รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
26 มิถุนายน 2566
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมกับสถาบันสอนภาษาอังกฤษ โกลบิช อคาเดเมีย (ไทยแลนด์) จัดงาน Teacher Conference ในหัวข้อ “Stop Violence in Schools” เยาวชนไทยห่างไกลความรุนแรง” ครั้งที่ 3 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 22 มิถุนายน 2566 ณ Social Innovation Hub อาคารวิศิษฐ์ ประจวบเหมาะ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ เพื่อผลักดันการแก้ไขและยุติปัญหาความรุนแรงในโรงเรียนและสถานศึกษา โดยเชิญครูในโรงเรียนเข้าร่วมการสัมมนาเพื่อนำกระบวนการทางศิลปะบำบัดมาใช้เพื่อลดความรุนแรง โดยมี ศ.ดร.จักรพันธ์ สุทธิรัตน์ รองอธิการบดีด้านการวิจัย จุฬาฯ เป็นผู้กล่าวเปิดงาน
การจัดงานในครั้งนี้ ศ.ดร.บุษกร บิณฑสันต์ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และ ดร.นิศรา เจริญขจรกิจ อาจารย์คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เป็นวิทยากรให้ความรู้แก่ครูจากโรงเรียนต่างๆ ในเรื่องการใช้ศิลปะบำบัดความรุนแรง อาทิ ศิลปะบำบัดคืออะไร “ภาพวาดนั้นสำคัญไฉน” ประเภทของภาพวาดที่ใช้ในการคัดกรอง, “บางอย่างที่หายไป” การใช้บทบาทสมมติเพื่อการเข้าใจผู้อื่น รวมถึงนำเสนอตัวอย่างการใช้ศิลปะเพื่อเยียวยาจิตใจในภาวะวิกฤติ
ศ.ดร.บุษกร บิณฑสันต์ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า “กิจกรรมที่นำมาใช้ในการสัมมนาครั้งนี้เรียกว่า Expressive Art Emotional คือการใช้ศิลปะบำบัดโดยการวาดภาพ จะเน้นที่อารมณ์ (Emotion) ที่ถูกสะสมไว้ได้รับการปลดปล่อยผ่านงานศิลปะ ซึ่งเป็นการจัดกิจกรรมที่สะท้อนความเป็นตัวตนและการแสดงออกทางอารมณ์ความรู้สึก การวาดภาพเป็นหนึ่งในกระบวนการคัดกรองผู้ที่จะสร้างความรุนแรงหรือผู้ที่ถูกกระทำ ผ่านออกมาเป็นภาพ ทำให้ทราบว่าใครอยู่ในเหตุการณ์ที่ค่อนข้างที่จะวิกฤต เพื่อส่งต่อตามกระบวนการต่างๆ ของโรงเรียนต่อไป
ในช่วงบ่าย ดร.นิศรา เจริญขจรกิจ อาจารย์คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ บรรยายในหัวข้อ “บางอย่างที่หายไป” การใช้บทบาทสมมติเพื่อการเข้าใจผู้อื่น เพื่อให้ครูผู้เข้าร่วมการสัมมนาได้รู้จักการรู้จักคนอื่นและรู้จักตัวตนของเรา รวมถึงการรู้จักที่จะเข้าใจเรื่องราวของมนุษย์ ผ่านกิจกรรมที่เรียกว่าศิลปะบำบัด
ทั้งนี้ทางคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ยังมีกิจกรรมและโครงการต่างๆ ที่จัดขึ้นเพื่อนำศิลปะบำบัดมาใช้ในการลดความรุนแรง เช่น โครงการ CU Mobile Arts 4U ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ช่วยผ่อนคลาย เพิ่มพลังบวก และเช็คสุขภาพใจด้วยการวาดรูปตนเอง จะจัดขึ้นในวันอังคารที่ 27 มิถุนายน 2566 เวลา 13.00 – 14.30 น. และเวลา 15.00 – 16.30 น. ที่ห้องสมุดคณะวิทยาศาสตร์ และลานอะตอม คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ
อธิการบดีจุฬาฯ พบประธานคณะที่ปรึกษารัฐบาลบังกลาเทศ และนักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล พูดคุยความร่วมมือจุฬาฯ กับโครงการธนาคารเพื่อคนจน
นิทรรศการ “ปฐมกาล ผ่านสายตาสยามและเปอร์เซีย” ณ พิพิธภัณฑ์จุฬาฯ เล่าตำนานจากการตีความผ่านภาพวาดของสองศิลปินจากประเทศไทยและอิหร่าน
ศศินทร์จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ EFMD Social Impact 2025
นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพบประธานคณะที่ปรึกษารัฐบาลบังกลาเทศและนักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล เชิญร่วมงานสัมมนาที่จุฬาฯ
“จุฬาลงกรณ์ x โนโว นอร์ดิสค์” ยกระดับการจัดการโรคอ้วนด้วยนวัตกรรม
จุฬาฯ จัดงานแสดงความยินดีบุคลากรที่สร้างชื่อเสียงให้จุฬาฯ ประจำปี 2567
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้