิป ผาริโน ผู้ช่วยอธิการบดีด้านวิจัย นำเสนอประเด็นวิจัย “Net Zero”
– ผศ.ดร.ฐิติรัตน์ ปั้นบำรุงกิจ รองผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษา และ อ.ดร.ชนิตา ดวงยิหวา คณะอักษรศาสตร์ นำเสนอประเด็น “ด้านการท่องเที่ยวมูลค่าสูง” (High–Value Tourism)
– ผศ.ดร.ณัฐพงศ์ ปั้นน้อย ผู้ช่วยคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ นำเสนอประเด็น “การออกแบบและพัฒนาเมือง” (Urban Design and Development)
จากนั้น เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2566 นักวิจัยมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์นำทีมนักวิจัยจุฬาฯ เข้าเยี่ยมชม “NUS Enterpise” ณ Block71 คอมมูนิตี้ด้านเทคโนโลยีและศูนย์รวม Startup ในกรุงจาการ์ตา แหล่งนวัตกรรมสู่ความต้องการของสังคม รวมถึงการบริหารจัดการ Ecosystem ที่เอื้อให้กลุ่ม Startup และ Deep Tech สามารถร่วมงานกันและเกิดผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ โดยทีม Block71 นำเสนอผลงานจาก Startup ที่ใช้ AI ในวิเคราะห์การสื่อสาร โดยพิจารณาจากหน้าตา ท่าทาง เสียง ภาษา และสามารถประเมินผลให้คำแนะนำผู้ใช้งานเพื่อพัฒนาบุคลิกภาพตามที่ผู้ใช้ต้องการ และ Startup โปรแกรมการเรียนภาษาอังกฤษผ่านบทความ ซึ่งพัฒนาร่วมกับ Startup จากประเทศไทย ที่ช่วยฝึกการฟัง พูด อ่าน เขียน จากบทความตามความสนใจ
(ข้อมูลจากสำนักบริหารวิจัย จุฬาฯ)
บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ เปิดอบรมหลักสูตร “เครื่องมือการจัดการสิ่งแวดล้อม”
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ต้อนรับผู้แทนจาก Indiana University สหรัฐอเมริกา เจรจาแนวทางความร่วมมือทางวิชาการ
ศศินทร์จัด Open House แนะนำหลักสูตรต่างๆ วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2567
30 พ.ย. 67 เวลา 10.00 น.
ศศินทร์ จุฬาฯ
เชิญฟังการบรรยาย Chula Lunch Talk หัวข้อ “Smart VET-Learning: นวัตกรรม AR สู่การศึกษาสัตวแพทย์ยุคดิจิทัล”
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมสองกิจกรรมโครงการ “เล่นเพลินสำหรับเด็กปฐมวัย” “นิทานฟังเพลิน” และ “Happy Play Day”
อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น “อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ปอมท.” ประจำปี 2567
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้