ข่าวสารจุฬาฯ

งาน #Beat PlasticPollution in Thailand Chula Zero Waste ส่งเสริมความร่วมมือลดขยะพลาสติก

ปัจจุบันโลกกําลังเต็มไปด้วยขยะพลาสติก แต่ละปีมีการผลิตพลาสติกมากกว่า 400 ล้านตัน ในจำนวนนี้กว่าครึ่งหนึ่งถูกออกแบบให้ใช้ครั้งเดียวทิ้ง และเพียงแค่ 10 % เท่านั้นที่ถูกนําไปรีไซเคิลจริง พลาสติกเป็นหนึ่งในภัยคุกคามที่อันตรายที่สุดใน โลก รวมถึงภัยจากไมโครพลาสติกที่ส่งผลต่อสุขภาพโดยที่เราไม่รู้ตัว ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการลงมือแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกเป็นสิ่งที่จะต้องดำเนินการอย่างทันท่วงที

โครงการ Chula Zero Waste จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme: UNEP) จัดงาน #Beat PlasticPollution in  Thailand เมื่อวันอังคารที่ 27 มิถุนายน 2566 ณ เรือนจุฬานฤมิต เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเสนอแนวทางการขับเคลื่อนประเด็นนโยบายด้านการลดขยะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง โดยมี รศ.ดร.จิตติศักดิ์ ธรรมาภรณ์พิลาศ รองอธิการบดี ด้านการจัดการทรัพย์สินและกายภาพ จุฬาฯ กล่าวเปิดงาน โดยได้กล่าวถึงความตั้งใจของจุฬาฯ ในการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะ ซึ่งได้รับความร่วมมือจากประชาคมจุฬาฯ แวดวงวิชาการ  และในระดับนานาชาติ พร้อมแนะแนวทางการขับเคลื่อนประเด็นนโยบายด้านการลดขยะพลาสติกออกสู่สังคม  จากนั้น  Ms. Marlene Nilsson, The Deputy Regional Director of UNEP Regional Office for Asia and the Pacific กล่าวต้อนรับและเผยถึงผลวิจัยเกี่ยวกับขยะพลาสติก

รศ.ดร.จิตติศักดิ์ ธรรมาภรณ์พิลาศ รองอธิการบดี ด้านการจัดการทรัพย์สินและกายภาพ จุฬาฯ
Ms. Marlene Nilsson, The Deputy Regional Director of UNEP Regional Office for Asia and the Pacific

งานในครั้งนี้มีการบรรยายและเสวนาโดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญในหัวข้อต่างๆ เช่น ผลกระทบจากมลพิษพลาสติก บทบาทของมหาวิทยาลัยในการต่อกรกับมลพิษพลาสติก เราจะแก้ปัญหามลพิษพลาสติกในเชิงระบบได้อย่างไร  ฯลฯ  กล่าวปิดงานโดย Dr.Mushtaq Memon, Regional Coordinator for Pollution and Action, UNEP และคุณกอปร ลิ้มสุวรรณ หัวหน้ากลุ่มภารกิจการจัดการสิ่งแวดล้อม สำนักบริหารระบบกายภาพ จุฬาฯ  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดย Chula Zero Waste มีนโยบายและแผนงานพร้อมกิจกรรมต่างๆ ที่ส่งเสริมแนวคิดการลดและแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง ผลักดันให้ประชาคมจุฬาฯ เปลี่ยนวิถีชีวิตให้คํานึงถึงผล กระทบทางสิ่งแวดล้อมมากขึ้นโดยเริ่มต้นจากในรั้วมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ยังกระจายองค์ความรู้ และแนวทางปฏิบัติไปสู่สาธารณะด้วย ด้วยความมุ่งหวังสร้างแรงบันดาลใจและแรงกระเพื่อมต่อสังคมสู่เส้นทางแห่งความยั่งยืน

Dr.Mushtaq Memon, Regional Coordinator for Pollution and Action, UNEP
คุณกอปร ลิ้มสุวรรณ หัวหน้ากลุ่มภารกิจการจัดการสิ่งแวดล้อม สำนักบริหารระบบกายภาพ จุฬาฯ

ชมรูปภาพบรรยากาศงานเพิ่มเติมได้ที่ https://drive.google.com/drive/folders/1YtPrJWuH0u6MyGW4mXqdtCUFNSOylRNg?usp=sharing

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า