รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
28 มิถุนายน 2566
ข่าวเด่น, งานวิจัยและนวัตกรรม, ความเป็นนานาชาติ
ผู้เขียน เมธาพร ไตรกิจวัฒนกุล
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยพะเยา และมหาวิทยาลัยนเรศวร สร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านงานวิจัย เสริมสร้างความแข็งแกร่งของงานวิจัยให้ได้มาตรฐานและเป็นที่ยอมรับในระดับชาติและระดับนานาชาติ จัดงาน “ประชุมวิชาการ: พลิกโฉมมหาวิทยาลัย แพลตฟอร์มวิจัยเครือข่าย” เมื่อวันที่ 27 – 28 มิถุนายน 2566 ณ โรงแรมแมนดาริน สามย่าน
ภายในงานมีการบรรยายพิเศษเรื่อง “ภาพรวมโครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย” โดย นายพันธุ์เพิ่มศักดิ์ อารุณี ผู้อำนวยการกองขับเคลื่อนและพัฒนาการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานปลัดกระทรวง อว. การเสวนา “Bangsaen 80th Anniversary: Creative City and Municipality” การเสวนา “University-Urban Design and Development” และการเสวนา “Creative Tourism เส้นทางท่องเที่ยวยอด – ภูลังกา” โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยต่างๆ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ศ.ดร.จักรพันธ์ สุทธิรัตน์ รองอธิการบดีด้านการวิจัย จุฬาฯ ประธานกล่าวเปิดการประชุม เปิดเผยว่า จุฬาฯ ต้องการเปิดพื้นที่เพื่อเชื่อมโยงนักวิจัยจุฬาฯ กับ 3 มหาวิทยาลัยในภูมิภาคที่มีจุดสนใจเหมือนกันมารวมตัวกันเพื่อตอบโจทย์ที่สำคัญของภูมิภาคและประเทศ โดยงานวิจัยจะเน้นไปในด้านการแก้ปัญหาสังคมเป็นหลัก โดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาดำเนินการด้วย
“จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เชื่อมประสานแพลตฟอร์มวิจัยเครือข่ายความร่วมมือระหว่าง 4 มหาวิทยาลัยเพื่อความเข้มแข็งทางวิชาการ สร้างประโยชน์แก่ชุมชนและสังคมร่วมกัน จนกระทั่งสามารถรวมกันเป็นเครือข่ายที่มีแนวทางการดำเนินงานชัดเจน นำร่องรูปแบบของแพลตฟอร์มวิจัยที่สามารถขยายได้ทั้งกลุ่มนักวิจัยร่วมในประเทศและต่างประเทศ เป้าหมายของการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเพื่อพัฒนาคน และคนไปพัฒนาพื้นที่ ซึ่งต้องอาศัยความรู้จากหลากหลายมุมมองที่แตกต่าง และมีความเข้าใจในปัญหาอย่างแท้จริง ดังนั้นมหาวิทยาลัยจึงส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ สนับสนุนให้นำความรู้มาใช้ร่วมกันให้เกิดประโยชน์ต่อพื้นที่ คน และสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล” ศ.ดร.จักรพันธ์ กล่าว
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มองเห็นโอกาสในการพัฒนาโครงการวิจัยที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ตามภูมิภาค ภายใต้แนวคิด “Bridging Communities” และ “Advancing Knowledge” หลังจากการสำรวจข้อมูลภาคสนามเพื่อศึกษาสถานการณ์และการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อสนับสนุนการพัฒนาการวิจัยร่วมนั้น ปัจจุบันมีโครงการนำร่องจาก 3 ภูมิภาค ดังนี้
1.ภาคตะวันออก: มหาวิทยาลัยบูรพา
• “การท่องเที่ยวคาร์บอนตา” (Low Carbon Tourism) ส่งเสริมการท่องเที่ยวสร้างจิตสำนึก ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในจังหวัดชลบุรี
• “สังคมสูงวัย” พัฒนาระบบรองรับสังคมสูงวัยในชุมชนเมือง โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะใช้ องค์ความรู้จากโครงการวิจัย “จุฬาอารี” และ “ไทยอารี” ซึ่งเป็นโครงการต้นแบบที่ประสบ ความสำเร็จในระดับประเทศ
• “บางแสนสร้างสรรค์: เติมสีสันให้เมืองมีชีวิตด้วยศิลปะ” การพัฒนากระตุ้นเศรษฐกิจแบบ “Soft power” ด้วยเทศกาล โดยมีต้นแบบจากเทศกาล “สามย่านละลานใจ” ซึ่งใช้ศิลปะการละครเป็นสื่อเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน
2.ภาคเหนือ: มหาวิทยาลัยพะเยา
• “การสร้างคุณค่าร่วมกันเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์พื้นที่ยอด-ภูลังกา” เชื่อมต่อเส้นทางท่องเที่ยวในพื้นที่ระหว่างจังหวัดพะเยาและจังหวัดน่าน ภายใต้แนวคิดการท่องเที่ยวมูลค่าสูง (High Value Tourism)
3.ภาคเหนือตอนล่าง: มหาวิทยาลัยนเรศวร
• “ยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองมหาวิทยาลัย กรณีศึกษาเมืองพิษณุโลก” ภายใต้แนวคิดการพัฒนามหาวิทยาลัยเพื่อเมือง และเมืองเพื่อมหาวิทยาลัย ให้เป็นต้นแบบการพัฒนาเมือง มหาวิทยาลัยในอนาคต
นอกจากนี้ ภายใต้ความร่วมมือในโครงการนี้ยังมีความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศ อาทิ National University of Singapore สาธารณรัฐสิงคโปร์ และ Kyushu University ประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น
ศ.ดร.เสมอ ถาน้อย รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยพะเยา กล่าวว่า “การร่วมงานกัน 4 มหาวิทยาลัย ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยพะเยา มหาวิทยาลัยบูรพา และมหาวิทยาลัยนเรศวร ทำให้เกิดความรู้สึกเกินความคาดหมาย และภาคภูมิใจ เพราะตอนแรกที่คิดไว้ มหาวิทยาลัยพะเยาจะร่วมพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ ยอด-ภูลังกา (น่าน-พะเยา) เส้นทางราว 50-60 กิโลเมตร แต่เมื่อมีเครือข่ายมหาวิทยาลัยมาร่วมด้วยช่วยกันมากขึ้น ทำให้เกิดการขยายเส้นทางท่องเที่ยวไปยังพิษณุโลก กรุงเทพฯ และชลบุรี ซึ่งแน่นอนว่าเส้นทางได้ขยายเกินที่ตั้งเป้าไว้ การทำงานร่วมกันระหว่าง 4 มหาวิทยาลัยยังเป็นตัวเร่งให้เกิดการใช้ประโยชน์เชิงสังคมได้อย่างสร้างสรรค์ เพราะแต่ละมหาวิทยาลัยเครือข่ายมีจุดแข็งต่างกัน เมื่อมารวมตัวกันก็ยิ่งทำให้งานวิจัยแข็งแกร่ง ในอนาคตสามารถนำชุมชนแต่ละจังหวัดมาพบกัน และแลกเปลี่ยนภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ได้อีกทางหนึ่ง”
ศ.ดร.จิตติมา เจริญพานิช รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยบูรพา กล่าวว่า “มหาวิทยาลัยบูรพามีความร่วมมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการพัฒนาความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยด้านงานวิจัย สร้างเครือข่ายวิจัยระดับท้องถิ่นสู่เครือข่ายวิจัยระดับนานาชาติ และส่งเสริมให้นักวิจัยระดับนานาชาติร่วมพัฒนางานวิจัยในระดับท้องถิ่นโดยมีเป้าหมายให้เกิดผลกระทางสังคมและเศรษฐกิจ ผ่านแผนการดำเนินงาน 3 Platform ได้แก่ Health Aging, Carbon Neutrality และ Performing Art โดยได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ เมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าความร่วมมือในครั้งนี้จะนำไปสู่การสร้างงานวิจัยที่มีผลกระทบสูงต่อสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม การเสริมสร้างศักยภาพการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ยกระดับคุณภาพการท่องเที่ยว สร้างความยั่งยืนให้แก่ผู้ประกอบการและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว พัฒนานวัตกรรมเพื่อสังคมสูงวัย ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี”
ศ.ภญ.ดร.กรกนก อิงคนินันท์ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวว่า “ความร่วมมือในครั้งนี้ มหาวิทยาลัยนเรศวร เริ่มต้นด้วยการวิจัยเรื่อง University-Urban Design and Development หรือเมืองมหาวิทยาลัย โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการเริ่มต้นความร่วมมือในครั้งนี้จะขยายผลไปยังการวิจัยในประเด็นอื่น ๆ โดยได้รับความร่วมมือด้วยดีจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา และมหาวิทยาลัยพะเยา ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นพันธมิตรด้านการวิจัยที่จะร่วมกันในการเป็นกลไกสำคัญหนึ่งในการผลักดันการวิจัยด้วยการพัฒนาศักยภาพของชุมชน สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อขยายการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยให้มีผลกระทบสูงต่อสังคม เพิ่มขีดความสามารถทางการวิจัย และสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่อย่างเข้มแข็ง ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ และภูมิภาคต่อไป”
เทศกาลความสนุกส่งท้ายปี “Siam Street BIG RETURN 2024” 20-22 ธันวาคมนี้ที่สยามสแควร์ ชมฟรีตลอดงาน
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ จัดงานประกาศผลมูลค่าแบรนด์องค์กร ASEAN and Thailand’s Top Corporate Brands 2024 มอบรางวัลสุดยอดแบรนด์องค์กรและรางวัลหอเกียรติยศ
ผศ.ทพ.ดร.ศุภชัย ชื่นจิตรวงษา ผู้ช่วยอธิการบดี จุฬาฯ ได้รับยกย่องเป็นทันตแพทย์ดีเด่น ด้านพัฒนาวิชาชีพ
จุฬาฯ จัดงาน “Chula Townhall” เปิดวิสัยทัศน์พัฒนามหาวิทยาลัยรอบทิศโดยมีนิสิตเป็นศูนย์กลาง พร้อมส่งความสุขปีใหม่ให้ชาวจุฬาฯ
จุฬาฯ เสริมสร้างศักยภาพด้านการบริหารจัดการแก่ผู้บริหาร หลักสูตร The Leader Prospects รุ่นที่ 14
เชิญชวนชาวจุฬาฯ เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาภายในของบุคลากรจุฬาฯ ครั้งที่ 45 ประจำปี 2568
27 มกราคม – 7 มีนาคม 2568
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้